๙. ปุญญวิปากสูตร
[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 192
วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์
อัพยากตวรรคที่ ๑
๙. ปุญญวิปากสูตร
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 192
๙. ปุญญวิปากสูตร
[๕๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่ากลัวต่อบุญเลย คำว่าบุญนี้เป็นชื่อของความสุข ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมรู้ชัดซึ่งผลแห่งบุญอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ที่เราเสวยแล้วตลอดกาลนาน เราเจริญเมตตาจิตตลอด ๗ ปี ครั้นแล้ว เราไม่ได้กลับมายังโลกนี้ตลอด ๗ สังวัฏฏวิวัฏฏกัป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า เมื่อโลกถึงความพินาศ (ลุกไฟไหม้) เราเข้าถึงพรหมโลกชั้นอาภัสสระ เมื่อโลกยังไม่ถึงความพินาศ เราย่อมเข้าถึงวิมานพรหมอันว่างเปล่า ได้ยินว่า ในวิมานพรหมนั้น เราเป็นพรหม เป็นท้าวมหาพรหม เป็นใหญ่ ใครๆ ครอบงำไม่ได้ มีความเห็นแน่นอน มีอำนาจเต็ม เป็นท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่แห่งทวยเทพ ๓๖ ครั้ง เป็น พระเจ้าจักรพรรดิตั้งอยู่ในธรรม เป็นธรรมราชา มีสมุทรทั้ง ๔ เป็นขอบเขต ผู้ชนะสงคราม มีชนบทถึงความสถาพรตั้งมั่น ประกอบ ด้วยรัตนะ ๗ ประการ รัตนะ ๗ ประการของเรานั้นคือ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี นางแก้ว คฤหบดีแก้ว ขุนพลแก้ว เป็นที่ ๗ อนึ่ง เราเคยมีบุตรมากกว่าพันคน ล้วนแต่เป็นคนกล้าหาญ ชาญชัย ย่ำยีข้าศึกได้ เราครอบครองปฐพีมณฑลนี้ อันมีมหาสมุทรเป็นขอบเขต โดยธรรม ไม่ต้องใช้อาชญา ไม่ต้องใช้ศาสตรา.
เชิญดูผลแห่งบุญกุศลของบุคคลผู้แสวงหาความสุข ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเจริญเมตตาจิตมาแล้ว ๗ ปี ไม่ต้องกลับมาสู่โลกนี้ตลอด ๗
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 193
สังวัฏฏวิวัฏฏกัป เมื่อโลกถึงความพินาศ เราเข้าถึงพรหมโลกชั้นอาภัสสระ เมื่อโลกยังไม่ถึงความพินาศ เราเข้าถึงวิมานอันว่างเปล่า ในกาลนั้น เราเป็นท้าวมหาพรหมผู้มีอำนาจเต็ม ๗ ครั้ง เป็นท้าวสักกะจอมเทพเสวยสมบัติในเทวโลก ๓๖ ครั้ง เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้เป็นใหญ่ในหมู่ชนชาวชมพูทวีป เป็นกษัตริย์ได้รับมุรธาภิเศกแล้วเป็นใหญ่ในหมู่มนุษย์ ปกครองปฐพีมณฑลนี้โดยไม่ต้องใช้อาชญา ไม่ต้องใช้ศาตรา สั่งสอนคนในปฐพีมณฑลนั้นโดยธรรมสม่ำเสมอ ไม่ผลุนผลัน ครั้นได้เสวยราชในปฐพีมณฑลนี้โดยธรรมแล้ว ได้เกิดในตระกูลมั่งคั่ง มีทรัพย์สมบัติมากมาย ทั้งบริบูรณ์พร้อมด้วยรัตนะ ๗ ประการอันอำนวยความประสงค์ให้ทุกอย่าง ฐานะดังที่กล่าวมานี้ พระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้สงเคราะห์ประชาชาวโลกทรงแสดงไว้ดีแล้ว เหตุที่ท่านเรียกว่าเป็นพระเจ้าแผ่นดินเพราะความเป็นใหญ่ เราเป็นพระราชาผู้เรืองเดช มีอุปกรณ์เครื่องให้ปลื้มใจมากมาย มีฤทธิ์ มียศ เป็นใหญ่ในหมู่ชนชาวชมพูทวีป ใครบ้างได้ฟังแล้วจะไม่เลื่อมใสแม้จะ เป็นคนมีชาติต่ำ เพราะฉะนั้นแหละ ผู้มุ่งประ-
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 194
โยชน์ จำนงหวังความเป็นใหญ่ ระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พึงเคารพสัทธรรม.
จบ ปุญญวิปากสูตรที่ ๙
อรรถกถาปุญญวิปากสูตรที่ ๙
ปุญญวิปากสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
คำว่า มา ภิกฺขเว ปุญฺานํ ภายิตฺถ ความว่า พวกเธอเมื่อจะทำบุญ อย่าได้กลัวต่อบุญเหล่านั้นเลย. ด้วยคำว่า เมตฺตจิตฺตํ ภาเวสิํ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า เราอบรมจิตทำให้ประณีตประกอบเมตตา อันประกอบด้วยฌานหมวด ๓ และหมวด ๔
คำว่า สํวฏฺฏมาเน สุทาหํ ตัดบทเป็น สํวฏฺฏมาเน สุทํ อหํ. บทว่า สํวฏฺฏมาเน ความว่า เมื่อโลกอันไฟไหม้อยู่ คืออันไฟทำให้พินาศอยู่. บทว่า ธมฺมิโก ได้แก่ ประกอบด้วยกุศลธรรม ๑๐ ประการ. บทว่า ธมฺมราชา นี้ เป็นไวพจน์ของบทว่า ธมฺมราชา นั้น. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าเป็นธรรมราชาเพราะทรงได้ราชสมบัติโดยธรรม. บทว่า จาตุรนฺโต ได้แก่ มีความเป็นใหญ่ในแผ่นดินที่ชื่อว่าจาตุรันต์ด้วยอำนาจมีมหาสมุทรทั้ง ๔ มีในทิศบูรพาเป็นต้น บทว่า วิชิตาวี แปลว่า ผู้ชนะสงคราม. ชนบทในพระเจ้า-
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 195
จักพรรดินั้นถึงความมั่นคงถาวร เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าผู้ทรงมีชนบทถึงความมั่นคงถาวร.
บทว่า ปโรสหสฺสํ แปลว่า มีพระโอรสมากเกิน ๑,๐๐๐ พระองค์. บทว่า สูรา ได้แก่ผู้ไม่ขลาด ในบทว่า วีรงฺครูปา มีรูป วิเคราะห์ดังต่อไปนี้ องค์ของผู้แกล้วกล้าชื่อว่า วีรังคะ วีรังคะ องค์ผู้กล้าหาญเป็นรูปของโอรสเหล่านั้น เหตุนั้น โอรสเหล่านั้นชื่อว่า วิรังครูปา ผู้มีองค์แห่งผู้กล้าหาญเป็นรูป. ท่านอธิบายไว้ว่า โอรสเหล่านั้นไม่เกียจคร้าน เหมือนผู้มีความเพียรเป็นปกติ มีความเพียรเป็นสภาวะ และมีความเพียรมาก. ท่านอธิบายว่าแม้จะรบทั้งวันก็ไม่เหน็ดเหนื่อย. บทว่า สาครปริยนฺตํ ความว่า มีมหาสมุทรตั้งจดขุนเขาจักรวาลเป็นขอบเขตล้อมรอบ. บทว่า อทณฺเฑน ได้แก่ เว้นจากอาชญา คือการปรับสินไหมด้วยทรัพย์บ้าง ลงอาชญาทางตัวบทกฏหมายโดยสั่งจำคุก ตัดมือเท้าและประหารชีวิตบ้าง บทว่า อสตฺเถน ได้แก่ เว้นจากใช้ศัสตราเบียดเบียนผู้อื่น มีศัสตรามีคมข้างเดียวเป็นต้น บทว่า ธมฺเมน อภิวิชิย ความว่า ทรงชนะตลอดแผ่นดิน มีประการดังกล่าวแล้วโดยธรรมอย่างเดียว โดยนัยอาทิว่า ไม่พึงฆ่าปาณะ พระราชาผู้เป็นข้าศึกต้อนรับเสด็จอย่างนี้ว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองค์โปรดเสด็จมาเถิด.
บทว่า สุเขสินํ ความว่า ย่อมเรียกสัตว์ทั้งหลายผู้แสวงหาความสุข. บทว่า สุญฺพฺรหฺมูปโค ความว่า ผู้เข้าถึงวิมานพรหม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 196
อันว่างเปล่า. บทว่า ปวิํ อิมํ ความว่า ซึ่งแผ่นดินใหญ่อันมีสาครล้อมรอบ. บทว่า อสาหเสน แปลว่า ด้วยกรรมที่มิได้ยั้งคิด. บทว่า สเมน มนุสาสิตํ (๑) ความว่า พร่ำสอนด้วยกรรมอันสม่ำเสมอ. บทว่า เตหิ เอตํ สุเทสิตํ ความว่า ฐานะนี้ คือมีประมาณเท่านี้ อันพระพุทธเจ้าทั้งหลายแสดงดีแล้ว ตรัสดีแล้ว. บทว่า ปโพฺย แปลว่า เจ้าแผ่นดิน.
จบ อรรถกถาปุญญวิปากสูตรที่ ๙
(๑) สฺยา. มนุสาสิ ตํฯ