พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. ทุติยสขาสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  1 พ.ย. 2564
หมายเลข  39507
อ่าน  403

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 93

ปฐมปัณณาสก์

เทวตาวรรคที่ ๔

๖. ทุติยสขาสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 93

๖. ทุติยสขาสูตร

[๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ ควรเสพ ควรคบเป็นมิตร ควรเข้าไปนั่งใกล้ แม้ถูกขับไล่ ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุเป็นที่รักใคร่พอใจ ๑ เป็นที่เคารพ ๑ เป็นผู้ควรสรรเสริญ ๑ เป็นผู้ฉลาดพูด ๑ เป็นผู้อดทน ต่อถ้อยคำ ๑ พูดถ้อยคำลึกซึ้ง ๑ ไม่ชักนำในทางที่ไม่ดี ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล ควรเสพ ควรคบเป็นมิตร ควรเข้าไปนั่งใกล้ แม้ถูกขับไล่.

ภิกษุเป็นที่รักใคร่ พอใจ เป็นที่เคารพ ควรสรรเสริญ ฉลาดพูด อดทนต่อถ้อยคำ พูดถ้อยคำลึกซึ้ง ไม่ชักนำในทางที่ไม่ดี ฐานะเหล่านี้มีอยู่ในภิกษุใด ภิกษุนั้นเป็นมิตรแท้ มุ่งอนุเคราะห์แต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ ผู้ประสงค์จะคบมิตร ควร คบมิตรเช่นนั้น แม้จะถูกขับไล่.

จบ สขาสูตรที่ ๖

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 94

อรรถกถาทุติยสขาสูตรที่ ๖

ทุติยสขาสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า วตฺตา ได้แก่ผู้ฉลาดในถ้อยคำ. บทว่า วจนกฺขโม ความว่า ภิกษุย่อมอดทนถ้อยคำ คือกระทำตามโอวาทที่ท่านให้. บทว่า คมฺภีรํ ได้แก่ ถ้อยคำที่ปกปิด ลึกลับ ที่อาศัยฌาน อาศัยวิปัสสนา มรรคผล และนิพพาน.

จบ อรรถกถาทุติยสขาสูตรที่ ๖