พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. อักขณสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  2 พ.ย. 2564
หมายเลข  39585
อ่าน  345

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 451

ปัณณาสก์

คหปติวรรคที่ ๓

๙. อักขณสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 451

๙. อักขณสูตร

[๑๑๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมกล่าวว่า โลกได้ขณะจึงทำกิจๆ แต่เขาไม่รู้ขณะหรือมิใช่ขณะ ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย กาลมิใช่ขณะมิใช่สมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ๘ ประการนี้ ๘ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคต อุบัติขึ้นแล้วในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อม ด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึก บุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นจำแนกธรรม และธรรมอัน พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดง นำความสงบมาให้ เป็นไป เพื่อปรินิพพาน ให้ถึงการตรัสรู้ อันพระสุคตเจ้าประกาศแล้ว แต่บุคคลผู้นี้เข้าถึงนรกเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้มิใช่ขณะ มิใช่ สมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๑.

อีกประการหนึ่ง ตถาคตอุบัติขึ้นในโลก ฯลฯ เป็นผู้จำแนก ธรรม และธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดง... แต่บุคคล ผู้นี้เข้าถึงกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้มิใช่ขณะ มิใช่สมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๒.

อีกประการหนึ่ง ฯลฯ แต่บุคคลนี้เข้าถึงปิตติวิสัยแล้ว ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย นี้มิใช่ขณะ มิใช่สมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ข้อที่ ๓.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 452

อีกประการหนึ่ง ฯลฯ แต่บุคคลนี้เข้าถึงเทพนิกายผู้มีอายุยืน ชั้นใดชั้นหนึ่งเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้มิใช่ขณะ มิใช่สมัยในการ อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๔.

อีกประการหนึ่ง ฯลฯ แต่บุคคลนี้กลับมาเกิดในปัจจันตชนบท และอยู่ในพวกมิลักขะ ไม่รู้ดีรู้ชอบ อันเป็นสถานที่ไม่มีภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาไปมา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้มิใช่ขณะ มิใช่สมัย ในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๕.

อีกประการหนึ่ง ฯลฯ แต่บุคคลนี้กลับมาเกิดในมัชฌิมชนบท แต่เขาเป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นวิปริตว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล การบวงสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมดี กรรมชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์ทั้งหลายที่ผุดเกิดขึ้นไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ กระทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสั่งสอน ประชุมชนให้รู้ตาม ไม่มีในโลก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้มิใช่ขณะ มิใช่สมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๖

อีกประการหนึ่ง ฯลฯ แต่บุคคลนี้กลับมาเกิดในมัชฌิมชนบท แต่เขามีปัญญาทราม บ้าใบ้ ไม่สามารถรู้อรรถแห่งสุภาษิตและ ทุพภาษิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้มิใช่ขณะ มิใช่สมัยในการอยู่ ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๗.

อีกประการหนึ่ง ตถาคตอุบัติแล้วในโลก เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็น

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 453

ศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็น ผู้จำแนกธรรม ธรรมอันนำความสงบมาให้ เป็นไปเพื่อปรินิพพาน ให้ถึงการตรัสรู้ อันพระสุคตเจ้าทรงประกาศแล้ว พระตถาคต มิได้แสดง ถึงบุคคลผู้นี้จะเกิดในมัชฌิมชนบทและมีปัญหา ไม่บ้าใบ้ ทั้งสามารถจะรู้อรรถแห่งสุภาษิตและทุพภาษิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้มิใช่ขณะ มิใช่สมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๘ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย กาลอันมิใช่ขณะ มิใช่สมัยในการอยู่ประพฤติ พรหมจรรย์ ประการนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนขณะและสมัยในการอยู่ประพฤติ พรหมจรรย์ มีประการเดียว ประการเดียวเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ตถาคตอุบัติขึ้นแล้วในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เอง โดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งไปกว่า เป็นศาสดาของ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม และธรรมอันตถาคตทรงแสดง เป็นธรรมนำความสงบมาให้ เป็น ไปเพื่อปรินิพพานให้ถึงการตรัสรู้ พระสุคตเจ้าทรงประกาศแล้ว และบุคคลนี้เกิดในมัชฌิมชนบท ตั้งมีปัญญา ไม่บ้าใบ้ สามารถ เพื่อจะรู้อรรถแห่งสุภาษิตและทุพภาษิตได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นขณะและสมัย ในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ประการเดียว.

ชนเหล่าใด เกิดในมนุษยโลกแล้ว เมื่อ พระตถาคตทรงประกาศสัทธรรม ไม่เข้าถึงขณะ ชนเหล่านั้นเชื่อว่าล่วงขณะ ชนเป็นอันมาก กล่าว

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 454

เวลาที่เสียไปว่า กระทำอันตรายแก่ตน พระตถาคตเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ในกาลบางครั้ง บางคราว การที่พระตถาคตเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นใน โลก ๑ การได้กำเนิดเป็นมนุษย์ ๑ การแสดง สัทธรรม ๑ ที่จะพร้อมกันเข้าได้ หาได้ยากใน โลก ชนผู้ใคร่ประโยชน์ จึงควรพยายามในกาล ดังกล่าวมานั้น ที่ตนพอจะรู้จะเข้าใจสัทธรรมได้ ขณะอย่าล่วงเลยท่านทั้งหลายไปเสีย เพราะ บุคคลที่ปล่อยเวลาให้ล่วงไปพากันยัดเยียดใน นรก ก็ย่อมเศร้าโศก หากเขาจะไม่สำเร็จอริยมรรค อันเป็นธรรมตรงต่อสัทธรรมในโลกนี้ได้ เขาผู้มีประโยชน์อันล่วงเสียแล้ว จักเดือดร้อน สิ้นกาลนาน เหมือนพ่อค้าผู้ปล่อยให้ประโยชน์ ล่วงไป เดือดร้อนอยู่ ฉะนั้น คนผู้ถูกอวิชชา หุ้มห่อไว้ พรากจากสัทธรรม จักเสวยแต่สงสาร คือ ชาติและมรณะสิ้นกาลนาน ส่วนชนเหล่าใด ได้อัตภาพเป็นมนุษย์แล้ว เมื่อพระตถาคตประกาศสัทธรรม ได้กระทำแล้ว จักกระทำ หรือ กระทำอยู่ ตามพระดำรัสของพระศาสดา ชน เหล่านั้นชื่อว่าได้ประสบขณะ คือ การประพฤติ พรหมจรรย์อันยอดเยี่ยมในโลก ชนเหล่าใด ดำเนินไปตามมรรคา ที่พระตถาคตเจ้าทรงประ-

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 455

กาศแล้ว สำรวมในศีลสังวรที่พระตถาคตเจ้า ผู้มีจักษุเป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ ทรงแสดง แล้ว คุ้มครองอินทรีย์ มีสติทุกเมื่อ ไม่ชุ่มด้วย กิเลส ตัดอนุสัยทั้งปวงอันแล่นไปตามกระแส บ่วงมาร ชนเหล่านั้นแล บรรลุความสิ้นอาสวะ ถึงฝั่ง คือ นิพพานในโลกแล้ว.

จบ อักขณสูตรที่ ๙

อรรถกถาอักขณสูตรที่ ๙

อักขณสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ชาวโลกย่อมทำกิจทั้งหลายในขณะ เพราะเหตุนั้นชาวโลก นั้นชื่อว่า ขณกิจจะ ผู้ทำกิจในขณะ อธิบาย พอได้โอกาศทำกิจ ทั้งหลาย บทว่า ธมฺโม ได้แก่ ธรรมคือสัจจะทั้ง ๔. บทว่า อุปสมิโก ได้แก่ นำความสงบกิเลสมาให้. บทว่า ปรินิพฺพานิโก ได้แก่ กระทำ การดับกิเลสได้สิ้นเชิง. ชื่อว่า สมฺโพธคามี เพราะถึงคือบรรลุ สัมโพธิญาณ กล่าวคือ มรรคญาณ ๔. คำว่า ทีฆายุกํ เทวนิกายํ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึงเหล่าอสัญญีเทพ. บทว่า อวิญฺาตาเรสุ ความว่า ในพวกมิลักขะ ผู้ไม่รู้อย่างยิ่ง.

บทว่า สุปฺปเวทิเต ความว่า อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว บทว่า อนฺตรายิกา แปลว่า อันกระทำอันตราย. บทว่า ขโณ โว มา อุปจฺจคา ความว่า ขณะที่ท่านได้แล้วนี้ อย่าล่วงเลยท่านทั้งหลาย ไปเสีย. บทว่า อิธ เจ น วิราเธติ ความว่า ถ้าใครๆ มีปกติพฤติ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 456

ประมาท ถึงได้ขณะนี้ในโลกนี้แล้วก็ไม่สำเร็จ คือ ไม่บรรลุความ ที่พระสัทธรรมเป็นของแน่นอน คือ อริยมรรค. บทว่า อดีตตฺโถ ได้แก่ เป็นผู้เสื่อมประโยชน์แล้ว. บทว่า จิรตฺตนุตปิสฺสติ ความว่า จักเศร้าโศกสิ้นกาลนาน. เหมือนอย่างว่าพ่อค้าผู้หนึ่ง ได้ฟังข่าวว่า ในที่ชื่อโน้น สินค้ามีราคาเท่ากัน ก็ไม่พึงไป พ่อค้าเหล่าอื่นพึงไป ซื้อเขามา สินค้าเหล่านั้น ก็จะมีราคาเพิ่มขึ้นเป็น ๘ เท่าบ้าง. ๑๐ เท่าบ้าง เมื่อเป็นเช่นนั้น พ่อค้าอีกฝ่ายหนึ่งพึงเดือดร้อนด้วย คิดว่า ประโยชน์ของเราล่วงเลยไปแล้วดังนี้ฉันใด บุคคลใดได้ ขณะในโลกนี้แล้ว ไม่ปฏิบัติ ไม่ยินดีการกำหนดแน่นอนแห่งพระสัทธรรม บุคคลนั้นชื่อว่ามีประโยชน์อันล่วงแล้วเหมือนพ่อค้านี้ จักเดือดร้อนจักเศร้าโศกสิ้นกาลนานยิ่งกว่าใครๆ ฉันนั้น. บทว่า อวิชฺชานิวุโต พึงทราบความเหมือนอย่างนั้น. บทว่า ปจฺจวิทุํ แปลว่า ได้ตรัสรู้แล้ว. บทว่า สํวรา ได้แก่ผู้สำรวมในศีล. บทว่า มารเธยฺยสรานุเค ความว่า อันแล่นตามสังสารวัฏฏ์แก่งมาร บทว่า ปารคตา ได้แก่ถึงซึ่งพระนิพพาน. บทว่า เย ปตฺตา อาสวกฺขยํ/b> ความว่า ชนเหล่าใดบรรลุพระอรหัตแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสวัฏฏะและวิวัฏฏะไว้ในพระคาถาทั้งหลายใน พระสูตรนี้ ด้วยประการฉะนี้

จบ อรรถกถาอักขณสูตรที่ ๙