พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. อุโปสถสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  2 พ.ย. 2564
หมายเลข  39576
อ่าน  423

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 414

ปัณณาสก์

มหาวรรคที่ ๒

๑๐. อุโปสถสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 414

๑๐. อุโปสถสูตร

[๑๑๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ บุพพาราม ปราสาทของมิคารมารดา ใกล้กรุงสาวัตถี ก็โดยสมัยนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้ามีภิกษุสงฆ์แวดล้อม ประทับนั่งในวันอโบสถ ครั้งนั้น เมื่อราตรีล่วงไปแล้ว ปฐมยามผ่านไปแล้ว ท่านพระอานนท์ลุกจาก ที่นั่ง กระทำผ้าอุตราสงฆ์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประณมอัญชลีไปทาง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ได้กราบ พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ราตรีล่วงไปแล้ว ปฐมยามผ่านไปแล้ว ภิกษุสงฆ์นั่งมานานแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระกรุณา โปรดแสดงปาติโมกข์เถิด เมื่อท่านพระอานนท์กราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนิ่งอยู่.

แม้วาระที่ ๒ เมื่อราตรีล่วงไปแล้ว มัชฌิมยามผ่านไปแล้ว ท่านพระอานนท์ลุกจากที่นั่ง กระทำผ้าอุตราสงฆ์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประณมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ราตรีล่วงไปแล้ว มัชฌิมยาม ผ่านไปแล้ว ภิกษุสงฆ์นั่งมานานแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง พระกรุณาโปรดแสดงปาติโมกข์เถิด แม้วาระที่ ๒ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงนิ่งอยู่.

แม้วาระที่ ๓ เมื่อราตรีล่วงไปแล้ว ปัจฉิมยามผ่านไปแล้ว แสงเงินแสงทองขึ้นแล้ว ราตรีว่างแล้ว ท่านพระอานนท์ลุกจาก ที่นั่ง กระทำผ้าอุตราสงฆ์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประณมอัญชลีไปทาง

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 415

พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ราตรีล่วงไปแล้ว ปัจฉิมยามผ่านไปแล้ว แสงเงิน แสงทองขึ้นแล้ว ราตรีสว่างแล้ว ภิกษุสงฆ์นั่งมานานแล้ว ขอ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระกรุณาโปรดแสดงปาติโมกข์เถิด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ บริษัทไม่บริสุทธิ์.

ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้มีความดำริดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่านี้ทรงหมายเอาบุคคลไหนหนอ ลำดับ นั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะกำหนดใจด้วยใจ กระทำจิตภิกษุสงฆ์ ทั้งหมดไว้ในใจแล้ว ได้เห็นบุคคลทุศีล มีบาปธรรม มีสมาจาร ไม่สะอาดน่ารังเกียจ ปกปิดกรรมชั่ว มิใช่สมณะแต่ปฏิญญาว่า เป็นสมณะ มิใช่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์แต่ปฏิญญาว่าประพฤติ พรหมจรรย์ เน่าในชุ่มด้วยราคะ เป็นเพียงดังหยากเยื่อ นั่งอยู่ ในท่านกลางภิกษุสงฆ์ ครั้นแล้วลุกจากอาสนะเข้าไปหาบุคคลนั้น กล่าวกะบุคคลนั้นว่า อาวุโส จงลุกไป พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็น เธอแล้ว เธอไปมีสังวาสกับภิกษุทั้งหลาย เมื่อท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวอย่างนี้แล้ว บุคคลนั้นนิ่งเฉยเสีย แม้วาระที่ ๒ ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกะบุคคลนั้นว่า อาวุโส จงลุกไป พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นเธอแล้ว เธอไม่มีสังวาสกับภิกษุ ทั้งหลาย แม้วาระที่ ๒ บุคคลนั้นก็นิ่งเสีย แม้วาระที่ ๓ ท่านพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นเธอแล้ว เธอไม่มีสังวาสกับภิกษุทั้งหลาย แม้วาระที่ ๓ บุคคลนั้นก็นิ่งเสีย ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 416

จับแขนบุคคลนั้นฉุดออกมาให้พ้นซุ้มประตูด้านนอกแล้ว ใส่ดาน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลนั้นข้าพระองค์ฉุดออกไปแล้ว บริษัทบริสุทธิ์แล้ว ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระกรุณาโปรดแสดงปาติโมกข์แก่ภิกษุทั้งหลาย เถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า น่าอัศจรรย์ โมคคัลลานะ ไม่เคยมีมา โมคคัลลานะ โมฆบุรุษนั้นจักมาร่วม จนต้องฉุดแขน ออกไป ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เธอทั้งหลายพึงทำอุโบสถเถิด พึง แสดงปาติโมกข์เถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตั้งแต่กาลบัดนี้เป็นต้นไป เราจักไม่แสดงปาติโมกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การที่พระตถาคต จะพึงแสดงปาติโมกข์ในบริษัทที่ไม่บริสุทธิ์ นี้มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในมหาสมุทรมีธรรมที่น่าอัศจรรย์อัน ไม่เคยมีมา ๘ ประการ ที่พวกอสูรเห็นแล้วๆ ย่อมอภิรมย์ ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาสมุทรลาด ลุ่ม ลึกลงไปโดยลำดับ หาได้โกรกชันเหมือนเหวไม่ ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ข้อที่มหาสมุทรลาด ลุ่ม ลึกลงไปโดยลำดับ หาได้โกรกชัน เหมือนเหวไม่ นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ ๑ ในมหาสมุทร ที่พวกอสูรเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่ ฯลฯ อีกประการ หนึ่ง มหาสมุทรเป็นที่พำนักอาศัยของสิ่งมีชีวิตใหญ่ๆ สิ่งมีชีวิต ในมหาสมุทรนั้นมีดังนี้ คือ ปลาติมิ ปลาติมิงคลา ปลาติมิรมิงคลา พวกอสูร นาค คนธรรพ์ แม้ที่มีร่างกายประมาณ ๑๐๐ โยชน์

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 417

๒๐๐ โยชน์ ๓๐๐ โยชน์ ๔๐๐ โยชน์ ๕๐๐ โยชน์ ก็มีอยู่ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่มหาสมุทรเป็นที่พำนักอาศัยของสิ่งมีชีวิตใหญ่ๆ สิ่งมีชีวิตในมหาสมุทรนั้นมีดังนี้ คือ ปลาติมิ ปลาติมิงคลา ปลาติมิรมิงคลา พวกอสูร นาค คนธรรพ์ แม้ที่มีร่างกายประมาณ ๑๐๐ โยชน์ ๒๐๐ โยชน์ ๓๐๐ โยชน์ ๔๐๐ โยชน์ ๕๐๐ โยชน์ ก็มีอยู่ นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ ๘ ใน มหาสมุทรที่พวกอสูรเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในมหาสมุทรมีธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๘ ประการนี้แล ที่พวกอสูรเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ มีธรรมที่น่าอัศจรรย์ อันไม่เคยมีมา ๘ ประการ ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วๆ ย่อมอภิรมย์ ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาสมุทรลาด ลุ่ม ลึกลงไปโดยลำดับ หาได้โกรกชันเหมือนเหวไม่ ฉันใด ใน ธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีการศึกษาไปตามลำดับ มีการ กระทำไปตามลำดับ มีการปฏิบัติไปตามล่าดับ มิใช่ว่าจะมีการ บรรลุอรหัตตผลโดยตรง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ในธรรมวินัยนี้ มีการศึกษาไปตามลำดับ มีการกระทำไปตามลำดับ มีการปฏิบัติ ไปตามลำดับ มิใช่ว่าจะมีการบรรลุอรหัตตผลโดยตรง นี้เป็นธรรม ที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ ๑ ในธรรมวินัยนี้ ที่ภิกษุ ทั้งหลายเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่ ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาสมุทรเป็นที่พำนักอาศัยของสิ่งมีชีวิตใหญ่ๆ สิ่งมีชีวิตใน มหาสมุทรนั้นมีดังนี้ คือ ปลาติมิ ปลาติมิงคลา ปลาติมิรมิงคลา

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 418

พวกอสูร นาค คนธรรพ์ แม้ที่มีร่างกายประมาณ ๑๐๐ โยชน์ ๒๐๐ โยชน์ ๓๐๐ โยชน์ ๔๐๐ โยชน์ ๕๐๐ โยชน์ ก็มีอยู่ ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ธรรมวินัยนี้ ก็เป็นที่พำนัก อาศัยแห่งสิ่งที่มีชีวิตใหญ่ สิ่งมีชีวิตในธรรมวินัยนี้มีดังนี้ คือ พระโสดาบัน ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล พระสกทาคามี ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล พระอนาคามี ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล พระ อรหันต์ ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอรหันต์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. ข้อที่ธรรมวินัยนี้เป็นที่พำนักอาศัยแห่งสิ่งที่มีชีวิตใหญ่ๆ สิ่งมีชีวิต ในธรรมวินัยนี้ มีดังนี้ คือ พระโสดาบัน ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำ ให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล พระสกทาคามี ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำ ให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล พระอนาคามี ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำ ให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล พระอรหันต์ ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็น พระอรหันต์ นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ ๑ ในธรรมวินัยนี้ ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้มีสิ่งที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๘ ประการนี้แล ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่.

จบ อุโปสถสูตรที่ ๑๐

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 419

อรรถกถาอุโปสถสูตรที่ ๑๐

อุโปสถสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า นิสินฺโน โหติ ความว่า พระศาสดาประทับนั่งบน รัตนปราสาทของอุบาสิกา เพื่อกระทำอุโบสถ. ก็พระศาสดา ครั้นประทับนั่งแล้วทรงตรวจดูจิตของภิกษุทั้งหลาย ทรงเห็นบุคคล ทุศีลคนหนึ่ง ทรงพระดำริว่า ถ้าเราจัดแสดงปาติโมกข์ทั้งที่บุคคลนี้ นั่งอยู่นั่นแหละ ศีรษะของเขาจักแตก ๗ เสียง ดังนี้แล้ว จึงได้ ดุษณีภาพ เพื่ออนุเคราะห์เขา. บทว่า อภิกฺกนฺตา แปลว่า ล่วงไป แล้ว สิ้นไปแล้ว. บทว่า อุทฺธเสฺต อรุเณ ได้แก่ เมื่อเริ่มอรุณขึ้น. บทว่า นนฺทิมุขิยา ได้แก่ ราตีจวนสว่างแล้ว. บทว่า อปริสุทฺธา อานนฺท ปริสา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสว่า บุคคลโน้น ไม่บริสุทธิ์ แต่ตรัสว่า บริษัทไม่บริสุทธิ์. คำที่เหลือในที่ทุกแห่ง ง่ายทั้งสิ้นแล.

จบ อรรถกถาอุโปสถสูตรที่ ๑๐

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เวรัญชสูตร ๒. สีหสูตร ๓. อาชัญญสูตร ๔. ขฬุงคสูตร ๕. มลสูตร ๖. ทูตสูตร ๗. พันธนสูตรที่ ๑ ๘. พันธนสูตรที่ ๒ ๙. ปหาราทสูตร ๑๐. อุโปสถสูตร. และอรรถกถา

จบ มหาวรรคที่ ๒