๕. รักขิตสูตร
[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 178
วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์
อัพยากตวรรคที่ ๑
๕. รักขิตสูตร
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 178
๕. รักขิตสูตร
[๕๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๔ ประการนี้ ตถาคตไม่ต้องรักษา และตถาคตไม่พึงถูกติเตียนด้วยฐานะ ๓ ประการ ฐานะ ๔ ประการที่ตถาคตไม่ต้องรักษาเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตมีกายสมาจารบริสุทธิ์ ตถาคตไม่มีการทุจริตที่จะต้องรักษาว่า คนอื่นอย่ารู้ข้อนี้ของเราเลย ตถาคตมีวจีสมาจารบริสุทธิ์ ตถาคตไม่มีวจีทุจริตที่จะต้องรักษาว่า คนอื่นอย่ารู้ข้อนี้ของเราเลย ตถาคตมีมโนสมาจารบริสุทธิ์ ไม่มีมโนทุจริตที่จะต้องรักษาว่า คนอื่นอย่ารู้ข้อนี้ของเราเลย ตถาคตมีอาชีวบริสุทธิ์ ไม่มีมิจฉาชีพที่จะต้องรักษาว่า คนอื่นอย่ารู้ข้อนี้ของเราเลย ฐานะ ๔ ประการนี้ ตถาคตไม่ต้องรักษา ตถาคตไม่พึงถูกติเตียนด้วยฐานะ ๓ ประการ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตมีธรรมอันกล่าวดีแล้ว สมณะก็ดี พราหมณ์ก็ดี เทวดาก็ดี มารก็ดี พรหมก็ดี หรือใครๆ ในโลกก็ดี จักคัดค้านเราในธรรมนั้นโดยชอบธรรมว่า แม้เพราะเหตุนี้ ท่านมิใช่เป็นผู้มีธรรมอันกล่าวดีแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นนิมิตนั้น เมื่อไม่เห็น ย่อมถึงความเกษม ไม่มีภัย มีความแกล้วกล้าอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ปฏิปทาอันเป็นเครื่องยังสัตว์ให้ถึงนิพพาน ที่สาวกของเราผู้ปฏิบัติตามแล้ว ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองในทิฏฐธรรมเข้าถึงอยู่ อันเราบัญญัติไว้ดีแล้วแก่สาวกทั้งหลาย สมณะก็ดี พราหมณ์ก็ดี เทวดา
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 179
ก็ดี มารก็ดี พรหมก็ดี หรือใครๆ ในโลกก็ดี จักคัดค้านเราในปฏิปทานั้นโดยชอบธรรมว่า แม้เพราะเหตุนี้ ปฏิปทาอันเป็นเครื่องยังสัตว์ให้ถึงนิพพานที่สาวกของท่านปฏิบัติแล้ว ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ฯลฯ ไม่เป็นปฏิปทาอันท่านบัญญัติไว้ดีแล้วแก่สาวกทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นนิมิตนั้น ย่อมถึงความเกษม ไม่มีภัย แกล้วกล้าอยู่ อนึ่ง สาวกบริษัทของเราเป็นร้อยๆ ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองในทิฏฐธรรมเข้าถึงอยู่ สมณะก็ดี พราหมณ์ก็ดี เทวดาก็ดี มารก็ดี พรหมก็ดี หรือใครๆ ในโลกก็ดี จักคัดค้านเราในข้อนั้นโดยชอบธรรมว่า แม้เพราะเหตุนี้ สาวกบริษัทเป็นร้อยๆ ไม่ได้กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองในทิฏฐธรรมเข้าถึงอยู่ เราไม่เล็งเห็นนิมิตนั้น เมื่อไม่เห็น ย่อมถึงความเกษม ไม่มีภัย แกล้วกล้าอยู่ ตถาคตไม่พึงถูกติเตียนเพราะฐานะ ๓ ประการเหล่านี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๔ ประการนี้แล ตถาคตไม่จำเป็นต้องรักษา และตถาคตไม่พึงถูกติเตียนด้วยฐานะ ๓ ประการนี้แล.
จบ รักขิตสูตรที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 180
อรรถกถารักขิตสูตรที่ ๕
รักขิตสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า นิมิตฺตํ ได้แก่ ซึ่งธรรมนิมิตบ้าง บุคคลนิมิตบ้าง. จริงอยู่พระตถาคตนี้ เมื่อไม่พิจารณาเห็นแม้บทหนึ่งในธรรมที่เราแสดงแล้วด้วยตนเอง ว่าเป็นธรรมที่กล่าวไม่ดี นำสัตว์ออกจากทุกข์ในวัฏฏะไม่ได้ ชื่อว่า ไม่พิจารณาเห็นธรรมนิมิต. พระตถาคตไม่พิจารณาเห็นแม้บุคคลผู้หนึ่ง ผู้จะลุกขึ้นโต้ตอบว่า ธรรมที่ท่านกล่าวแล้วผิด ธรรมที่ท่านกล่าวไม่ดี ชื่อว่าไม่พิจารณาเห็นบุคคลนิมิต. แม้ในบททั้งสองที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน.
จบ อรรถกถารักขิตสูตรที่ ๕