พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. ปฐมอัปปิยสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  2 พ.ย. 2564
หมายเลข  39558
อ่าน  341

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 304

ปัณณาสก์

เมตตาวรรคที่ ๑

๓. ปฐมอัปปิยสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 304

๓. ปฐมอัปปิยสูตร

[๙๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่สรรเสริญของเพื่อนพรหมจรรย์ ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้สรรเสริญผู้ไม่เป็นที่รัก ๑ ติเตียนผู้เป็นที่รัก ๑ มุ่งลาภ ๑ มุ่งสักการะ ๑ ไม่มีความละอาย ๑ ไม่มีความเกรงกลัว ๑ มีความปรารถนาลามก ๑ มีความเห็นผิด ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่สรรเสริญของเพื่อนพรหมจรรย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่สรรเสริญของเพื่อนพรหมจรรย์ ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่สรรเสริญผู้ที่ไม่เป็นที่รัก ๑ ไม่ติเตียนผู้ไม่เป็นที่รัก ๑ ไม่มุ่งลาภ ๑ ไม่มุ่งสักการะ ๑ มีความละอาย ๑ มีความเกรงกลัว ๑ มักน้อย ๑ มีความเห็นชอบ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่สรรเสริญของเพื่อนพรหมจรรย์.

จบ ปฐมอัปปิยสูตรที่ ๓

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 305

อรรถกถาปฐมอัปปิยสูตรที่ ๓

ปฐมอัปปิยสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อปฺปิยปสํสี แปลว่า เป็นผู้สรรเสริญ คือ กล่าวชมคนที่ไม่เป็นที่รัก.

บทว่า ปิยครหี ได้แก่ นินทา คือ ติเตียนคนที่เป็นที่รัก.

จบ อรรถกถาปฐมอัปปิยสูตรที่ ๓