พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. ทูตสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  2 พ.ย. 2564
หมายเลข  39572
อ่าน  498

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 395

ปัณณาสก์

มหาวรรคที่ ๒

๖. ทูตสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 395

๖. ทูตสูตร

[๑๐๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ ควรไปเป็นทูตได้ ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้รับฟัง ๑ ให้ผู้อื่นรับฟัง ๑ เรียนดี ๑ ทรงจำไว้ดี ๑ รู้เอง ๑ ให้ผู้อื่นรู้ ๑ เป็นผู้ฉลาดต่อสิ่ง ที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ ๑ ไม่ก่อการทะเลา ๑ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล ควรไป เป็นทูตได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรประกอบด้วยธรรม ประการ ควรไปเป็นทูตได้ ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้รับฟัง ๑ ให้ผู้อื่นรับฟัง ๑ เรียนดี ๑ ทรงจำไว้ดี ๑ รู้เอง ๑ ให้ผู้อื่นรู้ ๑ เป็นผู้ฉลาดต่อสิ่งที่มีประโยชน์ เป็นไม่มีประโยชน์ ๑ ไม่ก่อการทะเลาะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล ควรไปเป็นทูตได้.

ภิกษุใดแล สอนบริษัทได้เรียนให้อ่าน ไม่สะทกสะท้าน ไม่ให้เสียคำที่พูด ไม่ให้เสีย คำสอน ชี้แจงให้เขาหมดสงสัย และเมื่อถูกซัก ถามก็ไม่โกรธ ภิกษุเช่นนี้นั้นแล ควรไปเป็นทูต ได้.

จบ ทูตสูตรที่ ๖

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 396

อรรถกถาทูตสูตรที่ ๖

ทูตสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ทูเตยฺยํ ได้แก่ ทูตกรรม กรรมคือความเป็นทูต. บทว่า คนฺตุมหรติ ความว่า ภิกษุควรจะทรงสาส์นแสดงความเป็นทูตนั้น นำไปมอบให้. บทว่า โสตา ได้แก่ รับฟังผู้ที่ตนมอบสาส์นให้. บทว่า สาเวตา ได้แก่ ภิกษุเรียนสาส์นนั้นแล้วทบทวนว่า ท่าน อ่านสาส์นชื่อนี้แล้ว. บทว่า อุคฺคเหตา ได้แก่ รับเอาด้วยดี. บทว่า ธาเรตา ได้แก่ ทรงจำไว้ด้วยดี. บทว่า วิญฺาตา ได้แก่ รู้ความ หมายแห่งสิ่งที่เป็นประโยชย์และไม่เป็นประโยชน์. บทว่า วิญฺาเปตา ได้แก่ ให้ผู้อื่นรู้แจ้ง (ความหมายนั้น). บทว่า สหิตาสหิตสฺส ความว่า เป็นผู้ฉลาดต่อประโยชน์เกื้อกูล และมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล อย่างนี้ว่า นี้เป็นประโ ชน์เกื้อกูล นี้มิใช่ประโยชน์เกื้อกูล คือ เป็นผู้เฉียบแหลมในข้อที่ดำเนินได้และข้อที่ดำเนินไม่ได้ เมื่อจะ บอกสาส์น กำหนดแต่สิ่งที่มีประโยชน์เกื้อกูลแล้วจึงบอก. บทว่า น พฺยาธติ ได้แก่ ย่อมไม่หวั่นไหว ไม่หวาดกลัว. บทว่า อสนฺทิฏฺํ ได้แก่ หมดความสนเท่ห์ ปราศจากความสงสัย. บทว่า ปุจฺฉิโต ความว่า ถูกเขาซักถามเพื่อต้องการทราบปัญหาว่าเป็นอย่างไร?

จบ อรรถกถาทูตสูตรที่ ๖