พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. ปุริสคติสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  1 พ.ย. 2564
หมายเลข  39526
อ่าน  405

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 161

วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

อัพยากตวรรคที่ ๑

๒. ปุริสคติสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 161

๒. ปุริสคติสูตร

[๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปุริสคติ ๗ ประการและอนุปาทาปรินิพพาน เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ปุริสคติ ๗ ประการเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือ ได้ความวางเฉยว่า ถ้ากรรมในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้ อัตภาพในปัจจุบันก็ไม่พึงมีแก่เรา ถ้ากรรมในปัจจุบันไม่มีไซร้ อัตภาพในอนาคตก็จักไม่มีแก่เรา เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้ว เราย่อมละได้ เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต ไม่ข้องในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งซึ่งมีอยู่ด้วยปัญญาอันชอบ ก็บทนั้นแล ภิกษุนั้นยังทำให้แจ้งไม่ได้โดยอาการทั้งปวง อนุสัยคือมานะ อนุสัยคือภวราคะ อนุสัยคืออวิชชา เธอก็ยังละไม่ได้โดยอาการทั้งปวง เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ภิกษุนั้นย่อมปรินิพพานในระหว่าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือ ได้ความวางเฉยว่า ถ้ากรรมในอดีต ไม่มีแล้วไซร้ ... เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้ว เราย่อมละได้ เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต ... ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งซึ่งมีอยู่ด้วยปัญญาอันชอบ ก็บทนั้นแล ภิกษุนั้นยังทำให้แจ้งไม่ได้โดยอาการทั้งปวง อนุสัยคือมานะ ... อนุสัยคืออวิชชา เธอก็ยังละไม่ได้โดยอาการทั้งปวง เพราะโอรัม-

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 162

ภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เธอย่อมปรินิพพานในระหว่าง เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนออกแล้วดับไป ฉะนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เธอย่อมปรินิพพานในระหว่าง เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป ตกยังไม่พึงพื้นก็ดับ ฉะนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เธอย่อมปรินิพพานในเมื่ออายุเลยกึ่ง เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป ตกถึงพื้นแล้วก็ดับ ฉะนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้บฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เธอย่อมปรินิพพานโดยไม่ต้องใช้ความเพียรนัก เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนขึ้นไป แล้วตกลงที่กองหญ้าหรือกองไม้เล็กๆ สะเก็ดนั้นพึงให้ไฟและควันเกิดขึ้นได้ที่หญ้าหรือกองไม้เล็กๆ นั้น ครั้นให้เกิดไฟและควันเผากองหญ้าหรือกองไม้เล็กๆ นั้นให้หมดไป ไม่มีเชื้อแล้วก็ดับ ฉะนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เธอย่อมปรินิพพาน

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 163

โดยต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างดีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป แล้วพึงตกลงที่กองหญ้าหรือกองไม้ย่อมๆ สะเก็ดนั้นพึงให้เกิดไฟและควันที่กองหญ้าหรือกองไม้ย่อมๆ นั้น ครั้นให้เกิดไฟและควันแล้ว เผากองหญ้าหรือกองไม้ย่อมๆ นั้นให้หมดไป ไม่มีเชื้อแล้วดับ ฉะนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เธอเป็นผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่อกนิฏฐภพ เปรียบเหมือนนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป แล้วพึงตกลงที่กองหญ้าหรือกองไม้ใหญ่ๆ ครั้นให้เกิดไฟและควันแล้ว เผากอหญ้าหรือกองไม้ใหญ่ๆ นั้นให้หมดไป แล้วพึงลามไปไหม้ไม้กอและป่าไม้ ครั้นไหม้ไม้กอและป่าไม้แล้ว ลามมาถึงที่สุดหญ้าเขียว ที่สุดภูเขา ที่สุดชายน้ำ หรือภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ หมดเชื้อแล้วก็ดับ ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุริสคติ ๗ ประการนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนอนุปาทาปรินิพพานเป็นอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือ ย่อมได้ความวางเฉยว่า ถ้ากรรมในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้ อัตตภาพในปัจจุบันก็ไม่พึงมีแก่เรา ถ้ากรรมในปัจจุบันไม่มีไซร้ อัตตภาพในอนาคตก็จักไม่มีแก่เรา เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้ว เราย่อมละได้ เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 164

ไม่ข้องอยู่ในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งด้วยปัญญาอันชอบ ก็บทนั้นแล อันภิกษุนั้นทำให้แจ้งแล้วโดยอาการทั้งปวง อนุสัยคือมานะ ... อนุสัยคืออวิชชา เธอละได้โดยอาการทั้งปวง เธอย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อนุปาทาปรินิพพาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุริสคติ ๗ ประการนี้และอนุปาทาปรินิพพาน.

จบ ปุริสคติสูตรที่ ๒

อรรถกถาปุริสคติสูตรที่ ๒

ปุริสคติสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ปุริสคติโย ได้แก่ ญาณคติของบุรุษ, บทว่า อนุปาทา ปรินิพฺพานํ ได้แก่ ปรนิพพานอันหาปัจจัยมิได้. บทว่า โน จสฺส ความว่า ถ้ากรรมอันบังเกิดในอัตตภาพอันเป็นอดีตจักไม่ได้มีแล้วไซร้. บทว่า โน จ เม สิยา ความว่า ในอัตตภาพนี้ ในกาลบัดนี้ กรรมก็ไม่พึงมีแก่เรา. บทว่า น ภวิสฺสติ ความว่า บัดนี้กรรมอันจะยังอัตตภาพอันเป็นอนาคตของเราให้บังเกิดจักไม่มี. บทว่า น เม ภวิสฺสติ ความว่า อัตตภาพของเราในอนาคตจักไม่มี. บทว่า

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 165

ยทตฺถิ ยํ ภูตํ ความว่า เบญจขันธ์ที่กำลังมีอยู่ ที่มีแล้ว ที่เป็นปัจจุบัน เกิดขึ้นเฉพาะหน้า. บทว่า ตํ ปชหามีติ อุเปกฺขํ ปฏิลภติ ความว่า ย่อมได้อุเบกขาอันสัมปยุตด้วยวิปัสสนาญาณว่า เราจะละเบญจขันธ์นั้นด้วยการละฉันทราคะในเบญจขันธ์นั้นเสีย. บทว่า ภเว น รชฺชติ ความว่า ย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์ที่เป็นอดีตด้วยตัณหาและทิฏฐิ. บทว่า สมฺภเว น รชฺชติ ความว่า ย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์แม้ที่เป็นอนาคตก็เหมือนกันนั่นแหละ. บทว่า อตฺถุตฺตริ ปทํ สนฺตํ ความว่า ชื่อว่าบทคือพระนิพพานเป็นบทสงบอย่างยิ่งมีอยู่. บทว่า สมฺมปฺปญฺาย ปสฺสติ ความว่า ย่อมเห็นโดยชอบซึ่งบทคือพระนิพพานนั้นด้วยมรรคปัญญาพร้อมด้วยวิปัสสนา. บทว่า น สพฺเพน สพฺพํ ความว่า บททั้งปวงอันภิกษุไม่ทำให้แจ้งแล้วโดยอาการทั้งปวง เพราะละกิเลสบางเหล่ายังไม่ได้ เพราะความมืดอันเป็นตัวปกปิดสัจจะยังกำจัดไม่ได้โดยประการทั้งปวง. บทว่า หญฺมาเน ความว่า ดังแผ่นเหล็กที่ลุกโชนอันนายช่างเอาคีมจับแล้วเอาค้อนทุบ.

บทว่า อนฺตราปรินิพฺพายี ความว่า จำเดิมแต่กาลอันเป็นลำดับจากเหตุเกิดขึ้น พระอนาคามีบุคคลไม่ล่วงเลยท่ามกลางอายุ แล้วปรินิพพานด้วยกิเลสปรินิพพานในระหว่างนี้. บทว่า อนุปหจฺจ ตลํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอันตราปรินิพพายีบุคคลไว้ ๓ จำพวก ด้วยอุปมา ๓ ข้อเหล่านี้คือ สะเก็ดลูกไฟเหล็ก ไม่กระทบพื้น, ไม่ล่วงไปถึงพื้น, พึงดับเสียในอากาศนั่นแล.

บทว่า อุปหจฺจปรินิพฺพายี ความว่า พระอนาคามีบุคคลล่วงกลางอายุ จดที่สุดแห่งจิตดวงหลัง แล้วปรินิพพาน. บทว่า

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 166

อุปหจฺจ ตลํ ความว่า สะเก็ดลูกไฟเหล็กติดไฟโพลงอยู่ ไม่ล่วงเลยพื้นอากาศหรือเข้ากระทบพื้นดิน เพียงตกไปที่ดินเท่านั้นแล้วก็ดับไป.

พระอนาคามีบุคคลผู้ทำกิเลสทั้งหลายให้สิ้นไปโดยไม่มีสังขารอื่นกระตุ้นเตือน คือโดยไม่มีความพยายามแล้วปรินิพพาน เพราะเหตุนั้น พระอนาคามีนั้นจึงชื่อว่า อสังขารปรินิพพายี ผู้ปรินิพพานโดยไม่ต้องมีสังขารอื่นช่วยกระตุ้นเตือน.

พระอนาคามีบุคคลผู้ทำกิเลสทั้งหลายให้สิ้นไปโดยมีสังขารอื่นช่วยกระตุ้นเตือนคือต้องประกอบด้วยความเพียรแล้วปรินิพพาน เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสังขารปรินิพพายี ผู้ปรินิพพานโดยต้องมีสังขารอื่นช่วยกระตุ้นเตือน.

บทว่า คจฺฉํ ความว่า ป่าอันปราศจากอารักขา. บทว่า ทายํ ความว่า ป่าอันมีอารักขาคืออันท่านให้เพื่อประโยชน์แก่การอภัยแล้ว. คำที่เหลือในบทเหล่านี้มีอรรถง่ายทั้งนั้น. ในพระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงพระอริยบุคคลทั้งหลาย ดังนี้แล.

จบ อรรถกถาปุริสคติสูตรที่ ๒