พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. เทวทัตตสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  2 พ.ย. 2564
หมายเลข  39562
อ่าน  500

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 314

ปัณณาสก์

เมตตาวรรคที่ ๑

๗. เทวทัตตสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 314

๗. เทวทัตตสูตร

[๙๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ภูเขาคิขฌกูฏใกล้กรุงราชคฤห์ เมื่อพระเทวทัตหลีกไปแล้วไม่นานนัก ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภถึงพระเทวทัต ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เป็นความดีแล้ว ที่ภิกษุ พิจารณาความวิบัติของตนโดยกาลอันควร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เป็นความดีแล้ว ที่ภิกษุพิจารณาความวิบัติของผู้อื่นโดยกาลอันควร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เป็นความดีแล้ว ที่ภิกษุพิจารณาถึงสมบัติของตนโดยกาลอันควร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เป็นความดีแล้ว ที่ภิกษุพิจารณาถึงสมบัติของผู้อื่นโดยกาลอันควร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระเทวทัตมีจิตอันอสัทธรรม ๘ ประการครอบงำย่ำยีแล้ว ต้องไปบังเกิดในอบาย ในนรก อยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้ อสัทธรรม ๘ ประการเป็นไฉน คือ ลาภ ๑ ความเสื่อมลาภ ๑ ยศ ๑ ความเสื่อมยศ ๑ สักการะ ๑ ความเสื่อมสักการะ ๑ ความปรารถนาลามก ๑ ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระเทวทัตมีจิตอันอสัทธรรม ๘ ประการนี้แลครอบงำย่ำยีแล้ว ต้องไปบังเกิดในอบาย ในนรก อยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เป็นความดีแล้วที่ภิกษุควรครอบงำย่ำยีลาภที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นความดีแล้วที่ภิกษุควรครอบงำย่ำยีความเสื่อมลาภ... ยศ... ความเสื่อมยศ... สักการะ... ความเสื่อมสักการะ... ความเป็นผู้ปรารถนาลามก... ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 315

ที่เกิดขึ้นแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร จึงควรครอบงำย่ำยีลาภที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ ภิกษุอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร จึงควรครอบงำย่ำยีความเป็นผู้มีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะว่าเมื่อภิกษุไม่ครอบงำย่ำยีลาภที่เกิดแล้ว อาสวะที่ทำให้เกิดความคับแค้นเดือดร้อน พึงเกิดขึ้น เมื่อภิกษุครอบงำย่ำยีลาภที่เกิดขึ้นแล้ว อาสวะที่ทำให้เกิดความคับแค้นเดือดร้อนเหล่านั้น ย่อมไม่เกิด... เพราะว่าเมื่อภิกษุไม่ครอบงำย่ำยีความเป็นผู้มีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นแล้ว อาสวะที่ทำให้เกิดความคับแค้นเดือดร้อน พึงเกิดขึ้น เมื่อภิกษุครอบงำย่ำยีความเป็นผู้มีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นแล้ว อาสวะที่ทำให้เกิดความคับแค้นเดือดร้อนเหล่านั้น ย่อมไม่เกิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล จึงควรครอบงำย่ำยีลาภที่เกิดข้นแล้ว... จึงควรครอบงำย่ำยีความเป็นผู้มีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักครอบงำย่ำยีลาภที่เกิดขึ้นแล้ว... จักครอบงำย่ำยีความเป็นผู้มีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล.

จบ เทวทัตตสูตรที่ ๗

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 316

อรรถกถาเทวทัตตสูตรที่ ๗

เทวทัตตสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อจิรปกฺกนฺเต ได้แก่ เมื่อพระเทวทัตทำลายสงฆ์แล้ว ออกไปไม่นาน.

บทว่า อารพฺภ ได้แก่ อาศัย เจาะจง มุ่งหมาย.

บทว่า อตฺตวิปตฺติํ ได้แก่ ความวิบัติ คือ อาการอันวิบัติของตน. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า อภิภุยฺย ได้แก่ ครอบงำย่ำยี.

จบ อรรถกถาเทวทัตตสูตรที่ ๗