พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. อัคคิขันธูปมสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  2 พ.ย. 2564
หมายเลข  39544
อ่าน  542

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 260

วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

มหาวรรคที่ ๒

๘. อัคคิขันธูปมสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 260

๘. อัคคิขันธูปมสูตร

[๖๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศลชนบทพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จดำเนินไปสู่ทางไกล ได้ทอดพระเนตรเห็นไฟกองใหญ่กำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงอยู่ในที่แห่งหนึ่ง จึงเสด็จแวะจากทาง ประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ใกล้โคนไม้แห่งหนึ่ง ครั้นแล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็นไฟกองใหญ่โน้นที่กำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงอยู่หรือไม่ ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า เห็นพระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การเข้าไปนั่งกอดหรือนอนกอดกองไฟใหญ่โน้น ที่กำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงอยู่ กับการเข้าไปนั่งกอดหรือนอนกอดพระราชธิดา บุตรสาวพราหมณ์หรือบุตรสาวคฤหบดีผู้มีฝ่ามือฝ่าเท้าอ่อนนุ่ม อย่างไหนจะประเสริฐกว่ากัน.

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การที่บุคคลเข้าไปนั่งกอดหรือนอนกอดพระราชธิดา บุตรสาวพราหมณ์หรือบุตรสาวคฤหบดีผู้มีฝ่ามือฝ่าเท้าอ่อนนุ่ม นี้ประเสริฐกว่า ส่วนการที่บุคคลเข้าไปนั่งกอดหรือนอนกอดกองไฟใหญ่โน้น ที่กำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงอยู่ เป็นทุกข์.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอเตือนเธอทั้งหลาย การที่บุคคลผู้ทุศีล มีธรรมลามก มีความประพฤติ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 261

สกปรกน่ารังเกียจ ปกปิดกรรมชั่ว มิใช่สมณะแต่ปฏิญาณว่าเป็นสมณะ มิใช่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์แต่ปฏิญาณว่าประพฤติพรหมจรรย์ เน่าใน มีความกำหนัดกล้า เป็นดังหยากเยื่อ เข้าไปนั่งกอดหรือนอนกอดพระราชธิดา บุตรสาวพราหมณ์หรือบุตรสาวคฤหบดี จะประเสริฐอย่างไร การเข้าไปนั่งกอดนอนกอดกองไฟใหญ่โน้น ที่กำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงอยู่ นี้ดีกว่า ข้อนั้นเพราะการเข้าไปกอดกองไฟใหญ่นั้นเป็นเหตุ แต่ผู้นั้นเมื่อตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาติ นรก เพราะการเข้าไปกอดกองไฟใหญ่นั้นเป็นปัจจัย ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก มีความประพฤติสกปรกน่ารังเกียจ ปกปิดกรรมชั่ว มิใช่สมณะแต่ปฏิญาณว่าเป็นสมณะ มิใช่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์แต่ปฏิญาณว่าประพฤติพรหมจรรย์ เน่าใน มีความกำหนัดกล้า เป็นดังหยากเยื่อ เข้าไปนั่งกอดหรือนอนกอดพระราชธิดา บุตรสาวพราหมณ์หรือบุตรสาวคฤหบดีผู้มีฝ่ามือฝ่าเท้าอ่อนนุ่มนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหาย มิใช่ประโยชน์ เพื่อความทุกข์ตลอดกาลนานแก่เขา และผู้นั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การที่บุรุษมีกำลัง เอาเชือกหนังอันเหนียวแน่นพันแข้งทั้งสองข้างแล้วชักไปมา เชือกหนังพึงบาดผิว บาดผิวแล้วพึงบาดหนัง บาดหนังแล้วพึงบาดเนื้อ บาดเนื้อแล้วพึงตัดเส้นเอ็น ตัดเส้นเอ็นแล้วพึงตัดกระดูก ตัดกระดูกแล้วหยุดอยู่จดเยื่อในกระดูก กับการยินดีการกราบไหว้

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 262

แห่งกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาลหรือคฤหบดีมหาศาล ไหนจะดีกว่ากัน.

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การยินดีการกราบไหว้แห่งกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาลหรือคฤหบดีมหาศาล นี้ดีกว่า การที่บุรุษผู้มีกำลังเอาเชือกหนังอันเหนียวแน่นพันแข้งทั้งสองข้างแล้วชักไปชักมา เชือกหนังพึงบาดผิว ฯลฯ หยุดอยู่จดเยื่อใน กระดูก นี้เป็นทุกข์.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอเตือนเธอทั้งหลาย การที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ ยินดีการกราบไหว้แห่งกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาลหรือคฤหบดีมหาศาล จะดีอย่างไร การที่บุรุษมีกำลังเอาเชือกหนังอันเหนียวแน่นพันแข้งทั้งสองข้างแล้วชักไปชักมา เชือกหนังพึงบาดผิว ฯลฯ หยุดอยู่จดเยื่อในกระดูกนั้นดีกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาจะพึงถึงความตายหรือทุกข์ปางตายมีข้อนั้นเป็นเหตุ แต่ผู้นั้นเมื่อตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ ยินดีกราบไหว้แห่งกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาลหรือคฤหบดีมหาศาลนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหาย มิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนานแก่บุคคลผู้ทุศีลนั้น และบุคคลผู้ทุศีลนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การที่บุรุษที่มีกำลัง เอาหอกอันคมชะโลมน้ำมันพุ่งใส่กลางอก กับการยินดีอัญชลีกรรม

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 263

ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาลหรือคฤหบดีมหาศาล ไหนจะดีกว่ากัน.

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การยินดีอัญชลีกรรมของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาลหรือคฤหบดีมหาศาล นี้ดีกว่า ส่วนการที่บุรุษมีกำลัง เอาหอกอันคมชะโลมน้ำมันพุ่งใส่กลางอก นี้เป็นทุกข์.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอเตือนเธอทั้งหลาย การที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ ยินดีอัญชลีกรรมของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล จะดีอย่างไร การที่บุรุษมีกำลัง เอาหอกอันคมชะโลมน้ำมันพุ่งใส่กลางอกนั้นดีกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาจะพึงถึงความตายหรือทุกข์ปางตายมีข้อนั้นเป็นเหตุ แต่ผู้นั้นเมื่อตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ ยินดีอัญชลีกรรมของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาลหรือคฤหบดีมหาศาลนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหาย มิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนานแก่บุคคลผู้ทุศีลนั้น และบุคคลผู้ทุศีลนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การที่บุรุษมีกำลัง เอาแผ่นเหล็กแดงไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงนาบกายตัว กับการบริโภค จีวรที่เขาถวายด้วยศรัทธาของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาลหรือคฤหบดีมหาศาล ไหนจะดีกว่ากัน.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 264

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การบริโภคจีวรที่เขาถวายด้วยศรัทธาของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาลหรือคฤหบดีมหาศาล นี้ดีกว่า การที่บุรุษมีกำลัง เอาแผ่นเหล็กแดงไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงนาบกายตัว นี้เป็นทุกข์.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอเตือนเธอทั้งหลาย การที่บุคคลนั้นทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ บริโภคจีวรที่เขาถวายด้วยศรัทธาของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาลหรือคฤหบดีมหาศาล จะดีอย่างไร การที่บุรุษมีกำลัง เอาแผ่นเหล็กแดงไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงนาบกายตัว นี้ดีกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาจะพึงถึงความตายหรือทุกข์ปางตายมีข้อนั้นเป็นเหตุ แต่เขาเมื่อตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ บริโภคจีวรที่เขาถวายด้วยศรัทธาของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาลหรือคฤหบดีมหาศาลนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนานแก่บุคคลผู้ทุศีลนั้น และบุคคลผู้ทุศีลนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การที่บุรุษมีกำลังเอาขอเหล็กแดงไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงเกี่ยวปากอ้าไว้ แล้วกรอกก้อนเหล็กแดงไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงเข้าในปาก ก้อนเหล็กแดงนั้นจะพึงไหม้ริมฝีปาก ไหม้ปาก ไหม้ลิ้น ไหม้คอ ไหม้อก ไหม้เรื่อยไปถึงไส้ใหญ่ไส้น้อย แล้วออกทางทวารเบื้องต่ำ กับการบริโภคบิณฑบาตที่เขาถวายด้วยศรัทธาของ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 265

กษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาลหรือคฤหบดีมหาศาล ไหนจะดีกว่ากัน.

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การบริโภคบิณฑบาตที่เขาถวายด้วยศรัทธาของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาลหรือคฤหบดีมหาศาล นี้ดีกว่า การที่บุรุษมีกำลัง เอาขอเหล็กแดงไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงเกี่ยวปากอ้าไว้ แล้วกรอกก้อนเหล็กแดงไฟกำลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงเข้าในปาก ก้อนเหล็กแดงนั้นจะพึงไหม้ริมฝีปาก... แล้วออกทางทวารเบื้องต่ำ นี้เป็นทุกข์.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอเตือนเธอทั้งหลาย การที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ บริโภคบิณฑบาตที่เขาถวายด้วยศรัทธาของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาลหรือคฤหบดีมหาศาล จะดีอย่างไร การที่บุรุษมีกำลัง เอาขอเหล็กแดงไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงเกี่ยวปากอ้าไว้ แล้วกรอกก้อนเหล็กแดงไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงเข้าในปาก ก้อนเหล็กแดงนั้นจะพึงไหม้ริมฝีปาก... แล้วออกทางทวารเบื้องต่ำ นี้ดีกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้นั้นพึงถึงความตายหรือทุกข์ปางตายมีข้อนั้นเป็นเหตุ แต่ผู้นั้นเมื่อตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ บริโภคบิณฑบาตที่เขาถวายด้วยศรัทธาของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาลหรือคฤหบดีมหาศาลนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหาย มิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนานแก่บุคคลผู้ทุศีลนั้น และบุคคลผู้ทุศีลนั้นเมื่อตายไป

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 266

ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การที่บุรุษมีกำลัง จับที่ศีรษะหรือที่คอแล้วให้นั่งทับนอนทับบนเตียงเหล็กหรือตั่งเหล็กแดงไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง กับการบริโภคเตียงตั่งที่เขาถวายด้วยศรัทธาของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาลหรือคฤหบดีมหาศาล ไหนจะดีกว่ากัน.

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การบริโภคเตียงตั่งที่เขาถวายด้วยศรัทธาของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาลหรือคฤหบดีมหาศาล นี้ดีกว่า การที่บุรุษมีกำลัง จับที่ศีรษะหรือที่คอแล้วให้นั่งทับหรือนอนทับเตียงหรือตั่งเหล็กแดงไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์ โชติช่วง นี้เป็นทุกข์.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอเตือนเธอทั้งหลาย การที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ บริโภคเตียงตั่งที่เขาถวายด้วยศรัทธาของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาลหรือคฤหบดีมหาศาล จะดีอย่างไร การที่บุรุษ ผู้มีกำลัง จับที่ศีรษะหรือที่คอแล้วให้นั่งทับหรือนอนทับเตียงหรือตั่งเหล็กแดงไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง นั้นดีกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้นั้นจะพึงเข้าถึงความตายหรือทุกข์ปางตายมีข้อนั้นเป็นเหตุ แต่ผู้นั้นเมื่อตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ บริโภคเตียงตั่งที่เขาถวายด้วยศรัทธาของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาลหรือคฤหบดีมหาศาลนั้น ย่อม

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 267

เป็นไปเพื่อความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนานแก่บุคคลผู้ทุศีลนั้น และบุคคลผู้ทุศีลนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การที่บุรุษมีกำลัง จับมัดเอาเท้าขึ้นเอาหัวลง โยนลงในหม้อเหล็กแดงไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง ผู้นั้นถูกไฟเผาเดือดดุจฟองน้ำในหม้อเหล็กแดงนั้น บางครั้งลอยขึ้นข้างบน บางครั้งจมลงข้างล่าง บางครั้งลอยไปขวางๆ กับการบริโภควิหารที่เขาถวายด้วยศรัทธาของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาลหรือคฤหบดีมหาศาล ไหนจะดีกว่ากัน.

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การบริโภควิหารที่เขาถวายด้วยศรัทธาของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาลหรือคฤหบดีมหาศาล นี้ดีกว่า การที่บุรุษมีกำลัง จับมัดเอาเท้าขึ้นเอาหัวลง โยนลงในหม้อเหล็กแดงไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง ผู้นั้นถูกไฟเผาเดือดดุจฟองน้ำในหม้อเหล็กแดงนั้น บางครั้งลอยขึ้นข้างบน บางครั้งจมลงข้างล่าง บางครั้งลอยไปขวางๆ นี้เป็นทุกข์.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอเตือนเธอทั้งหลาย การที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ บริโภควิหารที่เขาถวายด้วยศรัทธา การที่บุรุษมีกำลัง จับเอาเท้าขึ้นเอาหัวลง โยนลงในหม้อเหล็กแดงไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์ โชติช่วง ถูกไฟเผาเดือดดุจฟองน้ำในหม้อเหล็กแดงนั้น บางครั้งลอยขึ้นข้างบน บางครั้งจมลงข้างล่าง บางครั้งลอยไปขวางๆ นี้ดีกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้นั้นพึงเข้าถึงความตายหรือ

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 268

ทุกข์ปางตายมีข้อนั้นเป็นเหตุ แต่ผู้นั้นเมื่อตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ บริโภควิหารที่เขาถวายด้วยศรัทธาของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาลหรือคฤหบดีมหาศาลนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน แก่บุคคลผูทุศีลนั้น และบุคคลผู้ทุศีลนั้นเมื่อตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายบริโภคจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัย เภสัชบริขาร ของชนเหล่าใด ปัจจัยของชนเหล่านั้นจักมีผลมาก มีอานิสงส์มาก และการบรรพชาของเราทั้งหลายจักไม่เป็นหมัน มีผล มีกำไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล อนึ่ง เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อพิจารณาเห็นประโยชน์ตน ควรแท้ทีเดียวที่จะให้ประโยชน์นั้นสำเร็จด้วยความไม่ประมาท เมื่อพิจารณาเห็นประโยชน์ผู้อื่น ก็ควรแท้ทีเดียวที่จะให้ประโยชน์นั้นสำเร็จด้วยความไม่ประมาท หรือเมื่อพิจารณาเห็นประโยชน์ทั้งสอง ก็ควรแท้ทีเดียวที่จะให้ประโยชน์ทั้งสองนั้นสำเร็จด้วยความไม่ประมาท.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว และเมื่อกำลังตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ โลหิตร้อนพุงออกจากปากของภิกษุ ๖๐ รูป (พวกต้น) ภิกษุ ๖๐ รูป (พวกกลาง) ลาสิกขา

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 269

สึกมาเป็นคฤหัสถ์ ด้วยกราบทูลพระผุ้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทำได้ยาก ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทำได้แสนยาก อีก ๖๐ รูป จิตหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น.

จบ อัคคิขันธูปสูตรที่ ๘

อรรถกถาอัคคิขันโธปม (๑) สูตรที่ ๘

อัคคิกขันโธปมพระสูตรที่ ๘ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วในเหตุเกิดแห่งเรื่อง ก็การเกิดขึ้นแห่งเรื่อง ก็การแสดงขึ้นแห่งเรื่อง แห่งพระสูตรนี้ กล่าวไว้แล้วโดยพิสดาร ในจูฬัจฉราสังฆาตสูตรในหนหลังนั่นแหละ.

บทว่า ปสฺสถ โน ตัดบทเป็น ปสฺสถ นุ แปลว่า เธอทั้งหลายเห็นหรือหนอ.

บทว่า อาลิงฺคิตฺวา แปลว่า สวมกอด.

บทว่า อุปนิสีเทยฺย แปลว่า พึงเข้าไปนั่งใกล้.

บทว่า อาโรจยามิ แปลว่า เราจะบอก.

บทว่า ปฏิเวทยามิ ความว่า เราจะกล่าวประกาศเตือนให้ทราบ.

บทว่า วาลรชฺชุยา ความว่า ด้วยเชือกอันบุคคลฟั่นแล้วด้วยขนหางม้าและขนหางโค.

บทว่า ปจฺโจรสฺมิํ ได้แก่ ที่กลางอก.

บทว่า เผณุทฺเททกํ ความว่า ยังฟอง


๑. ปาลิ. ว่า อัคคิขันธูปม.....

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 270

ให้ผุดขึ้น อธิบายว่าให้ตั้งขึ้น.

บทว่า อตฺตตฺถํ ได้แก่ ประโยชน์อันเป็นโลกิยะและโลกุตตระ ทั้งที่เป็นไปในภพนี้และภพหน้า. แม้ในประโยชน์ผู้อื่นและประโยชน์ทั้งสองก็นัยนี้เหมือนกัน.

คำที่เหลือในพระสูตรนี้ ที่ควรกล่าวทั้งหมดได้กล่าวไว้แล้วในเหตุเกิดแห่งเรื่องของจูฬัจฉราสังฆาตสูตรนั่นแล. ก็แล พระศาสดาครั้นตรัสสูตรนี้แล้ว จึงตรัสจูฬัจฉราสังฆาตสูตร.

จบ อรรถกถาอัคคิกขันโธปมสูตรที่ ๘