พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. ทุติยหัตถกสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  2 พ.ย. 2564
หมายเลข  39580
อ่าน  363

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 436

ปัณณาสก์

คหปติวรรคที่ ๓

๔. ทุติยหัตถกสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 436

๔. ทุติยหัตถกสูตร

[๑๑๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ อัคคาฬวเจดีย์ ใกล้เมืองอาฬวี ครั้งนั้นแล หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี มีอุบาสกประมาณ ๕๐๐ คนแวดล้อม เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีว่า ดูก่อนหัตถกะ บริษัทของท่านนี้ใหญ่ ก็ท่านสงเคราะห์บริษัทใหญ่ นี้อย่างไร

หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงสังคหวัตถุ ๔ ประการไว้ ข้าพระองค์สงเคราะห์บริษัทใหญ่นี้ด้วยสังคหวัตถุ ๔ ประการ เหล่านั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้ว่าผู้นี้ควรสงเคราะห์ ด้วยทาน ข้าพระองค์ก็สงเคราะห์ด้วยทาน ผู้นี้ควรสงเคราะห์ ด้วยวาจาอ่อนหวาน ข้าพระองค์ก็สงเคราะห์ด้วยวาจาอ่อนหวาน ผู้นี้ควรสงเคราะห์ด้วยการประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์ ข้าพระองค์ ก็สงเคราะห์ด้วยการประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์ ผู้นี้ควรสงเคราะห์ ด้วยการวางตัวเสมอ ข้าพระองค์ก็สงเคราะห์ด้วยการวางตัวเสมอ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็โภคทรัพย์ในตระกูลของข้าพระองค์มีอยู่ ชนทั้งหลายจึงสำคัญถ้อยคำของข้าพระองค์ว่าควรฟัง ไม่เหมือน ของคนจน.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 437

พ. ถูกแล้วๆ หัตถกะ นี้แลเป็นอุบายที่ท่านสงเคราะห์บริษัท ใหญ่ ดูก่อนหัตถกะ จริงอยู่ ใครๆ ก็ตามที่สงเคราะห์บริษัทใหญ่ ในอดีตกาล ก็ล้วนแต่สงเคราะห์ด้วยสังคหวัตถุ ๔ ประการนี้ และ ใครๆ ก็ตามที่จักสงเคราะห์บริษัทในอนาคตกาล ก็ล้วนแต่จัก สงเคราะห์ด้วยสังคหวัตถุ ๔ ประการนี้แล ใครๆ ก็ตามย่อม สงเคราะห์บริษัทใหญ่ในปัจจุบัน ก็ล้วนแต่สงเคราะห์ด้วยสังคหวัตถุ ๔ ประการนี้แล ลำดับนั้น หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว ลุกจากที่นั่ง ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป.

ลำดับนั้น เมื่อหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี หลีกไปแล้ว ไม่นาน พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงทรงจำหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี ว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๘ ประการ ๘ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หัตถกอุบาสกชาวเมือง อาฬวี เป็นผู้มีศรัทธา ๑ มีศีล ๑ มีหิริ ๑ มีโอตตัปปะ ๑ เป็นพหูสูต ๑ มีจาคะ ๑ มีปัญญา ๑ มีความปรารถนาน้อย ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงทรงจำหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี ว่าเป็นผู้ประกอบ ด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์ อันไม่เคยมีมา ๘ ประการนี้แล.

จบ ทุติยหัตถกสูตรที่ ๔

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 438

อรรถกถาทุติยหัตถกสูตรที่ ๔

ทุติยหัตถกสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ปญฺจมตฺเตหิ อุปาสกหเตหิ ความว่า หัตถกอุบาสก อันอริยสาวกอุบาสกผู้เป็นโสดาบัน สกทาคามิ และอนาคามีเท่านั้น แวดล้อมแล้ว บริโภคอาหารเช้าแล้วถือเอาของหอม ดอกไม้ และ จุณเครื่องลูบไล้เป็นต้น เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ. บทว่า สงฺคหวตฺถูนิ ได้แก่ เหตุแห่งการสงเคราะห์. บทว่า เตหาหํ ตัดบทเป็น เตหิ อหํ.

บทว่า ตํ ทาเนน สงฺคณฺหามิ ความว่า ข้าพเจ้าจะให้ไถ โคงาน อาหาร และพืช เป็นต้น และของหอม ดอกไม้ และจุณ สำหรับไล้ทา เป็นต้น ให้สงเคราะห์. บทว่า เปยฺยวาเจน ความว่า ข้าพเจ้าสงเคราะห์ด้วยปิยวาจาอันนุ่มนวล เสนาะหู มีอาทิว่า พ่อ แม่ พี่ชาย น้องชาย พี่สาว น้องสาว. บทว่า อตฺถจริยาย ความว่า เราจะสงเคราะห์ด้วยการประพฤติประโยชน์กล่าวคือ รู้ว่าผู้นี้ ไม่มีกิจด้วยการให้หรือด้วยปิยวาจา ผู้นี้ควรจะพึงสงเคราะห์ ด้วยการประพฤติประโยชน์ ดังนี้แล้ว จึงช่วยกิจที่เกิดขึ้น. บทว่า สมานตฺตตาย ความว่า เราสงเคราะห์โดยทำให้เสมอกับคนด้วย การกิน การดื่ม และการนั่งเป็นต้นร่วมกัน เพราะรู้ว่าผู้นี้ไม่มีกิจ ด้วยการให้เป็นต้น ผู้มีเราควรสงเคราะห์ ด้วยความเป็นผู้มีตน เสมอกัน. บทว่า ทลิทฺทสฺส โข โน ตถา โสตพฺพํ มญฺนฺติ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 439

ความว่า เมื่อคนผู้ขัดสน ไม่สามารถให้หรือทำอะไรๆ ได้ ชน ทั้งหลายย่อมไม่สำคัญว่าจะต้องฟังเหมือนคำของคนขัดสน แต่คำ ของข้าพระองค์ ชนทั้งหลายย่อมสำคัญว่าควรฟัง คือ ย่อมตั้งอยู่ ในโอวาทที่ให้ไว้ อธิบายว่า ย่อมไม่สำคัญที่จะล่วงละเมิดอนุศาสนี ของข้าพระองค์. บทว่า โยนิ โข ตฺยายํ แก้เป็น อุปาโย โข เต อยํ แปลว่า นี้เป็นอุบายของท่านแล. ก็ในสูตรแม้ทั้งสองนี้ พึงทราบว่า ตรัส ศรัทธา ศีล จาคะและปัญญาคละกัน.

จบ อรรถกถาทุติยหัตถกสูตรที่ ๔