พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. ทุติยสุวจสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  1 พ.ย. 2564
หมายเลข  39505
อ่าน  414

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 89

ปฐมปัณณาสก์

เทวตาวรรคที่ ๔

๔. ทุติยสุวจสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 89

๔. ทุติยสุวจสูตร

[๓๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว เทวดาตนหนึ่ง ฯลฯ ได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๗ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ ธรรม ๗ ประการ เป็นไฉน คือ ความเป็นผู้เคารพในพระศาสดา ๑ ความเป็นผู้เคารพในธรรม ๑ ความเป็นผู้เคารพในสงฆ์ ๑ ความเป็นผู้เคารพในสิกขา ๑ ความเป็นผู้เคารพในสมาธิ ๑ ความเป็นผู้ว่าง่าย ๑ ความเป็นผู้มีมิตรดีงาม ๑ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดานั้นครั้นกล่าวดังนี้แล้ว ไหว้เรากระทำประทักษิณแล้วหายไป ณ ที่นั้นเอง.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตที่พระองค์ตรัสแล้วโดยย่อนี้ โดยพิสดารอย่างนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในพระศาสดา กล่าวสรรเสริญความเป็นผู้เคารพในพระคาสดา ชักชวนภิกษุเหล่าอื่น ผู้ไม่มีความเคารพในพระศาสดาให้เคารพในพระศาสดา และกล่าวสรรเสริญภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดาตามความเป็นจริงโดยกาลอันควร ตนเองเป็นผู้เคารพในธรรม ฯลฯ ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในสงฆ์ ฯลฯ ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในสิกขา ฯลฯ ตนเอง

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 90

เป็นผู้มีความเคารพในสมาธิ ฯลฯ ตนเองเป็นผู้ว่าง่าย ฯลฯ เป็นผู้มีมิตรดีงาม ให้เป็นผู้มีมิตรดีงาม และกล่าวสรรเสริญภิกษุเหล่าอื่นผู้มีมิตรดีงามตามความเป็นจริงโดยกาลอันควร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยย่อนี้ โดยพิสดารอย่างนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดีละ ดีละ สารีบุตร เธอรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตที่เรากล่าวแล้วโดยย่อนี้ โดยพิสดารอย่างนี้ เป็นการดีแล ดูก่อนสารีบุตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในพระศาสดา กล่าวสรรเสริญความเป็นผู้มีความเคารพในพระศาสดา และกล่าวสรรเสริญภิกษุเหล่าอื่นผู้มีความเคารพใน พระศาสดาตามความเป็นจริงโดยกาลอันควร ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในธรรม ฯลฯ ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในสงฆ์ ฯลฯ ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในสิกขา ฯลฯ ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในสมาธิ ฯลฯ ตนเองเป็นผู้ว่าง่าย ฯลฯ ตนเองเป็นผู้มีมิตรดีงาม กล่าวสรรเสริญความเป็นผู้มีมิตรดีงาม ชักชวนภิกษุเหล่าอื่นผู้ไม่มีมิตรดีงามให้เป็นผู้มีมิตรดีงาม และกล่าวสรรเสริญภิกษุเหล่าอื่นผู้มีมิตรดีงามตามความเป็นจริงโดยกาลอันควร ดูก่อนสารีบุตร เธอพึงเห็นเนื้อความแห่งภาษิตที่เรากล่าวโดยย่อนี้ โดยพิสดารอย่างนี้.

จบ ทุติยสุวจสูตรที่ ๔