พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. ขฬุงคสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  2 พ.ย. 2564
หมายเลข  39570
อ่าน  346

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 387

ปัณณาสก์

มหาวรรคที่ ๒

๔. ขฬุงคสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 387

๔. ขฬุงคสูตร

[๑๐๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงม้าโกง ๔ จำพวก และโทษของม้าโกง ๘ ประการ คนโกง ๘ จำพวก และโทษของ คนโกง ๘ ประการ เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ม้าโกง ๘ จำพวก และโทษของม้าโกง ๘ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ม้าโกงบางตัวในโลกนี้ ที่นายสารถีกล่าวเตือนว่า จงเดินไป ถูกแทงด้วยประตักเตือนอยู่ ย่อมถอยหลัง ดันรถให้กลับทั่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ม้าโกง บางตัวในโลกนี้ เป็นเช่นนี้ก็มี นี้เป็นโทษของม้าประการที่ ๑.

อีกประการหนึ่ง ม้าโกงบางตัวในโลกนี้ นายสารถีเตือนว่า จงเดินไป ถูกแทงด้วยประตักเตือนอยู่ ย่อมหกหลงดีธูปหัก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ม้าโกงบางตัวในโลกนี้ เป็นเช่นนี้ก็มี นี้เป็น โทษของม้าโกงประการที่ ๒.

อีกประการหนึ่ง ม้าโกงบางตัวในโลกนี้ นายสารถีเตือนว่า จงเดินไป ถูกแทงด้วยประตักเตือนอยู่ ยกขาขึ้นตะกุยงอนรถ ถีบงอนรถ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ม้าโกงบางตัวในโลกนี้ เป็นเช่นนี้ ก็มี นี้เป็นโทษของม้าโกงประการที่ ๓.

อีกประการหนึ่ง ม้าโกงบางตัวในโลกนี้ นายสารถีเตือนว่า จงเดินไป ถูกแทงด้วยประตักเดือนอยู่ ย่อมเดินผิดทาง ทำให้รถคว่ำ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ม้าโกงบางตัวในโลกนี้ เป็นเช่นนี้ก็มี นี้เป็น โทษของม้าโกงประการที่ ๔.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 388

อีกประการหนึ่ง ม้าโกงบางตัวในโลกนี้ นายสารถีเตือนว่า จงเดินไป ถูกแทงด้วยประตักเตือนอยู่ ย่อมเชิดกายด้านหน้า เผ่น ขึ้นไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ม้าโกงบางตัวในโลกนี้ เป็นเช่นนี้ก็มี นี้เป็นโทษของม้าโกงประการที่ ๕.

อีกประการหนึ่ง ม้าโกงบางตัวในโลกนี้ นายสารถีเตือนว่า จงเดินไป ถูกแทงด้วยประตักเตือนอยู่ ไม่คำนึงถึงด้ามประตัก เอาฟันกัดบังเหียน หลีกไปตามประสงค์ของมัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ม้าโกงบางตัวในโลกนี้ เป็นเช่นนี้ก็มี นี้เป็นโทษของม้าโกงประการ ที่ ๖.

อีกประการหนึ่ง ม้าโกงบางตัวในโลกนี้ นายสารถีเตือนว่า จงเดินไป ถูกแทงด้วยประตักเตือนอยู่ ไม่ยอมก้าวไปข้างหน้า ทั้งไม่ ถอยหลัง ยืนเฉยเหมือนเสาเขื่อนอยู่ตรงนั้นนั่นเอง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ม้าโกงบางตัวในโลกนี้ เป็นเช่นนี้ก็มี นี้เป็นโทษของม้าโกงประการ ที่ ๗.

อีกประการหนึ่ง ม้าโกงบางตัวในโลกนี้ นายสารถีเตือนว่า จงเดินไป ถูกแทงด้วยประตักเตือนอยู่ คุกเท้าหน้า เท้าหลัง ลงนอนทับเท้าทั้ง ๔ ที่ตรงนั้นนั่นเอง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ม้าโกง บางตัวในโลกนี้ เป็นเช่นนี้ก็มี นี้เป็นโทษของม้าโกงประการที่ ๘ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ม้าโกง ๘ จำพวก และโทษของม้าโกง ๘ ประการนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็คนโกง ๘ จำพวก และโทษของ คนโกง ๘ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 389

ภิกษุโจทก์ภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุผู้เป็นจำเลยนั้น เมื่อถูกโจทก์ด้วย อาบัติ ย่อมอำพรางอาบัติไว้ว่า ผมนึกไม่ได้ๆ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวบุคคลนี้ เปรียบเหมือนม้าโกงที่นายสารถีเตือนว่า จงเดินไป ถูกแทงด้วยประตักเตือนอยู่ ย่อมถอยหลัง ดันให้รถกลับหลัง ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนโกงบางคนในธรรมวินัยนี้ เป็นเช่นนี้ ก็มี นี้เป็นโทษของคนโกงประการที่ ๑.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุโจทก์ภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุเป็น จำเลยนั้น เมื่อถูกโจทก์ด้วยอาบัติ กลับโต้ตอบการโจทก์นั่นเองว่า จะมีประโยชน์อะไรหนอ ด้วยคำที่ท่านซึ่งเป็นคนโง่ไม่ฉลาดกล่าว ท่านเองควรสำนึกถึงคำที่ควรพูด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าว บุคคลนี้เปรียบเหมือนม้าโกงที่นายสารถีเตือนว่า จงเดินไป ถูกแทง ด้วยประตักเตือนอยู่ ย่อมหักหลัง ดีดธูปหัก ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนโกงบางคนในธรรมวินัยนี้ เป็นเช่นนี้ก็มี นี้เป็นโทษของคนโกง ประการที่ ๒.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุโจทก์ภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุผู้เป็น จำเลยนั้น เมื่อถูกโจทก์ด้วยอาบัติ กลับโจทก์ตอบแก่ภิกษุโจทก์นั่นเอง ว่า แม้ท่านก็ต้องอาบัติชื่อนี้ ท่านจงทำคืนเสียก่อน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวบุคคลนี้ เปรียบเหมือนม้าโกงที่นายสารถีเตือนว่า จงเดินไป ถูกแทงด้วยประตักเตือนอยู่ ย่อมยกขาขึ้นตะกุยงอนรถ ถีบงอนรถ ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนโกงบางคนในธรรมวินัยนี้ เป็นเช่นนี้ ก็มี นี้เป็นโทษของคนโกงประการที่ ๓.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 390

อีกประการหนึ่ง ภิกษุโจทก์ภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุเป็น จำเลยนั้น เมื่อถูกโจทก์ด้วยอาบัติ ย่อม กลบเกลื่อน พูดนอกลู่ นอกทาง แสดงความโกรธ ความขัดเคือง และความไม่ยำเกรงให้ ปรากฏ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวบุคคลนี้ เปรียบเหมือน ม้าโกงที่นายสารถีเตือนว่า จงเดินไป ถูกแทงด้วยประตักเตือนอยู่ ย่อมเดินผิดทาง ทำให้รถคว่ำ ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนโกง บางคนในธรรมวินัยนี้ เป็นเช่นนี้ก็มี นี้เป็นโทษของคนโกง ประการที่ ๔.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุโจทก์ภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุผู้เป็น จำเลยนั้น เมื่อถูกโจทก์ด้วยอาบัติ ยกมือทั้งสองพูดห้ามในท่ามกลางสงฆ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวบุคคลนี้ เปรียบเหมือนม้าโกงที่ นายสารถีเตือนว่า จงเดินไป ถูกแทงด้วยประตักเตือนอยู่ ย่อม เชิดกายด้านหน้า เผ่นขึ้นไป ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนโกง บางคนในธรรมวินัยนี้ เป็นเช่นนี้ก็มี นี้เป็นโทษของตนโกง ประการที่ ๕.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุโจทก์ภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุผู้เป็น จำเลยนั้น เมื่อถูกโจทก์ด้วยอาบัติ ย่อมไม่เอื้อเฟื้อสงฆ์ ไม่เอื้อเฟื้อ ผู้โจทก์ ทั้งที่มีอาบัติติดตัวอยู่ เลี่ยงหลีกไปตามประสงค์ของตน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวบุคคลนี้ เปรียบเหมือนม้าโกงที่ นานสารถีเตือนว่า จงเดินไป ถูกแทงด้วยประตักเตือนอยู่ ไม่คำนึง ถึงด้ามประตัก เอาฟันกัดบังเหียน หลีกไปตามประสงค์ของมัน

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 391

ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนโกงบางคนในธรรมวินัยนี้ เป็นเช่นนี้ ก็มี นี้เป็นโทษของคนโกงประการที่ ๖.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุโจทก์ภิกษุด้วยกัน ภิกษุผู้เป็นจำเลย นั้น เมื่อถูกโจทก์ด้วยอาบัติกล่าวว่า ผมไม่ได้ต้องอาบัติเลยๆ เธอใช้ความนิ่งให้อึดอัดใจสงฆ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าว บุคคลนี้ เปรียบเหมือนม้าโกงที่นายสารถีเตือนว่า จงเดินไป ถูกแทง ด้วยประตักเตือนอยู่ ไม่ยอมก้าวไปข้างหน้า ทั้งไม่ถอยหลัง ยืนเฉย เหมือนเสาเขื่อนอยู่ตรงนั้นนั่นเอง ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนโกงบางคนในธรรมวินัยนี้ เป็นเช่นนี้ก็มี นี้เป็นโทษของตนโกง ประการที่ ๗.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุโจทก์ภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุผู้เป็นจำเลย นั้น เมื่อถูกโจทก์ด้วยอาบัติ ย่อมกล่าวว่า ทำไมหนอ ท่านผู้มีอายุ ทั้งหลายจึงชอบหาเรื่องในตัวผมนัก บัดนี้ ผมกำหนดบอกคืนสิกขา ลาเพศแล้ว เธอบอกคืนสิกขาลาเพศแล้ว พูดอย่างนี้ว่า บัดนี้ ขอท่านผู้มีอายุทั้งหลายจงเบาใจเถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าว บุคคลนี้เปรียบเหมือนม้าโกงที่นายสารถีเตือนว่า จงเดินไป ถูกแทง ด้วยประตักเตือนอยู่ คุกเท้าหน้า เท้าหลัง ลงนอนทับเท้าทั้ง ๔ ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนโกงบางคนในธรรมวินัยนี้ เป็นเช่นนี้ก็มี นี้เป็นโทษของคนโกงประการที่ ๘ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนโกง ๘ จำพวก และโทษของคนโกง ประการนี้แล.

จบ ขฬุงคสูตรที่ ๔

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 392

อรรถกถาขฬุงคสูตรที่ ๔

อัสสขฬุงคสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า เปหีติ วิตฺโต ความว่า ม้าอาชาไนยนั้น อันสารถี กล่าวว่า จงไป. บทว่า ปฏฺิโต รถํ ปวตฺเตติ ความว่า เอากระดูกคอ บีบอกแอกแล้วพารถถอยไปทางส่วนทิศเบื้องหลัง. บทว่า ปจฺฉา ลงฺฆิปติ กุพฺพรํ หนฺติ ความว่า ยกเท้าหลังทั้ง ๒ ข้างขึ้น แล้วเอาเท้า ทั้ง ๒ นั้นกระแทกทำลายธูปรถ. บทว่า ติทณฺฑํ ความว่า ทำลาย ไม้ ๓ อันที่อยู่ข้างหน้ารถ. บทว่า รถีสาย สตฺถึ อุสฺสชฺชิตฺวา ความว่า ค้อมศีรษะลงให้แอกถึงพื้นดิน ใช้ขากระแทกงอนรถ. บทว่า อชฺโฌมทฺทติ ความว่า ใช้ขาหน้าทั้ง ๒ เหยียบงอนรถยืนอยู่ บทว่า อพฺพฏุ๑มํ รถํ กโรติ ความว่า ยกรถขึ้นโขดดินหรือที่มีหนาม. บทว่า อนาทิยิตฺวา ได้แก่ ความไม่ใส่ใจ คือไม่นำพา. บทว่า มุขาธานํ ได้แก่ บังเหียนเหล็ก ที่เขาใส่ไว้เพื่อติดกับปาก (ม้า). บทว่า ขีลฏฺายี ความว่า ม้ายืน ๔ เท้าไม่ไหวติง เหมือนเสา แล้วหยุดอยู่กับที่เช่นเดียวกับเสาเขื่อน. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส วัฏฏะอย่างเดียวในพระสูตรนี้.

จบ อรรถกถาขฬุงคสูตรที่ ๔


๑. ม.อุพฺพฏมํ