พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. ทุติยปฏิสัมภิทาสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  1 พ.ย. 2564
หมายเลข  39509
อ่าน  355

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 97

ปฐมปัณณาสก์

เทวตาวรรคที่ ๔

๘. ทุติยปฏิสัมภิทาสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 97

๘. ทุติยปฏิสัมภิทาสูตร

[๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งปฏิสัมภิทา ๔ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน คือ สารีบุตรในธรรมวินัยนี้ เมื่อจิตหดหู่ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่าจิตของเราหดหู่ จิตท้อแท้ในภายใน รู้ชัดตามเป็นจริงว่าจิตของเราท้อแท้ในภายใน หรือจิตฟุ้งซ่านไปภายนอก เวทนาย่อมเกิดขึ้น ย่อมปรากฏ ย่อมถึงการตั้งอยู่ไม่ได้ สารีบุตรทราบแล้ว สัญญาย่อมเกิดขึ้น ย่อมปรากฏ ย่อมถึงการตั้งอยู่ไม่ได้ สารีบุตรทราบแล้ว วิตกย่อมเกิดขึ้น ย่อมปรากฏ ย่อมถึงการตั้งอยู่ไม่ได้ สารีบุตรทราบแล้ว จิตในธรรมเป็นที่สบาย ไม่สบาย เลว ประณีต ดำ ขาว และเป็นปฏิภาคกัน อันสารีบุตร เรียนดีแล้ว มนสิการดีแล้ว ทรงไว้ดีแล้ว แทงตลอดดีแล้ว ด้วยปัญญา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งปฏิสัมภิทา ๔ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่.

จบ ทุติยปฏิสัมภิทาสูตรที่ ๘