พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. สักกัจจสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  2 พ.ย. 2564
หมายเลข  39542
อ่าน  380

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 247

วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

มหาวรรคที่ ๒

๖. สักกัจจสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 247

๖. สักกัจจสูตร

[๖๗] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรหลีกออกเร้นอยู่ในที่ลับ เกิดความปริวิตกแห่งใจอย่างนี้ว่า ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยอะไรอยู่หนอ จะพึงละอกุศล เจริญกุศล ลำดับนั้น ท่านคิดเห็นดังนี้ว่า ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยพระศาสดาอยู่แล จะพึงละอกุศล เจริญกุศล ภิกษุ สักการะ เคารพ อาศัยธรรม... อาศัยสงฆ์... อาศัยสิกขา... อาศัยสมาธิ... อาศัยความไม่ประมาท... อาศัยปฏิสันถารอยู่แล... จะพึงละอกุศล เจริญกุศล ท่านคิดเห็นอีกว่าธรรมเหล่านี้ของเราบริสุทธิ์ผุดผ่อง ผิฉะนั้น เราพึงไปกราบทูลธรรมเหล่านี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ธรรมเหล่านี้ของเราจักบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น ด้วยอาการอย่างนี้ เปรียบเหมือนบุคคลได้ทองคำแท่งอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า ทองคำแท่งของเรานี้บริสุทธิ์ผุดผ่อง ผิฉะนั้น เราพึงนำเอาทองคำแท่งนี้ไปแสดงแก่นายช่างทอง ทองคำแท่งของเรานี้ไปถึงนายช่างทองเข้า จักบริสุทธิ์และจักนับว่าบริสุทธิ์ยิ่งขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ ฉะนั้น.

ลำดับนั้นเป็นเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่เร้น เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์หลีกออกเร้นอยู่ในที่ลับเกิดความปริวิตกแห่งใจอย่างนี้ว่า ภิกษุสักการะ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 248

เคารพ อาศัยอะไรอยู่หนอ จะพึงละอกุศล เจริญกุศล ลำดับนั้น ข้าพระองค์ได้คิดเห็นดังนี้ว่า ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยพระศาสดาอยู่แล จะพึงละอกุศล เจริญกุศล ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยธรรม... อาศัยสงฆ์... อาศัยสิกขา... อาศัยสมาธิ... อาศัยความไม่ประมาท... อาศัยปฏิสันถารอยู่แล จะพึงละอกุศล เจริญกุศล ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้คิดเห็นดังนี้อีกว่า ธรรมเหล่านี้ของเราบริสุทธิ์และจักบริสุทธิ์ยิ่งขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ เปรียบเหมือนบุคคลได้ทองคำแท่งอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า ทองคำแท่งของเรานี้บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ผิฉะนั้น เราพึงนำเอาทองคำแท่งนี้ไปแสดงแก่นายช่างทอง ทองคำแท่งของเรานี้ไปถึงนายช่างทองเข้า จักบริสุทธิ์และนับว่าบริสุทธิ์ยิ่งขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ ฉะนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร ดีละ ดีละ ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยพระศาสดาอยู่แล จะพึงละอกุศล เจริญกุศล ดูก่อนสารีบุตร ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยธรรม... อาศัยสิกขา... อาศัยสงฆ์... อาศัยสมาธิ... อาศัยความไม่ประมาท... อาศัยปฏิสันถารอยู่แล จะพึงละอกุศล เจริญกุศล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยย่อนี้ โดยพิสดารอย่างนี้ว่า ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา จักเคารพในธรรม ข้อนี้

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 249

ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ชื่อว่าไม่เคารพในธรรมด้วย ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรม จักเคารพในสงฆ์ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรม ชื่อว่าไม่เคารพในสงฆ์ด้วย ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ จักเคารพในสิกขา ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ชื่อว่าไม่เคารพในสิกขาด้วย ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา จักเคารพในสมาธิ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุไม่เคารพในพระศาสนา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ชื่อว่าไม่เคารพในสมาธิด้วย ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ จักเคารพในความไม่ประมาท ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ ชื่อว่าไม่เคารพในความไม่ประมาทด้วย ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ ในความไม่ประมาท จักเคารพในปฏิสันถาร ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ ในความไม่ประมาท ชื่อว่าไม่เคารพในปฏิสันถารด้วย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุเคารพในพระศาสดา จักไม่เคารพในธรรม ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุเคารพในพระศาสดา ชื่อว่าเคารพในธรรมด้วย ภิกษุเคารพในพระศาสดา ในธรรม จักไม่เคารพในสงฆ์ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุเคารพในพระศาสดา ในธรรม ชื่อว่าเคารพในสงฆ์ด้วย ภิกษุเคารพในพระ-

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 250

ศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ จักไม่เคารพในสิกขา ข้อนี้ไม่เป็นฐานะ ที่จะมีได้ ภิกษุเคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ชื่อว่า เคารพในสิกขาด้วย ภิกษุเคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา จักไม่เคารพในสมาธิ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุเคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ชื่อว่าเคารพในสมาธิด้วย ภิกษุเคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ จักไม่เคารพในความไม่ประมาท ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุเคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ ชื่อว่าเคารพในความไม่ประมาท ภิกษุเคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ ในความไม่ประมาท ชื่อว่าเคารพในปฏิสันถารด้วย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยย่อนี้ โดยพิสดารอย่างนี้.

พ. ดูก่อนสารีบุตร ดีละ ดีละ สารีบุตร เธอรู้ทั่วเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวแล้วโดยย่อนี้ โดยพิสดารอย่างนี้ ดีแล้ว ดูก่อน สารีบุตร ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา จักเคารพในธรรม ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ชื่อว่าไม่ เคารพในธรรมด้วย ฯลฯ ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ ในความไม่ประมาท จักเคารพใน

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 251

ปฏิสันถาร ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ ในความไม่ประมาท ชื่อว่าไม่เคารพในปฏิสันถารด้วย.

ดูก่อนสารีบุตร ภิกษุเคารพในพระศาสดา จักไม่เคารพในธรรม ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุเคารพในพระศาสดา ชื่อว่าเคารพในธรรมด้วย ฯลฯ ภิกษุเคารพในพระคาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ ในความไม่ประมาท จักไม่เคารพใน ปฏิสันถาร ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุเคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ ในความไม่ประมาท ชื่อว่าเคารพในปฏิสันถารด้วย ดูก่อนสารีบุตร เธอพึงเห็นเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวแล้วโดยย่อนี้ โดยพิสดารอย่างนี้แล.

จบ สักกัจจสูตรที่ ๖

อรรถกถาสักกัจจสูตรที่ ๖

สักกัจจสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ปริสุทฺธา จ ภวิสสนฺติ ความว่า ธรรมเหล่านี้จักบริสุทธิ์ ไร้มลทิน โดยประมาณอย่างยิ่ง. อักษร ในบทว่า สกมฺมารคโต นี้ เป็นเพียงนิบาต. อธิบายว่า ถึงช่างทองแล้ว คือ ถึงเตาของช่างทองแล้ว.

จบ อรรถกถาสักกัจจสูตรที่ ๖