พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. มหานามสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  2 พ.ย. 2564
หมายเลข  39581
อ่าน  409

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 440

ปัณณาสก์

คหปติวรรคที่ ๓

๕. มหานามสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 440

๕. มหานามสูตร

[๑๑๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธารามใกล้พระนครกบิลพัสดุ์ ในแคว้นสักกะ ครั้งนั้น เจ้าศากยะ พระนามว่ามหานาม เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทบ ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วประทับ ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอ บุคคลชื่อว่าเป็นอุบาสก พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมหานาม เมื่อใดแล บุคคลถึง พระพุทธเจ้า ถึงพระธรรม ถึงพระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ด้วยเหตุมี ประมาณเท่านี้ ชื่อว่าเป็นอุบาสก.

ม. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร อุบาสกชื่อว่าเป็นผู้มีศีล.

พ. ดูก่อนมหานาม เมื่อใดแล อุบาสกงดเว้นจากปาณาติบาต งดเว้นจากอทินนาทาน งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร งดเว้นจาก มุสาวาท งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นทั้ง แห่งความประมาท ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ อุบาสกชื่อว่า เป็น ผู้มีศีล.

ม. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร อุบาสกชื่อว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์นั้น ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ ผู้อื่น.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 441

พ. ดูก่อนมหานาม เมื่อใดแล อุบาสกเป็นผู้ถึงพร้อมด้วย ศรัทธาด้วยตนเอง แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ๑ ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วย ศีล ๑ ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึง พร้อมด้วยจาคะ ๑ ตนเองเป็นผู้ใคร่เพื่อฟังสัทธรรม แต่ไม่ชักชวน ผู้อื่นในการฟังสัทธรรม ๑ ตนเองเป็นผู้ทรงจำธรรมที่ตนฟังแล้วได้ แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นเพื่อการทรงจำธรรม ๑ ตนเองเป็นผู้พิจารณา อรรถแห่งธรรมที่ตนฟังแล้ว แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นในการพิจารณา อรรถแห่งธรรม ๑ ตนเองรู้ทั่วถึงอรรถรู้ทั่วถึงธรรม แล้วปฏิบัติ ธรรมควรแก่ธรรม แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นในการปฏิบัติธรรม อันสมควรแก่ธรรม ๑ ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ อุบาสกชื่อว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น.

ม. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร อุบาสก ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนและเพื่อประโยชน์ผู้อื่น.

พ. ดูก่อนมหานาม เมื่อใดแล อุบาสกเป็นผู้ถึงพร้อมด้วย ศรัทธาด้วยตนเอง ละชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ๑ ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล และชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยศีล ๑ ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ และชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วย จาคะ ๑ ตนเองเป็นผู้ใคร่เพื่อเห็นภิกษุ และชักชวนผู้อื่นในการเห็น ภิกษุ ๑ ตนเองเป็นผู้ใคร่เพื่อฟังสัทธรรม และชักชวนผู้อื่นในการ ฟังสัทธรรม ๑ ตนเองเป็นผู้ทรงจำธรรมที่ตนฟังแล้ว และชักชวน ผู้อื่นเพื่อการทรงจำธรรม ๑ ตนเองเป็นผู้พิจารณาอรรถแห่งธรรม

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 442

ที่ตนฟังแล้ว และชักชวนผู้อื่นในการพิจารณาอรรถแห่งธรรม ๑ ตนเองรู้ทั่วถึงอรรถรู้ทั่วถึงธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม และชักชวนผู้อื่นในการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑ ด้วยเหตุมี ประมาณเท่านี้แล อุบาสกชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน และ เพื่อประโยชน์ผู้อื่น.

จบ มหานามสูตรที่ ๕

อรรถกถามหานามสูตรที่ ๕

มหานามสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อตฺถูปปริกฺขึ โหติ ความว่า ย่อมเป็นผู้ใคร่ครวญ ถึงประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ คือ เหตุและมิใช่เหตุ.

จบ มหานามสูตรที่ ๕