พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. ทุติยอุคคสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  2 พ.ย. 2564
หมายเลข  39578
อ่าน  361

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 426

ปัณณาสก์

คหปติวรรคที่ ๓

๒. ทุติยอุคคสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 426

๒. ทุติยอุคคสูตร

[๑๑๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ บ้านหัตถีคาม ในแคว้นวัชชี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียก ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงทรงจำ อุคคคฤหบดีชาวบ้านหัตถีคาม ว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่า อัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๘ ประกรร พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคต ครั้นได้ตรัสพระดำรัสนี้แล้ว เสด็จลุกจากอาสนะเข้าไปสู่พระวิหาร.

ครั้งนั้น เวลาเช้า ภิกษุรูปหนึ่ง นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไปยังนิเวศน์ของอุคคคฤหบดีชาวบ้านหัตถีคาม ครั้นแล้วจึงนั่ง บนอาสนะที่เขาปูไว้ ลำดับนั้น อุคคคฤหบดีชาวบ้านหัตถีคาม เข้าไปหาภิกษุนั้น ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ภิกษุนั้นได้กล่าวกะอุคคคฤหบดีชาวบ้านหัตถีคามว่า ดูก่อนคฤหบดี พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ท่านว่า เป็นผู้ประกอบด้วยธรรม ที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๘ ประการ ดูก่อนคฤหบดี ธรรมที่ น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๘ ประการเป็นไฉน.

อุคคคฤหบดีกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมไม่ทราบ เลยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์กระผมว่า เป็นผู้ประกอบ ด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๘ ประการเป็นไฉน แต่ขอท่านได้โปรดฟังธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๘ ประการ นี้ที่มีอยู่ จงใส่ใจให้ดี กระผมจักเรียนถวาย ภิกษุนั้นรับคำ อุคคคฤหบดีชาวบ้านหัตถีคามแล้ว.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 427

อุคคคฤหบดีชาวบ้านหัตถคามได้กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ในคราวที่กระผมเที่ยวอยู่ในสวนนาควัน ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า แต่ไกลเป็นครั้งแรก พร้อมกับการเห็นนั้นเอง จิตของกระผมก็ เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้า เมาสุราอยู่ก็หายเมา นี้แลเป็นธรรม ที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาข้อที่ ๑ ของกระผมที่มีอยู่.

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมมีจิตเลื่อมใสแล้ว ได้เข้าไปนั่งใกล้ พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอนุปุพพิกถา โปรดกระผม คือ ทรงประกาศทานกถา สีลกถา สัคคกถา โทษ ของกามอันต่ำทรามเศร้าหมอง และอานิสงส์ในเนกขัมมะ ในคราว ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทราบว่า กระผมมีจิตควร อ่อน ปราศจากนิวรณ์ บันเทิง ผ่องใสแล้ว จึงทรงประกาศสามุกังสิกา ธรรมเทศนาแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เปรียบเหมือนผ้าที่บริสุทธิ์ ไม่หมองดำ จะพึงรับน้ำย้อม ได้ดี แม้ฉันใด ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้น แล้วแก่กระผม ณ ที่นั่งนั้นแลว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็น ธรรมดา สิ่งนั้นมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ก็ฉันนั้น เหมือนกัน ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมได้เห็นธรรมแล้ว บรรลุธรรม แล้ว รู้ธรรมแจ้งแล้ว หยั่งซึ้งถึงธรรมแล้ว ข้ามพ้นความสงสัย ได้แล้ว ปราศจากความเคลือบแคลงแล้ว ถึงความแกลั้วกล้าแล้ว ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น ในสัตถุศาสน์ ได้ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และ พระสงฆ์ว่า เป็นสรณะ สมาทานสิกขาบท อันมีพรหมจรรย์เป็นที่ ๕

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 428

แล้ว ณ ที่นั่งนั้นนั่นแล นี้แลเป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ข้อที่ ๒ ของกระผมมีอยู่.

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมได้มีปชาบดีรุ่นสาวอยู่ ๔ คน ได้เข้าไปหาปชาบดีเหล่านั้น แล้วได้กล่าวกะเธอเหล่านั้นว่า ดูก่อน น้องหญิงทั้งหลาย ฉันสมาทานสิกขาบทอันมีพรหมจรรย์เป็นที่ ๕ ผู้ใดปรารถนา ผู้นั้นจงใช้โภคะเหล่านี้และทำบุญได้ หรือจะไปสู่ ตระกูลญาติของตัวก็ได้ หรือประสงค์ชายอื่น ฉันก็จะมอบให้แก่เขา เมื่อกระผมกล่าวอย่างนี้แล้ว ปชาบดีคนแรกได้พูดกะกระผมว่า ขอท่านได้กรุณามอบดิฉันให้แก่ชายชื่อนี้เจ้าค่ะ กระผมได้เชิญชาย ผู้นั้นมาเอามือซ้ายจับปชาบดี มือขวาจับเต้าน้ำ หลั่งน้ำมอบให้ชาย คนนั้น ก็เมื่อบริจาคปชาบดีสาวเป็นทาน กระผมไม่รู้สึกว่าจิต แปรปรวนเป็นอย่างอื่นเลย นี้แลเป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เฉย มีมาข้อที่ ๔ ของกระผมที่มีอยู่.

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ในตระกูลของกระผมมีโภคทรัพย์อยู่มาก และโภคทรัพย์เหล่านั้นกระผมได้แจกจ่ายทั่วไปกับผู้มีศีล มี กัลยาณธรรม นี้แล เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาข้อที่ ๔ ของกระผมที่มีอยู่.

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผู้เข้าไปหาภิกษุรูปใด กระผมก็ เข้าไปด้วยความเคารพทีเดียว ไม่ใช่เข้าไปหาด้วยความไม่เคารพ หากท่านผู้มีอายุนั้นแสดงธรรมแก่กระผม กระผมก็ฟังโดยเคารพ แท้ๆ ไม่ใช่ฟังโดยไม่เคารพ หากท่านผู้มีอายุนั้นไม่แสดงธรรม

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 429

แก่กระผม กระผมก็แสดงธรรมแก่ท่านผู้มีอายุนั้น นี้แลเป็นธรรม ที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาข้อที่ ๕ ของกระผมที่มีอยู่.

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ไม่น่าอัศจรรย์ที่เมื่อกระผมนิมนต์สงฆ์ แล้วเทวดาทั้งหลายเข้ามาบอกว่า ดูก่อนคฤหบดี ภิกษุรูปโน้น เป็นอุภโตภาควิมุติ รูปโน้นเป็นปัญญาวิมุติ รูปโน้นเป็นกายสักขี รูปโน้นเป็นทิฏฐิปัตตะ รูปโน้นเป็นสัทธาวิมุติ รูปโน้นเป็นสัมมานุสารี รูปโน้นเป็นสัทธานุสารี รูปโน้นเป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม รูปโน้น เป็นผู้ทุศีล มีบาปธรรม ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมอังคาสสงฆ์ อยู่ก็ไม่รู้สึกว่า ยังจิตให้เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า จะถวายแก่ท่านรูปนี้น้อย หรือจะถวายแก่ท่านรูปนี้มาก แท้ที่จริง กระผมมีจิตเสมอกัน นี้แล เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาข้อที่ ๖ ของกระผมที่มีอยู่.

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ไม่น่าอัศจรรย์ที่เทวดาทั้งหลายเข้ามาหา กระผมแล้วบอกว่า ดูก่อนคฤหบดี ธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสดีแล้ว เมื่อเทวดาทั้งหลายกล่าวอย่างนี้แล้ว กระผมจึงพูดกะ เทวดาเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ท่านจะพึงบอกอย่างนี้หรือไม่พึงบอก อย่างนี้ก็ตาม แท้ที่จริง ธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว แก่กระผมก็ไม่รู้สึกเลยว่า ความฟูใจจะมีมาแต่เหตุนั้น เทวดา ทั้งหลายเข้ามาหากระผมหรือกระผมได้ปราศรัยกับเทวดาทั้งหลาย นี้แลเป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาข้อที่ ๗ ของกระผม ที่มีอยู่.

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็หากว่ากระผมจะพึงทำกาละก่อน พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ไม่น่าอัศจรรย์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึง

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 430

ทรงพยากรณ์อย่างนี้ว่า สังโยชน์อันเป็นเครื่องประกอบให้อุคคคฤหบดีชาวบ้านหัตถีคามพึงกลับมาสู่โลกนี้อีกไม่มี นี้แลเป็นธรรม ที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาข้อที่ ๘ ของกระผมที่มีอยู่.

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๘ ประการนี้แล ของกระผมที่มีอยู่ แต่กระผมก็ไม่รู้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์กระผมว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่า อัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๘ ประการเป็นไฉน.

ลำดับนั้น ภิกษุนั้นรับบิณฑบาตในนิเวศน์ของอุคคคฤหบดี ชาวบ้านหัตถีคามแล้ว ลุกจากที่นั่งแล้วหลีกไป ภายหลังภัต กลับจากบิณฑบาตแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูล คำสนทนาปราศรัยกับอุคคคฤหบดีชาวบ้านหัตถีคามนั้นทั้งหมด แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ถูกแล้ว อุคคคฤหบดีชาวบ้านหัตถีคาม เมื่อจะพยากรณ์ พึงพยากรณ์ตามนั้น โดยชอบ ดูก่อนภิกษุ เราพยากรณ์อุคคคฤหบดีชาวบ้านหัตถีคามว่า เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๘ ประการ นี้แล และเธอทั้งหลายจงทรงจำอุคคคฤหบดีชาวบ้านหัตถีคามว่า เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๘ ประการนี้.

จบ ทุติยอุคคสูตรที่ ๒

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 431

อรรถกถาทุติยอุคคสูตรที่ ๒

ทุติยุคคสูตร ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า นาควเน ความว่า ได้ยินว่า เศรษฐีนั้นได้มีสวนชื่อว่า นาควัน. เศรษฐีนั้นให้คนถือเอาของหอมและระเบียบดอกไม้เป็นต้น ในเวลาก่อนอาหาร ประสงค์จะเล่นกีฬาในวันนั้น อันบริวาร แวดล้อมไป ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า เขาเกิดจิตเลื่อมใสโดยนัย ก่อนนั่นแหละ พร้อมกับการเห็นความเมาที่เกิดขึ้นเพราะการดื่ม สุรา ก็สร่างหายไปในขณะนั้นนั่นเอง. อุคคเศรษฐีกล่าวอย่างนั้น หมายเอาข้อนั้น บทว่า โอโฏเชสึ ความว่า หลั่งน้ำที่พระหัตถ์ถวาย. บทว่า อสุโก แก้เป็น อมุโก. บทว่า สมจิตฺโตว เทมิ ความว่า ไม่กระทำความคิดต่างๆ อย่างนี้ว่า ให้แก่คนนี้น้อย ให้แก่คนนี้มาก. ด้วยคำนี้ อุคคเศรษฐีแสดงว่า เราจะไม่ทำคุณของภิกษุเหล่านั้น ให้เป็นเช่นเดียวกัน แต่เราจะกระทำไทยธรรม ให้เป็นเช่นเดียวกัน. บทว่า อาโรเจนฺติ ความว่า เทวดาทั้งหลายยืนบอกอยู่ในอากาศ. อุบาสกได้พยากรณ์อานาคามิผลของตนด้วยคำนี้ว่า นตฺถิ ตํ สํโยชนํ สังโยชน์นั้นไม่มี ดังนี้แล.

จบ อรรถกถาทุติอุคคสูตรที่ ๒