พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. อาชัญญสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  2 พ.ย. 2564
หมายเลข  39569
อ่าน  368

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 384

ปัณณาสก์

มหาวรรคที่ ๒

๓. อาชัญญสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 384

๓. อาชัญญสูตร

[๑๐๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยตัวประเสริฐ ของพระราชา ประกอบด้วยองค์สมบัติ ๘ ประการ สมควรเป็น ม้าต้นม้าทรง ย่อมถึงการนับว่าเป็นราชพาหนะได้ทีเดียว องค์ สมบัติ ๘ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนย ตัวประเสริฐของพระราชาในโลกนี้ ย่อมมีกำเนิดดีทั้ง ๒ ฝ่าย คือฝ่ายมารดาและบิดา เกิดในทิศที่ม้าอาชาไนยตัวอื่นเกิดกัน ๑ ย่อมบริโภคของกินที่เขาให้สดหรือแห้งก็ตาม เรียบร้อย ไม่เรี่ยราด ๑ ย่อมรังเกียจที่จะนั่งหรือนอนทับอุจจาระปัสสาวะ ๑ เป็นสัตว์ยินดี มีการอยู่ร่วมเป็นสุข ไม่รบกวนม้าเหล่าอื่น ๑ เป็นสัตว์เผยความ โอ้อวดความพยศคดโกงแก่นายสารถีอย่างเปิดเผย ๑ นายสารถี พยายามปราบความพยศคดโกงเหล่านั้นของมันได้ ๑ เป็นสัตว์ ลากเข็นภาระ เกิดความคิดว่าม้าอื่นจะเข็นภาระได้หรือไม่ก็ตาม สำหรับภาระนี้เราเข็นได้ อนึ่ง เมื่อเดินก็เดินตรงตามทาง ๑ เป็น สัตว์มีกำลังวังชา คือ ทรงกำลังไว้อยู่จนถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิต ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยตัวประเสริฐของพระราชา ประกอบด้วยองค์สมบัติ ๘ ประการนี้แล สมควรเป็นม้าต้นม้าทรง ถึงการนับว่าเป็นพระราชพาหนะได้ดีทีเดียว

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุประกอบด้วย ธรรม ๘ ประการ ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 385

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีลสำรวมระวังในปาติโมกข์ ถึงพร้อม ด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทาน ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ๑ ฉันโภชนะที่เขาถวายเศร้าหมอง หรือประณีตก็ตาม โดยเคารพไม่รังเกียจ ๑ เกลียดแต่กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต และการถึงพร้อมด้วยธรรมอันเป็นบาป อกุศล ๑ เธอยินดีอยู่ มีการอยู่ร่วมเป็นสุข ไม่รบกวนภิกษุเหล่าอื่น ให้เดือดร้อน ๑ เปิดเผยความโอ้อวด ความพยศคดโกงตามเป็นจริง ในพระศาสดาหรือในเพื่อนพรหมจรรย์รู้แจ้ง พระศาสดาหรือ เพื่อนพรหมจรรย์ย่อมพยายามช่วย กำจัดความโอ้อวดเป็นต้น เหล่านั้นของเธอได้ ๑ อนึ่ง ย่อมเป็นผู้ศึกษาสำเหนียก คือ ใฝ่ใจ อยู่ว่า ภิกษุเหล่าอื่นจะศึกษาหรือไม่ก็ตาม ข้อนี้เราจักศึกษา เมื่อปฏิบัติย่อมปฏิบัติตามทางตรงทีเดียว ในข้อนั้นพึงทราบทางตรง ดังนี้ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ เป็นผู้ปรารภความเพียร อยู่ว่า เลือดเนื้อในร่างกายของเรา จงเหือดแห้งไป จะเหลืออยู่ แต่หนัง เอ็น กระดูก ก็ตามที เรายังไม่ได้บรรลุอิฐผลที่จะพึงบรรลุ ได้ด้วยกำลังของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่น ของบุรุษแล้ว จักไม่หยุดความเพียรเป็นอันขาด ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรของ คำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

จบ อาชัญญสูตรที่ ๓

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 386

อรรถกถาอัสสาชานียสูตรที่ ๓

อัสสาชานียสูตรที่ ๓ วินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า องฺเคหิ ได้แก่ด้วยองค์คือคุณ. บทว่า ตสฺสํ ทิสายํ ชาโต โหติ ความว่า ม้าสินธพอาชาไนยเกิดในทิศริมฝั่งแม่น้ำสินธุนั้น. ม้าอาชาไนยชั้นดี แม้เหล่าอื่น ย่อมเกิดในที่นั้นนั่นเอง. บทว่า อลฺลํ สุกฺขํ วา ได้แก่หญ้าสด หรือหญ้าแห้ง. บทว่า น จ อญฺเ อสฺเส อุพฺเพเชตา ความว่า ม้าอาชาไนยนั้น ไม่รบกวน คือไม่ กระทบกระทั่ง ไม่รังแก ไม่ทะเลาะกะม้าเหล่าอื่น.

บทว่า สาเยฺยานิ แปลว่า อวดดี. บทว่า กูเฏยฺยานิ แปลว่า โกง. บทว่า ชิมฺเหยฺยานิ แปลว่า ลวง. บทว่า วงฺเกยฺยานิ แปลว่า คด. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ม้าอาชาไนยนั้นยังไม่ได้ ศึกษาด้วยบทแม้ทั้ง ๔ ด้วยประการฉะนี้. บทว่า วาหี ได้แก่ นำภาระไปเป็นสภาวะ คือ สนองคำสั่งที่เขาไห้. บทว่า ยาว ชีวิตมรณปริยาทานา ได้แก่ จนจบชีวิตลลงด้วยมรณะ. บทว่า สกฺกจฺจํ ปริภุญฺชติ ความว่า พิจารณาโภชนะ เหมือนน้ำอมฤต แล้วจึงบริโภคด้วยตนเองนั่นแหละ. ในบทว่า ปุริสถาเมน เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสถึงกำลังคือญาณ เป็นต้น. บทว่า สณฺานํ ได้แก่ ย่อหย่อน.

จบ อรรถกถาอาชานียสูตรที่ ๓