พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. อรกานุสาสนีสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  2 พ.ย. 2564
หมายเลข  39546
อ่าน  449

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 273

วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

มหาวรรคที่ ๒

๑๐. อรกานุสาสนีสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 273

๑๐. อรกานุสาสนีสูตร

[๗๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ศาสดาชื่ออรกะเป็นเจ้าลัทธิ ปราศจากความกำหนัดในกาม ก็อรกศาสดานั้นมีสาวกหลายร้อยคน เธอแสดงธรรมแก่สาวกอย่างนี้ว่า ดูก่อนพราพมณ์ ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายน้อยนิดหน่อย รวดเร็ว มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก จะพึงถูกต้องได้ด้วยปัญญา ควรกระทำ กุศล ควรประพฤติพรหมจรรย์ เพราะสัตว์ที่เกิดมาแล้วจะไม่ตายไม่มี

ดูก่อนพราหมณ์ หยาดน้ำค้างบนยอดหญ้า เมื่ออาทิตย์ขึ้นมาย่อมแห้งหายไปได้เร็ว ไม่ตั้งอยู่นาน แม้ฉันใด ชีวิตมนุษย์ทั้งหลายเปรียบเหมือนหยาดน้ำค้าง ฉันนั้นเหมือนกัน นิดหน่อย รวดเร็ว ทุกข์ยาก มีความคับแค้นมาก จะพึงถูกต้องได้ด้วยปัญญา ควรกระทำกุศล ควรประพฤติพรหมจรรย์ เพราะสัตว์ที่เกิดแล้วจะไม่ตายไม่มี.

ดูก่อนพราหมณ์ เมื่อฝนตกหนัก หนาเม็ด ฟองน้ำย่อมแตกเร็ว ตั้งอยู่ไม่นาน แม้ฉันใด ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายเปรียบเหมือนฟองน้ำ ฉันนั้นเหมือนกัน นิดหน่อย รวดเร็ว มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก จะพึงถูกต้องได้ด้วยปัญญา ควรกระทำกุศล ควรประพฤติพรหมจรรย์ เพราะสัตว์ที่เกิดมาแล้วจะไม่ตายไม่มี.

ดูก่อนพราหมณ์ รอยไม้ที่ขีดลงไปในน้ำย่อมกลับเข้าหากันเร็ว ไม่ตั้งอยู่นาน แม้ฉันใด ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายเปรียบเหมือนรอยไม้ที่ขีดลงไปในน้ำ ฉันนั้นเหมือนกัน.....

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 274

ดูก่อนพราหมณ์ แม่น้ำไหลลงจากภูเขา ไหลไปไกล กระแสเชี่ยวพัดไปซึ่งสิ่งที่พอจะพัดไปได้ ไม่มีระยะเวลาหรือชั่วครู่ที่มันจะหยุด แต่ที่แท้แม่น้ำนั้นมีแต่ไหลเรื่อยไปถ่ายเดียว แม้ฉันใด ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายเปรียบเหมือนแม่น้ำที่ไหลลงจากภูเขา ฉันนั้นเหมือนกัน....

ดูก่อนพราหมณ์ บุรุษมีกำลัง อมก้อนเขฬะไว้ที่ปลายลิ้นแล้วพึงถ่มไปโดยง่ายดาย แม้ฉันใด ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายเปรียบเหมือนก้อนเขฬะ ฉันนั้นเหมือนกัน....

ดูก่อนพราหมณ์ ชิ้นเนื้อที่ใส่ไว้ในกะทะเหล็ก ไฟเผาตลอดทั้งวัน ย่อมจะย่อยยับไปรวดเร็ว ไม่ตั้งอยู่นาน แม้ฉันใด ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายเปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ ฉันนั้นเหมือน....

ดูก่อนพราหมณ์ แม่โคที่จะถูกเชือด ที่เขานำไปสู่ที่ฆ่า ย่อมก้าวเท้าเดินไปใกล้ที่ฆ่า ใกล้ความตาย แม้ฉันใด ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายเปรียบเหมือนแม่โคที่จะถูกเชือด ฉันนั้นเหมือนกัน นิดหน่อย รวดเร็ว มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก จะพึงถูกต้องได้ด้วยปัญญา ควรกระทำกุศล ควรประพฤติพรหมจรรย์ เพราะสัตว์ที่เกิดมาแล้วจะไม่ตายไม่มี.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็โดยสมัยนั้น มนุษย์ทั้งหลายมีอายุประมาณ ๖๐,๐๐๐ ปี เด็กหญิงมีอายุ ๕๐๐ ปีจึงควรแก่การมีสามี ก็โดยสมัยนั้น มนุษย์ทั้งหลายมีอาพาธ ๖ อย่างเท่านั้น คือ เย็น ร้อน หิว กระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อรกศาสดานั้น เมื่อมนุษย์ทั้งหลายมีอายุยืนตั้งอยู่นาน มีอาพาธน้อย

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 275

อย่างนี้ จักแสดงธรรมให้สาวกฟังอย่างนี้ว่า ดูก่อนพราหมณ์ ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายน้อย นิดหน่อย รวดเร็ว มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก จะพึงถูกต้องได้ด้วยปัญญา ควรกระทำกุศล ควรประพฤติพรหมจรรย์ เพราะสัตว์ที่เกิดมาแล้วจะไม่ตายไม่มี.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในปัจจุบันนี้ เมื่อจะกล่าวโดยชอบก็พึงกล่าวว่า ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายน้อย นิดหน่อย รวดเร็ว มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก จะพึงถูกต้องได้ด้วยปัญญา ควรกระทำกุศล ควรประพฤติพรหมจรรย์ เพราะสัตว์เกิดมาแล้วจะไม่ตายไม่มี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในปัจจุบันนี้ คนที่มีอายุอยู่ได้นานก็เพียงร้อยปีหรือน้อยกว่านั้นบ้าง เกินกว่าบ้าง ก็คนที่มีอายุอยู่ถึงร้อยปีย่อมอยู่ครบ ๓๐๐ ฤดู คือ ฤดูหนาว ๑๐๐ ฤดูร้อน ๑๐๐ ฤดูฝน ๑๐๐ คนที่มีอายุอยู่ถึง ๓๐๐ ฤดูย่อมอยู่ครบ ๑,๒๐๐ เดือน คือ ฤดูหนาว ๔๐๐ เดือน ฤดูร้อน ๔๐๐ เดือน ฤดูฝน ๔๐๐ เดือน คนที่มีอายุอยู่ถึง ๑,๒๐๐ เดือนย่อมอยู่ครบ ๒,๔๐๐ กึ่งเดือน คือ ฤดูหนาว ๘๐๐ กึ่งเดือน ฤดูร้อน ๘๐๐ กึ่งเดือน ฤดูฝน ๘๐๐ กึ่งเดือน คนที่มีอายุอยู่ครบ ๒,๔๐๐ กึ่งเดือนย่อมอยู่ครบ ๓๖,๐๐๐ ราตรี คือ ฤดูหนาว ๑,๒๐๐ ราตรี ฤดูร้อน ๑,๒๐๐ ราตรี ฤดูฝน ๑,๒๐๐ ราตรี คนที่มีอายุอยู่ถึง ๓๖,๐๐๐ ราตรีย่อมบริโภคอาหาร ๗๒,๐๐๐ เวลา คือ ฤดูหนาว ๒๔,๐๐๐ เวลา ฤดูร้อน ๒๔,๐๐๐ ฤดูฝน ๒๔,๐๐๐ เวลา พร้อมๆ กับดื่มนมมารดาและอันตรายแห่งการบริโภคอาหารใน ๒ ประการนั้น อันตรายแห่งการบริโภคอาหารมีดังนี้ คือ คนโกรธย่อมไม่บริโภคอาหาร คนมีทุกข์ก็

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 276

ไม่บริโภคอาหาร คนป่วยไข้ก็ไม่บริโภคอาหาร คนรักษาอุโบสถก็ไม่บริโภคอาหาร เพราะไม่ได้อาหารจึงไม่บริโภคอาหาร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราได้กำหนดอายุ ประมาณแห่งอายุ ฤดู ปี เดือน กึ่งเดือน ราตรี วัน การบริโภคอาหาร และอันตรายแห่งการบริโภคอาหารของมนุษย์ผู้มีอายุร้อยปีด้วยประการดังนี้แล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กิจใดที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์เอื้อเอ็นดู พึงกระทำแก่สาวก กิจนั้นเรากระทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง ขอเธอทั้งหลายจงเพ่งพินิจ อย่าประมาท อย่าต้องเป็นผู้เดือดร้อนใจในภายหลังเลย นี้คืออนุศาสนีของเราสำหรับเธอทั้งหลาย.

จบ อรกานุสาสนีสูตรที่ ๑๐

อรรถกถาอรกานุสาสนีสูตรที่ ๑๐

อรกานุสาสนีสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ปริตฺตํ ความว่า น้อย คือ น้อยหนึ่ง. จริงอยู่ ชีวิตนั้นชื่อว่ามีอยู่นิดหน่อยเท่านั้น เพราะมีกิจหน้าที่นิดหน่อยบ้าง เพราะมีชั่วขณะนิดหน่อยบ้าง เพราะดำรงชั่วขณะนิดหน่อยบ้าง. ชีวิตนั้นชื่อว่าลหุกะ เพราะเกิดเร็วดับเร็ว.

บทว่า มนฺตาย โผฏฺพฺพํ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 277

ความว่า พึงถูกต้องด้วยความรู้ อธิบายว่า พึงรู้ด้วยปัญญา.

บทว่า ปพฺพเตยฺยา ได้แก่ อันเกิดจากภูเขา.

บทว่า หารหารินี ความว่า สามารถจะพัดพาสิ่งที่จะพึงพัดพาไปได้ เช่นต้นไม้ ต้นอ้อ และไม้ไผ่เป็นต้น.

คำที่เหลือในบททั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล.

จบ อรรถกถาอรกานุสาสนีสูตรที่ ๑๐

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. หิริสูตร ๒. สุริยสูตร ๓. นครสูตร ๔. ธัมมัญญูสูตร ๕. ปาริฉัตตกสูตร ๖. สักกัจจสูตร ๗. ภาวนาสูตร ๘. อัคคิขันธูปมสูตร ๙. สุเนตตอนุสาสนีสูตร ๑๐. อรกานุสาสนีสูตร และ อรรถกถา.

จบ มหาวรรคที่ ๒