พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. อัปปมาทสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  1 พ.ย. 2564
หมายเลข  39502
อ่าน  431

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 85

ปฐมปัณณาสก์

เทวตาวรรคที่ ๔

๑. อัปปมาทสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 85

เทวตาวรรคที่ ๔

๑. อัปปมาทสูตร

[๒๙] ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว เทวดาตนหนึ่งมีผิวพรรณงาม ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๗ ประการนี้ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ ๗ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้เคารพในพระศาสดา ๑ ความเป็นผู้เคารพในธรรม ๑ ความเป็นผู้เคารพในสงฆ์ ๑ ความเป็นผู้เคารพในสิกขา ๑ ความเป็นผู้เคารพในสมาธิ ๑ ความเป็นผู้เคารพในความไม่ประมาท ๑ ความเป็นผู้เคารพในปฏิสันถาร ๑ ธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ เทวดานั้นกราบทูลดังนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย ลำดับนั้น เทวดานั้นทราบว่าพระศาสดาทรงพอพระทัยเรา ถวายอภิวาท กระทำประทักษิณแล้วหายไป ณ ที่นั้นเอง ครั้นล่วงราตรีนั้นไป พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ เมื่อปฐมยามล่วงไป เทวดาตนหนึ่งมีผิวพรรณงาม ยังวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างไสวแล้ว เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ ไหว้เราแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๗ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อม

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 86

แก่ภิกษุ ๗ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้เคารพในพระศาสดา ๑ ความเป็นผู้เคารพในธรรม ๑ ความเป็นผู้เคารพในสงฆ์ ๑ ความเป็นผู้เคารพในสิกขา ๑ ความเป็นผู้เคารพในสมาธิ ๑ ความเป็นผู้เคารพในความไม่ประมาท ๑ ความเป็นผู้เคารพในปฏิสันถาร ๑ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความ ไม่เสื่อมแก่ภิกษุ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดานั้นครั้นกล่าวดังนี้แล้ว ไหว้เรา กระทำประทักษิณแล้วหายไป ณ ที่นั้นเอง.

ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา มีความเคารพในธรรม มีความเคารพอย่างแรงกล้าในสงฆ์ มีความเคารพในสมาธิ มีความเพียร มีความเคารพอย่างแรงกล้าในสิกขา มีความเคารพในความไม่ประมาท มีความเคารพในปฏิสันถาร เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความเสื่อม ย่อมมีในที่ใกล้นิพพานทีเดียว.

จบ อัปปมาทสูตรที่ ๑