พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. นครสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  2 พ.ย. 2564
หมายเลข  39539
อ่าน  465

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 223

วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

มหาวรรคที่ ๒

๓. นครสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 223

๓. นครสูตร

[๖๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด ปัจจันตนครของพระราชาป้องกันไว้ดีด้วยเครื่องป้องกัน ๗ ประการและหาอาหาร ๔ ประการได้ตามความปรารถนาโดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ในกาลนั้น เรากล่าวว่าศัตรูหมู่ปัจจามิตรภายนอกทำอันตรายปัจจันตนครของพระราชานั้นไม่ได้ เครื่องป้องกัน ๗ ประการเป็นไฉน คือ ในปัจจันตนครของพระราชามีเสาระเนียดขุดหลุมฝังลึกไม่หวั่นไหว นี้เป็นเครื่องป้องกันนครประการที่ ๑ สำหรับคุ้มภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก.

อีกประการหนึ่ง มีคูขุดลึกและกว้าง นี้เป็นเครื่องป้องกันนครประการที่ ๒ สำหรับคุ้มภัยภายในและป้องกันนครประการที่ ๒ สำหรับคุ้มภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก.

อีกประการหนึ่ง มีทางเดินตามคูได้รอบทั้งสูงและกว้าง นี้เป็นเครื่องป้องกันนครประการที่ ๓ สำหรับคุ้มภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก.

อีกประการหนึ่ง มีการสะสมอาวุธไว้มาก ทั้งที่เป็นอาวุธแหลมยาวและอาวุธคม นี้เป็นเครื่องป้องกันนครประการที่ ๔ สำหรับคุ้มภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก.

อีกประการหนึ่ง ตั้งกองทัพไว้มาก คือ พลช้าง พลม้า พลรถ พลธนู กองถือธง กองจัดกระบวนทัพ กองสัมภาระ กอง

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 224

เสนาธิการ กองตะลุมบอนเหมือนช้างที่วิ่งเข้าสู่สงคราม กองทหารหาญ กองทหารโลหะ กองเกราะหนัง กองทหารทาส นี้เป็นเครื่องป้องกันนครประการที่ ๕ สำหรับคุ้มภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก.

อีกประการหนึ่ง มีทหารยามฉลาดสามารถดี ห้ามไม่ให้คนที่ไม่รู้จักเข้า อนุญาตให้คนที่รู้จักเข้า นี้เป็นเครื่องป้องกันนครประการที่ ๖ สาหรับคุ้มภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก.

อีกประการหนึ่ง มีกำแพงทั้งสูงและกว้างพร้อมด้วยป้อมก่ออิฐถือปูนดี นี้เป็นเครื่องป้องกันนครประการที่ ๗ สำหรับคุ้มภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก ปัจจันตนครมีการป้องกันดีด้วยเครื่องป้องกัน ๗ ประการนี้แล.

ปัจจันตนครหาอาหาร ๔ ประการได้ตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก เป็นไฉน คือ ในปัจจันตนครของพระราชามีการสะสมหญ้า ไม้ และน้ำไว้มาก เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งชนภายในและป้องกันอันตรายภายนอก.

อีกประการหนึ่ง มีการสะสมข้าวสาลี (ข้าวเจ้า) และข้าวเหนียวไว้มาก เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งชนภายในและป้องกันอันตรายภายนอก.

อีกประการหนึ่ง มีการสะสมงา ถั่วเขียว ถั่วทอง และอปรัณณชาติไว้มาก เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งชนภายในและป้องกันอันตรายภายนอก.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 225

อีกประการหนึ่ง มีการสะสมเภสัชไว้มาก คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เกลือ เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งชนภายในและป้องกันอันตรายภายนอก.

ปัจจันตนครหาอาหาร ๔ ประการได้ตามปรารถนาได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด ปัจจันตนครของพระราชาป้องกันไว้ดีด้วยเครื่องป้องกัน ๗ ประการนี้และอาหาร ๔ ประการได้ตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ในกาลนั้น เรากล่าวว่า ศัตรูหมู่ปัจจามิตรไม่ทำอันตรายได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ในกาลใด อริยสาวกประกอบพร้อมด้วยสัทธรรม ๗ ประการและเป็นผู้มีปกติได้ตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ในกาลนั้น เรากล่าวว่า มารผู้มีบาปทำอันตรายอริยสาวกไม่ได้ สัทธรรม ๗ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกเป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาเครื่องตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชามีเสาระเนียดขุดหลุมฝังลึกไม่หวั่นไหว สำหรับคุ้มภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอกฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้มีศรัทธาเปรียบเหมือนเสาระเนียด ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ละกรรมที่มีโทษ เจริญกรรมอันไม่มีโทษ บริหารตนให้บริสุทธิ์ นี้เป็นสัทธรรมประการที่ ๑ ฯลฯ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 226

อริยสาวกเป็นผู้มีหิริ ละอายต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ละอายต่อการเข้าถึงอกุศลธรรมอันชั่วช้าลามก เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชามีคู (สนามเพลาะ) ทั้งลึกและกว้าง สำหรับคุ้มภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอกฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้มีหิริเปรียบเหมือนคู ย่อมละอกุศล ... บริหารตนให้บริสุทธิ์ นี้เป็นสัทธรรมประการที่ ๒.

อริยสาวกมีโอตตัปปะ สะดุ้งกลัวต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต สะดุ้งกลัวต่อการเข้าถึงอกุศลธรรมอันชั่วช้าลามก เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชามีทางเดินตามคูได้รอบทั้งสูงและกว้าง สำหรับคุ้มภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอกฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้มีโอตตัปปะเปรียบเหมือนทางเดิน ย่อมละอกุศลธรรม ... ย่อมบริหารตนให้บริสุทธิ์ นี้เป็นสัทธรรมประการที่ ๓.

อริยสาวกเป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ ได้สดับตรับฟังมาก ทรงจำไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ ซึ่งธรรมทั้งหลายอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชามีการสะสม อาวุธไว้มาก ทั้งที่เป็นอาวุธแหลมยาวและอาวุธคม สำหรับคุ้มภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอกฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้มีสุตะเปรียบเหมือนอาวุธ ย่อมละอกุศลธรรม ... บริหารตนให้บริสุทธิ์ นี้เป็นสัทธรรมประการที่ ๔.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 227

อริยสาวกปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมถึงพร้อม มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชาตั้งกองทัพไว้มาก คือ พลม้า ฯลฯ กองทหารทาส สำหรับคุ้มภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอกฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกมีความเพียรเปรียบเหมือนกองทัพ ย่อมละอกุศลธรรม ... บริหารตนให้บริสุทธิ์ นี้เป็นสัทธรรมประการที่ ๕.

อริยสาวกเป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติเป็นเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง ย่อมตามระลึกถึงกรรมที่ได้ทำและคำที่ได้พูดแล้วแม้นานได้ เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชามีทหารยามฉลาดสามารถดี ห้ามไม่ให้คนที่ไม่รู้จักเข้า อนุญาตให้คนที่รู้จักเข้า สำหรับคุ้มภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอกฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้มีสติเปรียบเหมือนทหารยาม ย่อมละอกุศลธรรม ... บริหารตนให้บริสุทธิ์ นี้เป็นสัทธรรมประการที่ ๖.

อริยสาวกเป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเครื่องพิจารณาความเกิดและความดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชามีกำแพงทั้งสูงทั้งกว้างพร้อมด้วยป้อมก่ออิฐถือปูนดี เพื่อคุ้มภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอกฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้มีปัญญาเปรียบเหมือนกำแพงอันพร้อมด้วยป้อมก่ออิฐถือปูนดี ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ละกรรมที่มีโทษ เจริญกรรมที่ไม่มีโทษ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 228

บริหารตนให้บริสุทธิ์ นี้เป็นสัทธรรมประการที่ ๗ อริยสาวกเป็นผู้ประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการนี้.

อริยสาวกเป็นผู้มีปกติได้ตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันเป็นไฉน อริยสาวกสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติ และสุข เกิดแต่วิเวกอยู่ เพื่อ ความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่อเป็นสุขแห่งตน และเพื่อหยั่งลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชามีการสะสมหญ้า ไม้และน้ำไว้มาก เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งชนภายในและเพื่อป้องกันอันตรายภายนอก ฉะนั้น.

อริยสาวกบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดจากสมาธิอยู่ เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งตนและเพื่อหยั่งลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชามีการสะสมข้าวสาลี (ข้าวเจ้า) และข้าวเหนียวไว้มาก เพื่อความอุ่นใจภายใน ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งชนภายในและเพื่อป้องกันอันตรายภายนอก ฉะนั้น.

อริยสาวกมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่าผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข เพื่อ

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 229

ความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งตน และเพื่อหยั่งลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชามีการสะสมงา ถั่วเขียว ถั่วทอง และอปรัณณชาติไว้มาก เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งชนภายในและเพื่อป้องกันอันตรายภายนอก ฉะนั้น.

อริยสาวกบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งตน และเพื่อหยั่งลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชามีการสะสมเภสัชไว้มาก คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เกลือ เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งชนภายในและป้องกันอันตรายภายนอก ฉะนั้น.

อริยสาวกเป็นผู้มีปกติได้ตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ นี้อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด อริยสาวกประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการนี้และมีปกติได้ตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ นี้อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ในกาลนั้นแล มารผู้มีบาปก็ทำอันตรายอริยสาวกไม่ได้.

จบ นครสูตรที่ ๓

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 230

อรรถกถานคโรปมสูตรที่ ๓

นครสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ยโต แปลว่า ในกาลใด. บทว่า ปจฺจนฺติมํ ได้แก่ นครอันตั้งอยู่ในที่สุดแห่งรัฐ คือปลายเขตรัฐ. ก็การรักษานครในมัชฌิมประเทศย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้น จึงไม่ทรงถือเอากิจ คือรักษานครนั้น.

บทว่า นครปริกฺขาเรหิ ปริกฺขิตฺตํ ความว่า ประดับตกแต่งด้วยเครื่องประดับพระนคร.

บทว่า อกรณียํ ความว่า อันข้าศึกภายนอกพึงกระทำไม่ได้ คือเอาชนะไม่ได้.

บทว่า คมฺภีรเนมา ได้แก่ หลุมลึก.

บทว่า สุนิขาตา ได้แก่ ฝังไว้ดีแล้ว. ก็ชาวพระนครย่อมสร้างเสาระเนียดนั้นด้วยอิฐบ้าง ด้วยหินบ้าง ด้วยไม้แก่นมีไม้ตะเคียนเป็นต้นบ้าง เมื่อสร้างเสาระเนียดนั้นเพื่อประโยชน์แก่การคุ้มครองพระนคร ก็สร้างไว้ภายนอกพระนคร เมื่อสร้างเพื่อประโยชน์แก่การตกแต่ง ก็สร้างไว้ภายในพระนคร. เมื่อทำเสาระเนียดนั้นให้สำเร็จด้วยอิฐก็ขุดหลุมใหญ่ฝังลงไป ในเบื้องบนทำเป็น ๘ เหลี่ยม ฉาบด้วยปูนขาว. เมื่อใดช้างเอางาแทงก็ไม่หวั่นไหว เมื่อนั้นเสาระเนียดนั้นย่อมชื่อว่าฉาบดีแล้ว. เสาระเนียดแม้จะสำเร็จด้วยเสาหินเป็นต้น เป็นเสามีแปดเหลี่ยมเท่านั้น. ถ้าเสาเหล่านั้นยาว ๘ ศอกไซร้ก็ฝังลงในหลุมลึกประมาณ ๔ ศอก ข้างบนประมาณ ๔ ศอก แม้ในเสาระเนียดยาว ๑๖ ศอกหรือ ๒๐ ศอกก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็เสาระเนียดทั้งหมดฝังลงไปข้างล่างครึ่งหนึ่ง

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 231

อยู่ข้างบนครึ่งหนึ่ง เสาเหล่านั้นคดคล้ายเยี่ยวโค เพราะเหตุนั้น บุคคลย่อมอาจทำงานได้โดยใช้ไม้เรียบในระหว่างเสาเหล่านั้น อนึ่งเสาเหล่านั้นเขาทำลวดลายไว้ ยกธงไว้ด้วย.

บทว่า ปริกฺขา ได้แก่ เหมืองที่จัดล้อมไว้.

บทว่า อนุปริยายปโต ได้แก่ หนทางใหญ่ที่เลียบไปกับภายในกำแพงซึ่งทหารทั้งหลายตั้งอยู่ รบกับเหล่าทหารที่ตั้งอยู่ภายนอกกำแพง.

บทว่า สลากํ ได้แก่ อาวุธซัด มีศรและโตมรเป็นต้น.

บทว่า เชวนิกํ ได้แก่ อาวุธที่เหลือ มีอาวุธมีคมข้างเดียวเป็นต้น.

บทว่า หตฺถาโรหา ได้แก่ ชนทั้งปวง มีอาจารย์ฝึกช้าง หมอรักษาช้าง และคนเลี้ยงช้างเป็นต้น.

บทว่า อสฺสาโรหา ได้แก่ ชนทั้งปวง มีอาจารย์ผู้ฝึกม้า หมอรักษาม้า และคนเลี้ยงม้าเป็นต้น.

บทว่า ธนุคฺคาหา ได้แก่ ทหารยิงธนู.

บทว่า เจลกา ได้แก่ เหล่าทหารผู้ถือธงชัยนำหน้าในสนามรบ.

บทว่า จลกา ความว่า ผู้จัดกระบวนทัพอย่างนี้ว่า ตำแหน่งพระราชาอยู่ที่นี่ ตำแหน่งมหาอำมาตย์ชื่อโน้นอยู่ที่นี่.

บทว่า ปิณฺฑทายกา ได้แก่ ทหารใหญ่หน่วยจู่โจม อธิบาย ได้ยินว่าทหารเหล่านั้นเข้าไปยังกองทัพแห่งปรปักษ์ ตัดเอาเป็นท่อนๆ แล้วนำไปเหมือนนำก้อนข้าวไปเป็นก้อนๆ แล้วโดดหนีไป อีกนัยหนึ่ง ทหารเหล่าใดถือเอาข้าวและน้ำดื่มเข้าไปให้แก่กองทหารในกลางสงครามได้ คำว่าบิณฑทายกานั่นเป็นชื่อของทหารแม้เหล่านั้น.

บทว่า อุคฺคา ราชปุตฺตา ได้แก่ เหล่าทหารผู้เป็นลูกเจ้า มีสกุลสูงๆ ชำนาญสงคราม.

บทว่า ปกฺขนฺทิโน

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 232

ได้แก่ เหล่าทหารที่ถามกันว่าพวกเราจะไปนำเอาศีรษะหรืออาวุธของใครมา ได้รับคำตอบว่าของทหารคนโน้น ดังนี้แล้วก็โลดแล่นเข้าสู่สงคราม นำเอาศีรษะหรืออาวุธนั้นมาได้. ทหารเหล่านี้ย่อมโลดแล่นเข้าไปเหตุนั้นจึงชื่อว่าปักขันทีหน่วยกล้าตาย ทหารเหล่านั้นชื่อว่ากล้าหาญมากมากเหมือนพระยาช้างฉะนั้น.

บทว่า มหานาคานี้เป็นชื่อของทหารผู้ไม่ยอมถอยกลับ ในเมื่อช้างเป็นต้น มาเผชิญหน้ากันอยู่.

บทว่า สูรา ได้แก่ เหล่าทหารผู้ที่แกล้วกล้าเป็นเอก แม้สวมตาข่ายก็สามารถข้ามสมุทรไปได้.

บทว่า จมฺมโยธิโน ได้แก่ ทหารผู้ที่สวมเกราะหนังหรือถือโล่หนังทำการรบ.

บทว่า ทาสกปุตฺตา ได้แก่ ทหารทาสในเรือนเบี้ย ผู้มีความรักนายอย่างรุนแรง.

บทว่า โทวาริโก แปลว่า ทหารรักษาประตู.

บทว่า วาสนเลปนสมฺปนฺโน ความว่า กำแพงอันประกอบด้วยการก่ออิฐด้วยการปิดช่องทั้งปวงด้วยการฉาบด้วยปูนขาว อีกอย่างหนึ่ง ประกอบด้วยก่ออิฐกล่าวคือกำแพงติดขวากหนามและฉาบด้วยปูนขาวเป็นแท่งทึบเกลี้ยง ทำลวดลายแสดงแถวหม้อเต็มน้ำ ยกธงขึ้นไว้.

บทว่า ติณกฏฺโทกํ ความว่า หญ้าที่นำมาเก็บไว้ในที่มากแห่งเพื่อประโยชน์ของสัตว์มีช้างม้าเป็นต้นและเพื่อประโยชน์แก่การมุงบ้าน ไม้ที่นำมากองไว้เพื่อประโยชน์ทำบ้านและฟืนหุงต้มเป็นต้น น้ำที่ใช้สำหรับเครื่องยนต์สูบเข้าเก็บไว้ในสระโบกขรณี.

บทว่า สนฺนิจิตํ โหติ ความว่า ย่อมเป็นอันสะสม

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 233

ไว้เป็นอย่างดีในที่หลายแห่ง เตรียมไว้ล่วงหน้าก่อน

บทว่า อพฺภนฺตรานํ รติยา ความว่า เพื่อประโยชน์แก่ความอุ่นใจของพวกผู้คนที่อยู่ในเมือง.

บทว่า อปริตสฺสาย ความว่า เพื่อประโยชน์ไม่ให้ต้องหวาดสะดุ้ง.

บทว่า สาลิยวกํ ได้แก่ ข้าวสาลีและข้าวเหนียวต่างๆ.

บทว่า ติลมุคฺคมาสาปรณฺณํ ได้แก่ งา ถั่วเขียว ถั่วเหลือง และอปรัณณชาตที่เหลือ.

บัดนี้เพราะเหตุที่กิจกรรมในพระนครของพระตถาคตไม่มี แต่อุปมามาแล้วอย่างนี้ว่า ก็เราจะแสดงพระอริยสาวกให้เป็นเสมือนสัทธรรม ๗ เสมือนเครื่องแวดล้อมพระนคร และฌาน ๔ เสมือนอาหาร ๔ แล้วจำเราจักยักเยื้องเทศนาใส่พระอรหัต เข้าในฐานะ ๑๑ ฉะนั้นเพื่อจะประกาศเทศนานั้น จึงทรงเริ่มคำมีอาทิว่า เอวเมว โข ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สทฺธมฺเมหิ แปลว่า ด้วยธรรมอันดี.

บทว่า สทฺโธ ได้แก่ ประกอบด้วยความปักใจเชื่อ และด้วยการเชื่อโดยผลประจักษ์ ในความเชื่อ ๒ อย่างนั้น การเชื่อผลแห่งทานและศีลเป็นต้นแล้ว เชื่อในการบำเพ็ญบุญมีทานเป็นต้นชื่อว่า โอกัปปนสัทธา ปักใจเชื่อ. ศรัทธาอันมาแล้วโดยมรรคชื่อว่า ปัจจักขสัทธา การเชื่อโดยผลประจักษ์ แม้ในบทว่าปสาทสัทธาก็นัยนี้เหมือนกัน. พึงชี้แจงลักษณะเป็นต้นของศรัทธานั้นให้แจ่มแจ้ง ความเชื่อนี้ ตามบาลีว่า ดูก่อนมหาบพิตร ศรัทธามีการแล่นไปเป็นลักษณะ และมีการผ่องใสเป็นลักษณะ ชื่อว่าลักษณะของ

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 234

ศรัทธา แต่ความเชื่อที่ตรัสโดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พึงทราบบุคคลผู้มีศรัทธาเลื่อมใสแล้วโดยฐานะ ๓ ฐานะ ๓ คือ เป็นผู้ใคร่เห็นบุคคลผู้มีศีลทั้งหลายชื่อว่านิมิตของศรัทธา. ก็อาหารคืออะไร? ก็อาหารตามบาลีนี้ว่า พึงเป็นคำที่ควรกล่าวว่า การฟังพระสัทธรรมย่อมมีด้วยศรัทธา ชื่อว่าอาหารของศรัทธานั้น. บาลีนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุจักเป็นผู้มากด้วยความเบื่อหน่ายในรูปอยู่อันใด ธรรมนี้ชื่อว่าเป็นธรรมสมควรแก่ภิกษุผู้บวชด้วยศรัทธา นี้ชื่อว่าอนุธรรม ธรรมสมควรแก่ภิกษุนั้น ก็ความที่ศรัทธานั้นมีกิจมากอย่าง โดยภาวะที่จะเห็นสมด้วยห่อข้าวที่มัดรวม กันไว้เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศไว้แล้วในพระสูตรทั้งหลาย มีอาทิว่า ศรัทธาย่อมรวบรวมไว้ซึ่งเสบียง สิริเป็นที่มานอนของโภคทรัพย์ทั้งหลาย ศรัทธาเป็นเพื่อนสองของบุรุษ บุคคลย่อมข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา ฝนคือตปะย่อมทำพืช คือศรัทธาให้งอกงาม. พระยาช้างคือพระอรหันต์ มีศรัทธาเป็นงวง มีอุเบกขาเป็นงาอันสะอาด แต่ในนคโรปมสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงศรัทธานี้ให้เป็นเสมือนเสาระเนียด เพราะตั้งอยู่ด้วยดี ไม่หวั่นไหว. พึงกระทำการเป็นเครื่องประกอบใหม่ทุกบทโดยนัย มีอาทิว่า บทว่า สทฺเธสิโก ความว่า พระอริยสาวกกระทำศรัทธาให้เป็นดุจเสาระเนียดย่อมละอกุศลได้.

อีกอย่างหนึ่ง ในพระสูตรนี้ สังวร คือความสำรวมในทวารทั้ง ๓ ย่อมสำเร็จผลด้วยหิริและโอตตัปปะ สังวร คือความสำรวมนั้น

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 235

จึงจัดเป็นปาริสุทธิศีล ๔. ดังนั้นในพระสูตรนี้ พึงทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงใส่พระอรหัตเข้าไว้ในฐานะ ๑๑ แล้ว ทรงถือเอาเป็นยอดแห่งเทศนา.

จบ อรรถกถานคโรปมสูตรที่ ๓