พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. ปฐมทานสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  2 พ.ย. 2564
หมายเลข  39587
อ่าน  374

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 472

ปัณณาสก์

ทานวรรคที่ ๔

๑. ปฐมทานสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 472

ทานวรรคที่ ๔

๑. ปฐมทานสูตร

[๑๒๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทาน ๘ ประการนี้ ๘ ประการ เป็นไฉน คือ บางคนหวังได้จึงให้ทาน ๑ บางคนให้ทานเพราะกลัว ๑ บางคนให้ทานเพราะนึกว่า เขาให้แก่เราแล้ว ๑ บางคนให้ทาน เพราะนึกว่า เขาจักให้ตอบแทน ๑ บางคนให้ทานเพราะนึกว่า ทานเป็นการดี ๑ บางคนให้ทานเพราะนึกว่า เราหุงหากิน ชน เหล่านี้หุงหากินไม่ได้ ๑ เราหุงหากินได้ จะไม่ให้ทานแก่ชนเหล่านี้ ผู้ไม่หุงหากินไม่สมควร ๑ บางคนให้ทานเพราะนึกว่า เมื่อเราให้ทาน กิตติศัพท์อันงามย่อมฟุ้งไป ๑ บางคนให้ทานเพื่อประดับปรุงแต่ จิต ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทาน ๘ ประการนี้แล.

จบ ปฐมทานสูตรที่ ๑

อรรถกถาปฐมทานสูตรที่ ๑

วรรคที่ ๔ ปฐมทานสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อาสชฺช ทานํ เทติ ความว่า บุคคลบางคน ให้ทาน เพราะประจวบเข้า คือพอเห็นปฏิคาหกมาถึง นิมนต์ให้ท่านนั่งครู่หนึ่ง กระทำสักการะแล้วจึงให้ทาน ย่อมไม่ลำบากใจว่า จักให้. บทว่า

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 473

ภยา ได้แก่ เพราะกลัวครหาว่าเป็นผู้ไม่ให้เป็นผู้ไม่ทำ หรือ เพราะกลัวอบายภูมิ. บทว่า อทาสิ เม ความว่า ให้ด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ให้สิ่งชื่อนี้แก่เราในกาลก่อน. บทว่า ทสฺสติ เม ความว่า ให้ด้วยคิดว่า ผู้นี้จักให้สิ่งชื่อนี้แก่เราในอนาคต. บทว่า สาหุ ทานํ ความว่า ให้ด้วยคิดว่า ขึ้นชื่อว่าทานยังประโยชน์ให้สำเร็จ คือดี ได้แก่อันบัณฑิตมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นสรรเสริญแล้ว. บทว่า จิตฺตาลงฺการจิตฺตปริกฺขารตฺถํ ทานํ เทต ความว่า ให้เพื่อประดับ และตกแต่งจิตในสมถะและวิปัสสนา. เพราะว่าทานย่อมทำจิตให้ อ่อนโยน บุคคลผู้ได้รับทาน ย่อมมีจิตอ่อนโยนดีว่าเราได้แล้ว แม้บุคคลให้ทานนั้น ก็ย่อมมีจิตอ่อนโยนว่า เราให้ทานแล้ว. เพราะฉะนั้น ทานนั้นชื่อว่า ย่อมทำจิตของบุคคลทั้ง ๒ ฝ่ายให้ อ่อนโยน เพราะเหตุนั้นนั่นแล. ท่านจึงตรัสว่า อทนฺตทมนํ การฝึกจิต ที่ยังไม่ได้ฝึก ดังพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า.

อทนฺตทมนํ ทานํ อทานํ ทนฺตทูสกํ อเนน ปิยวาเจน โอณมนฺติ มนมฺติ จ.

การให้ทานเป็นเครื่องฝึกจิตที่ยังไม่ได้ฝึก การไม่ให้ทานเป็นเครื่องประทุษร้ายจิตที่ฝึกแล้ว ชนทั้งหลายมีจิตโอนอ่อน และน้อมลงด้วยปิยวาจานี้.

ก็บรรดาการให้ทาน ๘ ประการนี้ การให้เพื่อประดับจิต เท่านั้น เป็นสูงสุดแล.

จบ อรรถกถาปฐมทานสูตรที่ ๑