พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. มลสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  2 พ.ย. 2564
หมายเลข  39571
อ่าน  406

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 393

ปัณณาสก์

มหาวรรคที่ ๒

๕. มลสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 393

๕. มลสูตร

[๑๐๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มลทิน ๘ ประการนี้ ๘ ประการ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มนต์มีการไม่ท่องบ่นเป็นมลทิน ๑ เรือนมีความไม่หมั่นเป็นมลทิน ๑ ความเกียจคร้านเป็นมลทินของ ผิวพรรณ ๑ ความประมาทเป็นมลทินของผู้รักษา ๑ ความประพฤติ ชั่วเป็นมลทินของหญิง ๑ ความตระหนี่เป็นมลทินของผู้ให้ ๑ อกุศลธรรมที่ลามกเป็นมลทินที่ทั้งโลกนี้และโลกหน้า ๑ เราจะบอก มลทินที่ยิ่งกว่ามลทินนั้น คือ อวิชชาเป็นมลทินอย่างยิ่ง ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย มลทิน ๘ ประการนี้แล.

มนต์ มีการไม่ท่องบ่นเป็นมลทิน เรือนมีความไม่หมั่นเป็นมลทิน ความเกียจคร้านเป็น เป็นมลทินของผิวพรรณ ความประมาทเป็นมลทินของผู้รักษา ความประพฤติชั่วเป็นมลทิน ของหญิง ความตระหนี่เป็นมลทินของผู้ให้ ธรรมอันลามกเป็นมลทินแท้ ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า เราจะบอกมลทินที่ยิ่งกว่างนั้น คือ อวิชชาเป็น มลทินอย่างยิ่ง.

จบ มลสูตรที่ ๕

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 394

อรรถกถามลสูตรที่ ๕

มลสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อสชฺฌายมลา ความว่า การไม่ทำการสาธยายมนต์ ที่ตนเรียนแล้ว ชื่อว่า เป็นมลทิน. บทว่า อนุฏานมลา ฆรา ความว่า ความไม่ขยันหมั่นเพียรชื่อว่า เป็นมลทินแห่งเรือน. บทว่า วณฺณสฺส ได้แก่ ผิวพรรณของกาย. บทว่า รกฺขโต ความว่า. รักษาสิ่งใด สิ่งหนึ่งอันเป็นสมบัติของตน. บทว่า อวิชฺชา ปรมํ มลํ ความว่า อวิชชาคือความมืดบอดหนาแน่น กล่าวคือ มูลแห่งวัฏฏะอันเป็น ความไม่รู้ในฐานะ เป็นมลทินอย่างยิ่งกว่ามลทินคืออกุศลธรรม ที่เหลือนั้น มลทินอื่นที่ชื่อว่ายิ่งกว่าอวิชชานั้นไม่มี. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเฉพาะวัฏฏะอย่างเดียวในพระสูตรแม้นี้.

จบ อรรถกถามลสูตรที่ ๕