พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. อนุรุทธสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  2 พ.ย. 2564
หมายเลข  39586
อ่าน  411

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 457

ปัณณาสก์

คหปติวรรคที่ ๓

๑๐. อนุรุทธสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 457

๑๐. อนุรุทธสูตร

[๑๒๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ป่าเภสกลามิคทายวัน แขวงเมืองสุงสุมารคิยะ แคว้นภัคคชนบท ก็โดยสมัยนั้น ท่านพระอนุรุทธะอยู่ที่วิหารปาจีนวังสทายวัน แคว้นเจดีย์ ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะหลีกออกเร้นอยู่ในที่ลับ เกิดความปริวิตกทางใจอย่างนี้ว่า ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคล ผู้มีความปรารถนาน้อย มิใช่ของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก ของบุคคลสันโดษ มิใช่ของบุคคลผู้ไม่สันโดษ ของบุคคลผู้สงัด มิใช่ของบุคคลผู้ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ของบุคคลผู้ปรารภ ความเพียร มิใช่ของบุคคลผู้เกียจคร้าน ของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น มิใช่ของบุคคลผู้มีสติหลงลืม ของบุคคลผู้มีจิตมั่นคง มิใช่ของบุคคล ผู้มีจิตไม่มั่นคง ของบุคคลผู้มีปัญญา มิใช่บุคคลผู้มีปัญญาทราม.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความปริวิตกทางใจ ของท่านพระอนุรุทธะแล้ว เสด็จจากเภสกลามิคทายวัน แขวง สุงสุมารคิระ แคว้นภัคคชนบท ไปปรากฏเฉพาะหน้าท่านอนุรุทธะ ที่วิหารปาจีนวังสทายวัน เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขน ที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง บนอาสนะที่จัดไว้ถวายแล้ว แม้ท่านพระอนุรุทธะถวายบังคม พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะท่านพระอนุรุทธะว่า ดีแล้วๆ อนุรุทธะถูกละ ที่เธอตรึกมหาปุริสวิตกว่าธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีความ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 458

ปรารถนาน้อย มิใช่ของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก... ของบุคคล ผู้มีปัญญา มิใช่ของบุคคลผู้มีปัญญาทราม ก่อนอนุรุทธะ ถ้า อย่างนั้น เธอจงตรึกมหาปุริสวิตกข้อที่ ๘ นี้ว่า ธรรมนี้เป็นของ บุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ไม่ทำให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ไม่ทำ ให้เนิ่นช้า มิใช่ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ทำให้เนิ่นช้า ผู้ยินดี ในธรรมที่ทำให้เนิ่นช้า ดูก่อนอนุรุทธะ ในกาลใดแล เธอจักตรึก มหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ ในกาลนั้น เธอจักหวังได้ทีเดียวว่า จักสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ ในกาลนั้น เธอจักหวังได้ทีเดียวว่า จักบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ ในการนั้น เธอจักหวังได้ ทีเดียวว่า จักมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ในกาลใดแล เธอจัก ตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ ในกาลนั้น เธอจักหวังได้ทีเดียว จักบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับ โสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ และจักเป็น ผู้มีปกติได้ตามปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ นี้อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ในกาลนั้น ผ้า-

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 459

บังสุกุลจีวรจักปรากฏแก่เธอ ผู้สันโดษ อยู่ด้วยความยินดี ด้วยความ ไม่หวาดเสียว ด้วยความอยู่เป็นสุข ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนหีบใส่ผ้าของคฤหบดีหรือบุตรแห่งคฤหบดี อันเต็ม ไปด้วยผ้าสีต่างๆ ฉะนั้น ดูก่อนอนุรุทธะ ในกาลใดแล เธอจักตรึก มหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ และจักเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๘ ประการนี้ และจักเป็นผู้ ตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ นี้อันมี ในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ในกาลนั้น โภชนะ คือ คำข้าวที่ได้มาด้วยปลีแข้ง จักปรากฏแก่เธอผู้สันโดษ... ด้วยการ ก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนข้าวสุก (หุงจาก) ข้าวสาลี คัดเอา คำออกแล้ว มีแกงและกับหลายอย่าง ของคฤหบดีและบุตรแห่งคฤหบดี ฉะนั้น ดูก่อนอนุรุทธะ ในกาลในแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ และจักเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ นี้อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขใน ปัจจุบัน ในกาลนั้น เสนาสนะ คือ โคนไม้ จักปรากฏแก่เธอผู้ สันโดษ... ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนเรือนยอดของ คฤหบดีหรือบุตรของคฤหบดี ฉาบทาไว้ดีแล้ว ปราศจากลม เธอ จักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ และจักเป็นได้ตามความ ปรารถนา ได้โดยไม่ยาก. ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ นี้อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ในกาลนั้น ที่นอน ที่นั่งอันลาด ด้วยหญ้า จักปรากฏแก่เธอผู้สันโดษ... ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนบัลลังก์ของคฤหบดีหรือบุตรของคฤหบดี อันลาด

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 460

ด้วยผ้าโกเชาว์ขนยาว ลาดด้วยขนแกะสีขาว ลาดด้วยผ้าสัณฐาน เป็นช่อดอกไม้ มีเครื่องลาดอย่างดีทำด้วยหนังชะมด มีเครื่องลาด เพดานแดง มีหมอนข้างแดงสองข้าง ฉะนั้น ดูก่อนอนุรุทธะ ใน กาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ และจักเป็นผู้ได้ ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ นี้อันมี ในจิตยิ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ในกาลนั้น ยาดองด้วย น้ำมูตรเน่า จักปรากฏแก่เธอผู้สันโดษ... ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนเภสัชต่างๆ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ของคฤหบดีหรือบุตรของคฤหบดี ฉะนั้น.

ดูก่อนอนุรุทธะ ถ้าอย่างนั้น เธอพึงอยู่จำพรรษาที่วิหาร ปาจีนวังสทายวัน แคว้นเจดีย์นี้แหละ ต่อไปอีกเถิด ท่านพระอนุรุทธะ ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ ตรัสสอนท่านพระอนุรุทธะด้วยพระโอวาทนี้แล้ว เสด็จจากวิหาร ปาจีนวังสทายวัน แคว้นเจดีย์นคร ไปปรากฏที่ป่าเภสกลามิคทายวัน แขวงเมืองสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคะ เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลัง เหยียดแขนที่คู้หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนั่งบนอาสนะที่จัดไว้ถวายแล้ว ครั้นแล้วตรัสเรียกภิกษุ ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมหาปุริสวิตก ๘ ประการ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟัง ฯลฯ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ก็มหาปุริสวิตก ๘ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีความปรารถนาน้อย มิใช่ของบุคคล ผู้มีความปรารถนามาก ๑ ธรรมนี้เป็นของบุคคลผู้สันโดษ มิใช่

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 461

ของบุคคลผู้ไม่สันโดษ ๑ ธรรมนี้ของบุคคลผู้สงัด มิใช่ของบุคคล ผู้ชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ๑ ธรรมนี้ของบุคคลผู้ปรารภความเพียร มิใช่ของบุคคลผู้เกียจคร้าน ๑ ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น มิใช่ ของผู้มีสติหลงลืม ๑ ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น มิใจของบุคคล มีจิตไม่ตั้งมั่น ๑ ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีปัญญา มิใช่ของบุคคล ผู้มีปัญญาทราม ๑ ธรรมนี้ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ไม่เป็นเหตุ ให้เนิ่นช้า ยินดีในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า มิใช่ของบุคคล ผู้ชอบใจในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่เป็นเหตุ ให้เนิ่นช้า ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีความปรารถนาน้อย มิใช่ของบุคคลผู้มีความ ปรารถนามาก เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความปรารถนาน้อยย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า มีความปรารถนาน้อย เป็นผู้สันโดษ ย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้สันโดษ เป็นผู้สงัดย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้สงัด เป็นปรารภความเพียรย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้ เราว่า ปรารภความเพียร เป็นผู้มีสติตั้งมั่นย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า มีสติตั้งมั่น เป็นผู้มีจิตมั่นคงย่อมไม่ ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้มีจิตมั่นคง เป็น ผู้มีปัญญาย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า มีปัญญา เป็นผู้ชอบใจในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้าย่อมไม่ปรารถนาว่า

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 462

ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้ชอบใจในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้ เนิ่นช้า ข้อที่เรากล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคล ผู้มีความปรารถนาน้อย มิใช่ของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว.

ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคล ผู้สันโดษ มิใช่ของบุคคลผู้ไม่สันโดษ เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ตามมีตามได้ ข้อที่เรากล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้สันโดษ มิใช่ของบุคคลผู้ไม่สันโดษ ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว.

ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคล ผู้สงัด มิใช่ของบุคคลผู้ชอบใจการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ เราอาศัย อะไรกล่าวแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ และสาวก แห่งเดียรถีย์ เข้าไปหาภิกษุนั้น ภิกษุมีจิตน้อมไป โอนไป เงื้อมไป ในวิเวก ตั้งอยู่ในวิเวก ยินดีในเนกขัมมะ ย่อมกล่าวกถาอันปฏิ- สังยุตด้วยถ้อยคำตามสมควร ในสมาคมนั้นโดยแท้ ข้อที่กล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้สงัด มิใช่ของบุคคล ชอบใจการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว.

ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคล ผู้ปรารภความเพียร มิใช่ของบุคคลผู้เกียจคร้าน เราอาศัยอะไร กล่าวแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปรารภ

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 463

ความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรม มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม ข้อที่เรา กล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้ปรารภคราม เพียร มิใช่ของบุคคลผู้เกียจคร้าน ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว.

ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคล ผู้มีสิตตั้งมั่น มิใช่ของบุคคลผู้มีสติหลงลืม เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วย สติเครื่องรักษาตัวอย่างยิ่ง ระลึกนึกถึงกิจที่ทำคำที่พูดแม้นานได้

ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีสติ ตั้งมั่น มิใช่ของบุคคลผู้มีสติหลงลืม ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว. ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคล มีจิตมั่นคง มิใช่ของบุคคลผู้มีจิตไม่มั่นคง เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ข้อที่เรากล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ ของบุคคลมีจิตมั่นคง มิใช่ของบุคคลผู้มีจิตไม่มั่นคง ดังนี้ เราอาศัย ข้อนี้กล่าวแล้ว.

ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคล ผู้มีปัญญา มิใช่ของบุคคลผู้มีปัญญาทราม เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบ ด้วยปัญญาเครื่องพิจารณาความเกิดและความดับ เป็นอริยะ ชำแรก กิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ข้อที่เรากล่าวว่า ดูก่อนภิกษุ

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 464

ทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีปัญญา มีใช่ของบุคคลผู้มีปัญญาทราม ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว.

ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคล ผู้ชอบใจในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ไม่เป็น เหตุให้เนิ่นช้า มิใช่ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นอยู่ในความดับกิเลสเป็นเหตุให้เนิ่นช้า ย่อมหลุดพ้น ข้อที่เรา กล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรม ที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า มิใช่ ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรม ที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว.

ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะอยู่จำพรรษาที่วิหารปาจีนวังสทายวัน แคว้นเจดีย์นครนนั้นนั่นแล ต่อไปอีก ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะหลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ไม่นานนัก ก็กระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์ อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายยออกบวชเป็นบรรพชิต โดยชอบ ตามต้องการนั้นด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ได้ว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็ท่านพระอนุรุทธะได้เป็นพระอรหันต์ รูปหนึ่งในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย ลำดับนั้น ท่านพระอนุรุทธะ บรรลุอรหัตแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ไว้ในเวลานั้นว่า

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 465

พระศาสดาผู้เป็นเยี่ยมในโลก ทรงทราบ ความดำริของเราแล้ว ได้เข้ามาหาเราด้วยฤทธิ์ ทางพระกายอันสำเร็จแต่พระหฤทัย พระองค์ได้ ทรงแสดงธรรมอันยิ่งกว่าความดำริของเราเท่าที่ ดำริไว้ พระพุทธเจ้าผู้ยินดีแล้วในธรรมอันไม่เป็น เหตุให้เนิ่นช้า ได้ทรงแสดงซึ่งธรรนอันเป็นเหตุ ให้เนิ่นช้า เราได้รู้ทั่วถึงธรรมของพระองค์แล้ว ยินดีในศาสนาอยู่ เราได้บรรลุวิชชา ๓ แล้วโดย ลำดับ คำสอนของพระพุทธเจ้าเรากระทำแล้ว

จบ อนุรทธะสูตรที่ ๑๐

จบ คหปติวรรคที่ ๓

อรรถกถาอนุรุทธสูตรที่ ๑๐

อนุรุทธสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า เจตีสุ ความว่า ในรัฐอันได้ชื่ออย่างนั้น เพราะรัฐนั้น เป็นที่ประทับอยู่ของเจ้าทั้งหลาย พระนามว่าเจตี. บทว่า ปาจีนวํสทาเย ความว่า ที่ป่าวังสทายะ อันตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก แต่ที่ประทับ อยู่ของพระทศพล อันเป็นราวป่าดารดาดไปด้วยไม้ไผ่มีสีเขียว.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 466

บทว่า เอวํ เจตโส ปริวิตกฺโก อุทปาทิ ความว่า ได้ยินว่า พระเถระบวชแล้ว เป็นผู้ได้สมาบัติในภายในพรรษาก่อนเพื่อน ให้เกิดทิพยจักษุที่สามารถให้เห็นพ้นโลกธาตุได้. ท่านได้ไปยังสำนัก ของพระสารีบุตรเถระ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านพระสารีบุตร ในที่นี้ ข้าพเจ้าเห็นพ้นโลก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุมนุษย์. ก็ความเพียรอันข้าพเจ้าปรารภแล ไม่ย่อหย่อน สติอันข้าพเจ้าตั้งมั่น แล้ว ไม่หลงลืม กายสงบไม่กระสับกระส่าย จิตตั้งมั่นมีอารมณ์ เดียว ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น จิตของข้าพเจ้า ยังไม่หลุดพ้นจากอาสวะ ทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่นดังนี้. ลำดับนั้น พระสารีบุตรเถระกล่าว กะท่านว่า ดูก่อนท่านอนุรุทธะความคิดอันใดแล ที่มีอยู่แก่ท่าน อย่างนี้ว่า ข้าพเจ้ามองเห็น ฯลฯ ด้วยทิพยจักษุดังนี้ ความคิดของ ท่านนี้เป็นมานะ. ดูก่อนท่านอนุรุทธะ ความคิดแม้ใดของท่านที่มี อยู่อย่างนี้ว่า ก็ความเพียร อันข้าพเจ้าปรารภแล้ว ฯลฯ มีอารมณ์ เดียว ความคิดอันนี้ของท่านก็เป็นอุทธัจจะ ความคิดแม้ใด ของท่าน ที่มีอยู่อย่างนี้ว่า ก็แลเมื่อเป็นเช่นนั้น จิตของข้าพเจ้ายังไม่หลุดพ้น จากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น ความคิดของท่านก็เป็นกุกกุจจะ ดีละ ท่านอนุรุทธะ จงละธรรม ประการเหล่านี้เสีย ไม่ใส่ใจ ธรรม ๓ ประการเหล่านี้ จงน้อมจิตเข้าไปเพื่อสมณธรรม ดังนี้ พระเถระบอกกรรมฐานแก่ท่านด้วยประการฉะนี้. ท่านรับกรรมฐาน แล้ว ทูลลาพระศาสดาไปยังเจดีย์รัฐกระทำสมณธรรม ยับยั้งอยู่ ด้วยการจงกรมเป็นเวลาครึ่งเดือน. ท่านลำบากกาย เพราะกรากกรำ

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 467

ด้วยกำลังความเพียร นั่งอยู่ภายใต้พุ่มไผ่พุ่มหนึ่ง. บทว่า อถสฺสายํ เอวํ เจตโส ปริวิตกฺโก อุทปาทิ ความว่า มหาปุริสวิตกนี้เกิดขึ้น.

ในบทว่า อปฺปิจฺฉสฺส นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนื้ :- บุคคลผู้ มักน้อย ๔ จำพวก คือ มักน้อยในปัจจัย มักน้อยในอธิคม มักน้อย ในปริยัติ มักน้อยในธุดงค์ ในบรรดาผู้มักน้อย ๔ จำพวกนั้น ภิกษุผู้มักน้อยในปัจจัย เมื่อเขาให้มากย่อมรับแต่น้อย หรือเมื่อเขา ให้น้อยย่อมรับให้น้อยลง ย่อมไม่รีดเอาจนไม่เหลือ. ผู้มักน้อย ในอธิคม ย่อมไม่ให้ผู้อื่นรู้มรรคผลที่บรรลุของตน เหมือนพระมัชฌันติกเถระฉะนั้น. ผู้มักน้อยในปริยัติ แม้เป็นผู้ทรงพระไตรปิฎก ก็ไม่ปรารถนาจะให้ผู้อื่นรู้ความเป็นพหูสูต เหมือนพระสาเกตกเถระ. ผู้มักน้อยในธุดงค์ ย่อมไม่ให้ผู้อื่นรู้ว่าตนรักษาธุดงค์ เหมือน พระเถระผู้เป็นพี่ชายในพระเถระสองพี่น้อง. เรื่องกล่าวไว้แล้ว ในวิสุทธิมรรค.

บทว่า อยํ ธมฺโม ความว่า ธรรมนี้คือโลกุตตรธรรม ๙ ย่อมเกิดแก่บุคคลผู้ชื่อว่ามีความมักน้อย เพราะปกปิดคุณที่ตนได้ อย่างนี้ และเพราะรู้จักประมาณในการรับ ไม่เกิดแก่บุคคลผู้ มักมาก. ในบททุกบท พึงประกอบความอย่างนี้. บทว่า สนฺตุฏฺสฺส ได้แก่ ผู้สันโดษด้วยสันโดษ ๓ ในปัจจัย ๔.

บทว่า ปวิวิตฺตสฺส ได้แก่ ผู้สงัดด้วยกายวิเวก จิตวิเวก และอุปธิวิเวก. ในวิเวก ๓ อย่างนั้น ความบรรเทาความคลุกคลีด้วย หมู่คณะแล้วเป็นผู้มีกายโดดเดี่ยว ด้วยอำนาจอารัมภวัตถุ เรื่อง ปรารภความเพียร ชื่อว่ากายวิเวก. แต่กรรมฐานย่อมไม่สำเร็จ

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 468

ด้วยอาการเพียงอยู่ผู้เดียว เพราะฉะนั้น พระโยคีกระทำบริกรรมกสิณแล้วยังสมาบัติ ๘ ให้บังเกิด นี้ชื่อว่าจิตวิเวก. กรรมฐาน ย่อมไม่สำเร็จด้วยเหตุเพียงสมาบัติเท่านั้น เพราะเหตุนั้น พระโยคี กระทำฌานให้เป็นบาท พิจารณาสังขารทั้งหลาย แล้วบรรลุ พระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา นี้ชื่อว่า อุปธิวิเวก สงัดกิเลส โดยอาการทั้งปวง. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า กายวิเวกสำหรับบุคคลผู้มีกายสงัด ผู้ยินดียิ่งในเนกขัมมะ จิตวิเวก สำหรับบุคคลผู้มีจิตบริสุทธิ์ ผู้ถึงความผ่องแผ้วอย่างยิ่ง ละอุปธิวิเวก สำหรับบุคคลผู้ปราศจากอุปธิกิเลส ถึงพระนิพพานอันปราศจาก สังขาร ดังนี้.

บทว่า สงฺคณิการามสฺส ได้แก่ ผู้ยินดีด้วยการคลุกคลีในหมู่ และคลุกคลีด้วยกิเลส. บทว่า อารทฺธวีริยสฺส ได้แก่ ผู้ปรารภ ความเพียรด้วยอำนาจความเพียรทางกายและทางจิต. บทว่า อุปฏฺิตสฺสติสฺส ได้แก่ ผู้มีสติตั้งมั่นด้วยอำนาจสติปัฏฐาน ๔. บทว่า สมาหิตสฺส ได้แก่ ผู้มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง. บทว่าปญฺวโต ได้แก่ ผู้มีปัญญาด้วยปัญญาเป็นเหตุรู้ว่าสัตว์มีกรรมเป็นของของตน.

บทว่า สาธุ สาธุ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรง ยังจิตของพระเถระให้ร่าเริง จึงตรัสอย่างนี้. บทว่า อิมํ อฏฺมํ ความว่า เมื่อจะตรัสบอกมหาปุริสวิตกข้อที่ ๘ แก่พระอนุรุทธะ ผู้ตรึกมหาปุริสวิตก ๗ ประการอยู่ จึงตรัสอย่างนั้น เหมือนให้ ขุมทรัพย์ที่ ๘ แก่บุรุษผู้ได้ขุมทรัพย์ ๗ ขุม และเหมือนให้ขุมทรัพย์ ที่ ๘ แก่บุรุษผู้ได้แก้วมณี ๗ ช้างแก้ว ๗ ม้าแก้ว ๗. บทว่า

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 469

นิปฺปปญฺจารามสฺส ความว่า ผู้ยินดียิ่งในบท คือนิพพาน กล่าว คือธรรมที่ปราศจากความเนิ่นช้า เพราะเว้นจากธรรมเครื่องเนิ่นช้า คือ ตัณหา มานะ และทิฏฐิ. คำนอกนี้เป็นไวพจน์ของบทว่า นิปฺปปญฺจารามสฺส นั้นนั่นแหละ. บทว่า ปญฺจารามสฺส ได้แก่ ผู้ยินดียิ่งในธรรมเครื่องเนิ่นช้าตามที่กล่าวแล้ว. คำนอกนี้เป็น ไวพจน์ของบทว่า ปปญฺจารามสฺส นั้นนั่นแหละ.

บทว่า ยโต แปลว่า ในกาลใด. บทว่า ตโต แปลว่า ในกาลนั้น. บทว่า นานารตฺตานํ ความว่า ย้อมแล้วด้วยเครื่องย้อม ต่างๆ อันมีสีเขียง สีเหลือง สีแดง และสีขาว. บทว่า ปํสุกูลจีวรํ ได้แก่ ผ้าบังสุกุลที่ (ตั้ง) อยู่ใน ๒๓ เขต. บทว่า ยายิสฺสติ ความว่า เมื่อคฤหบดีนั้นห่มผ้าที่ตนเปรารถนาในสมัยมีเวลาเช้าเป็นต้น หีบ ใส่ผ้านั้นย่อมปรากฏเป็นของน่าพอใจ ฉันใด แม้เมื่อเธอยินดีอยู่ ด้วยมหาอริยวงศ์ คือสันโดษด้วยจีวร ผ้าบังสุกุลจีวรจักปรากฏ คือ จักเข้าไปปรากฏ ฉันนั้น. บทว่า รติยา แปลว่า เพื่อประโยชน์ แก่ความยินดี. บทว่า อปริตสฺสาย ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่ความ ได้สะดุ้งเพราะตัณหาและทิฏฐิ. บทว่า ผาสุวิหาราย ได้แก่ เพื่อ ความอยู่เป็นสุข. บทว่า โอกฺกมนาย นิพฺพานสฺส ได้แก่ เพื่อต้องการ หยั่งลงสู่อมตนิพพาน.

บทว่า ปิณฺฑิยาโลปโภชนํ ได้แก่ โภชนะ คือคำข้าวที่ตน อาศัยกำลังแข้งเที่ยวไปตามลำดับ เรือน ในคาม นิคม และราชธานี ได้มา. บทว่า ขายิสฺสติ ความว่า จักปรากฏเหมือนโภชนะมีรสเลิศ ต่างๆ ของคฤหบดีนั้น. บทว่า สนฺตุฏฺสฺส วิหรโต ความว่า

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 470

ผู้สันโดษอยู่ด้วยมหาอริยวงศ์ คือความสันโดษด้วยบิณฑบาต. บทว่า รุกฺขมูลเสนาสนํ ขายิสฺสติ ความว่า เสนาสนะ คือโคนไม้ ย่อม ปรากฏเหมือนเรือนยอดที่หอมตลบไปด้วยธูปหอมและเครื่องอบ กลิ่นดอกไม้บนปราสาท ๓ ชั้น ของคฤหบดีนั้น. บทว่า สนฺตุฏฺสฺส ได้แก่ สันโดษด้วยมหาอริยวงค์ คือ ความสันโดษด้วยเสนาสนะ. บทว่า ติณสนฺถรโก ได้แก่ เครื่องลาดที่ลาดด้วยหญ้าหรือไม้ ที่พื้นดินหรือที่แผ่นกระดานและแผ่นหินอย่างหนึ่ง.

บทว่า ปูติมุตฺตํ ความว่า มูตรอย่างใดอย่างหนึ่ง แม้ที่ถือเอา ในขณะนั้น ท่านก็เรียกว่า มูตรเน่าเหมือนกัน เพราะมีกลิ่นเหม็น. บทว่า สนฺตุฏฺสฺส วิหรโต ได้แก่ ผู้สันโดษด้วยความสันโดษด้วย คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร. ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรง ตรัสพระกรรมฐานใส่ไว้ในพระอรหัตในฐานะ ๔ เมื่อทรงรำพึงว่า กรรมฐานจักเป็นสัปปายะแก่อนุรุทธะผู้อยู่ในเสนาสนะไหนหนอ ทรงทราบว่า อยู่ในที่นั้นนั่นแหละ จึงตรัสคำมีอาทิว่า เตนหิ ตฺวํ อนุรุทฺธ ดังนี้.

บทว่า ปวิวิตฺตสฺส วิหรโต ความว่า ผู้สงัดด้วยวิเวก ๓ อยู่ บทว่า อุยฺโยชนิกปฏิสํยุตฺตํ ความว่า อันเกี่ยวด้วยถ้อยคำอันควรแก่ การส่งกลับไป. อธิบายว่า กิริยาที่ลุกขึ้นและกิริยาที่เดินไปของคน เหล่านั้นนั่นแหละ. บทว่า ปปญฺจนิโรเธ ได้แก่ ในบทคือพระนิพพาน. บทว่า ปกฺขนฺทติ ความว่า ย่อมแล่นไปด้วยสามารถแห่งการทำ ให้เป็นอารมณ์. แม้ในบทว่า ปสีทติ เป็นต้น พึงทราบความเลื่อมใส ความตั้งมั่น และความหลุดพ้น ด้วยสามารถแห่งอารมณ์นั่นแหละ.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 471

ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อตรัสมหาปุริสวิตก ๘ ข้อ แก่ท่าน พระอนุรุทธะ ณ ปาจีนวังสทายวันในเจติรัฐ ประทับนั่งที่เภสกฬาวันมหาวิหาร จึงตรัสโดยพิสดารอีกแก่ภิกษุสงฆ์.

บทว่า มโนมเยน ความว่า กายที่บังเกิดด้วยใจก็ดี ที่ไป ด้วยใจก็ดี เรียกว่า มโนมยะ สำเร็จแล้วด้วยใจ. แต่ในที่นี้ทรง หมายเอากายที่ไปด้วยใจ จึงตรัสอย่างนี้. บทว่า ยถา เม อหุ สงฺกปฺโป ความว่า เราได้มีความตรึกโดยประการใด. บทว่า ตโต อุตฺตริ ความว่า พระศาสดาเมื่อจะทรงแสดงมหาปุริสวิตก ๘ ประการ จึงแสดงให้ยิ่งกว่านั้น. คำที่เหลือทั้งหมดมีอรรถง่าย ดังนั้นแล.

จบ อรรถกถาอนุรุทธสูตรที่ ๑๐

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อุคคสูตรที่ ๑ ๒. อุคคสูตรที่ ๒ ๓. หัตถสูตรที่ ๑ ๔. หัตถสูตรที่ ๒ ๕. มหานามสูตร ๖. ชีวกสูตร ๗. พลสูตรที่ ๑ ๘. พลสูตรที่ ๒ ๙. อักขณสูตร ๑๐. อนุรุทธาสูตร. และอรรถกถา

จบ คหปติวรรคที่ ๓