พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. ทุติยพลสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  2 พ.ย. 2564
หมายเลข  39584
อ่าน  374

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 447

ปัณณาสก์

คหปติวรรคที่ ๓

๘. ทุติยพลสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 447

๘. ทุติยพลสูตร

[๑๑๘] ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสถามท่านพระสารีบุตรว่า ดูก่อนสารีบุตร กำลังของภิกษุผู้ขีณาสพมีเท่าไร ที่เป็นเหตุให้ เธอผู้ประกอบแล้วปฏิญาณความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายได้ว่า อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว.

ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กำลัง ของภิกษุผู้ขีณาสพ ๘ ประการ ที่เป็นเหตุให้ท่านผู้ประกอบแล้ว ปฏิญาณความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายได้ว่า อาสวะทั้งหลาย ของเราสิ้นแล้ว.

ท่านพระสารีบุตรกราบทูบว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กำลัง ของภิกษุผู้ขีณาสพ ๘ ประการ ที่เป็นเหตุให้ท่านผู้ประกอบแล้ว ปฏิญาณความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายได้ว่า อาสวะทั้งหลาย ของเราสิ้นแล้ว ๘ ประการเป็นไฉน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุ ผู้ขีณาสพในธรรมวินัยนี้ เห็นสังขารทั้งปวงแจ่มแจ้ง โดยความเป็น ของไม่เที่ยง ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริง ข้อที่ภิกษุผู้ขีณาสพ เห็นสังขารทั้งปวงแจ่มแจ้ง โดยความเป็นของไม่เที่ยง ด้วยปัญญา อันชอบตามเป็นจริงนี้เป็นกำลังของภิกษุผู้ขีณาสพ ที่ท่านอาศัย แล้วปฏิญาณความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายได้ว่า อาสวะทั้งหลาย ของเราสิ้นแล้ว ๑.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 448

อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้ขีณาสพเห็นกามทั้งหลายว่าเปรียบ ด้วยหลุมถ่านเพลิง แจ่มแจ้งด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริง ข้อที่ ภิกษุขีณาสพเห็นกามทั้งหลายว่าเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง แจ่มแจ้ง ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริง นี้เป็นกำลังของภิกษุผู้ขีณาสพ ที่ท่านอาศัยแล้วปฏิญาณความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายได้ว่า อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว ๑.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้ขีณาสพมีจิตน้อมไป โน้มไป โอน ไปในวิเวก ตั้งอยู่ในวิเวก ยินดีแล้วในเนกขัมมะ ปราศจาก อาสวัฏฐานิยธรรมโดยประการทั้งปวง ข้อที่ภิกษุผู้ขีณาสพมีจิต น้อมไป ฯลฯ ปราศจากอาสวัฏนิยธรรมโดยประการทั้งปวง นี้เป็น กำลังของภิกษุผู้ขีณาสพ ที่ท่านอาศัยแล้วปฏิญาณความสิ้นไป แห่งอาสวะทั้งหลายได้ว่า อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว ๑.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้ขีณาสพเจริญสติปัฏฐาน ๔ อบรม ดีแล้ว ข้อที่ภิกษุผู้ขีณาสพเจริญสติปัฏฐาน ๔ อบรมดีแล้ว นี้เป็น กำลังของภิกษุผู้ขีณาสพ ที่ท่านอาศัยแล้วปฏิญาณความสิ้นไป แห่งอาสวะทั้งหลายได้ว่า อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว ๑.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้ขีณาสพเจริญอิทธิบาท ๔ อบรม ดีแล้ว ข้อที่ภิกษุผู้ขีณาสพเจริญอิทธิบาท ๔ อบรมดีแล้ว นี้เป็น กำลังของภิกษุผู้ขีณาสพ ที่ท่านอาศัยแล้วปฏิญาณความสิ้นไป แห่งอาสวะทั้งหลายได้ว่า อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว ๑.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้ขีณาสพเจริญอินทรีย์ ๕ อบรม ดีแล้ว ข้อที่ภิกษุผู้ขีณาสพเจริญอินทรีย์ ๕ อบรมดีแล้ว นี้เป็น

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 449

กำลงของภิกษุผู้ขีณาสพ ที่ท่านอาศัยแล้วปฏิญาณความสิ้นไป แห่งอาสวะทั้งหลายได้ว่า อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว ๑.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้ขีณาสพเจริญโพชฌงค์ ๗ อบรม ดีแล้ว ข้อที่ภิกษุผู้ขีณาสพเจริญโพชฌงค์ ๗ อบรมดีแล้ว นี้เป็น กำลังของภิกษุผู้ขีณาสพ ที่ท่านอาศัยแล้วปฏิญาณความสิ้นไป แห่งอาสวะทั้งหลายได้ว่า อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว ๑.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้ขีณาสพเจริญอริยมรรคประกอบ ด้วยองค์ ๘ อบรมดีแล้ว ข้อที่ภิกษุผู้ขีณาสพเจริญอริยมรรค ประกอบด้วยองค์ ๘ อบรมดีแล้วนี้เป็นกำลังของภิกษุผู้ขีณาสพ ที่ท่านอาศัยแล้วปฏิญาณความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายได้ว่า อาสวะ ทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว ๑.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กำลังของภิกษุผู้ขีณาสพ ๘ ประการ นี้แล ที่เป็นเหตุให้ท่านผู้ประกอบแล้วปฏิญาณความสิ้นไปแห่ง อาสวะทั้งหลายได้ว่า อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว.

จบ ทุติยพลสูตรที่ ๘

อรรถกถาทุติยพลสูตรที่ ๘

ทุติยพบสูตรที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า พลานิ ได้แก่ กำลังคือพระญาณ. บทว่า อาสวานํ ขยํ ปฏิชานาติ ความว่า ย่อมปฏิญาณพระอรหัต. บทว่า อนิจฺจโต แปลว่า โดยอาการมีแล้วหามีไม่. บทว่า ยถาภูตํ แปลว่า ตามที่

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 450

เป็นจริง. บทว่า สมฺมปฺปญฺาย ได้แก่ ด้วยสัมมาวิปัสสนาและ มรรคปัญญา. บทว่า องฺคารกาสูปมา ความว่า กามเหล่านี้ท่าน เปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง เพราะอรรถว่าทำให้เร่าร้อน. บทว่า วิเวกนินฺนํ ได้แก่ น้อมไปในพระนิพพาน ด้วยอำนาจผลสมาบัติ. บทว่า วิเวกฏฺํ ได้แก่ เว้นหรือห่างไกลจากกิเลสทั้งหลาย. บทว่า เนกฺขมฺมาภิรตํ ได้แก่ ยินดียิ่งในบรรพชา. บทว่า พยนฺตีภูตํ แปลว่า มีที่สุด (คือตัณหา) ไปปราศแล้ว คือ แม้โดยเอกเทศก็ไม่ติดอยู่ ไม่ประกอบไว้ ไม่เกี่ยวข้อง. บทว่า อาสวฏฺานิเยหิ ได้แก่ จากธรรม อันเป็นเหตุแห่งอาสวะทั้งหลายด้วยอำนาจการประกอบไว้ อธิบาย ว่า จากกิเลลธรรมทั้งหลาย. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า พยนฺตีภูตํ แปลว่า ปราศจากตัณหาอันชื่ออันชื่อตันตี๑ อธิบายว่า ปราศจากตัณหา. บทว่า สพฺพโส อาสวฏฺานิเยหิ ธมฺเมหิ ความว่า จากธรรมอันเป็นไป ในภูมิ ๓ ทั้งหมด. ในสูตรนี้ ท่านกล่าวถึงอริยมรรคทั้งที่เป็น โลกิยะและโลกุตตระ.

จบ อรรถกถาทุติพลสูตรที่ ๘


๑. ตันตี เป็นชื่อของตัณหา เพราะเป็นสายดุจเส้นเชือกผูกโยงสัตว์ใช้ในวัฏฏสงสารฯ