การพูดเรื่องคนอื่น

 
Jaruwan
วันที่  10 มิ.ย. 2550
หมายเลข  3959
อ่าน  3,114

เราไม่จะควรพูดเรื่องคนอื่น โดยเฉพาะเรื่อง วิจารณ์ใช่ไหมคะ เพราะเห็นอาจารย์ชอบพูดว่าไม่ต้องพูดถึงเรื่องของคนอื่นแค่ดูตัวเราก็พอ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 11 มิ.ย. 2550

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแนะนำสาวกทั้งหลายว่า เมื่อพูดถึงสิ่งใดแล้วอกุศลธรรมเจริญกุศลธรรมเสื่อม ไม่ควรพูดถึงสิ่งนั้น เมื่อพูดถึงสิ่งใดอกุศลธรรมเสื่อมกุศลธรรมเจริญควรพูดถึงสิ่งนั้น ไม่ใช่ว่าไม่ควรพูดโดยประการทั้งปวง สำหรับเรื่องของคนอื่น และเรื่องของตัวเองก็เช่นกัน ที่สำคัญอยู่ที่จิต และควรทราบว่าในขณะที่ถึงความไม่ดีของผู้อื่น โดยมากจิตเป็นอกุศล วาจาเป็นวจีทุจริตตามหลักธรรมทรงแสดงว่า ไม่ควรเพ่งโทษของผู้อื่น เพราะผู้ที่เพ่งโทษของผู้อื่น อกุศลย่อมเจริญ สมดังข้อความในธรรมบทว่า..

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔

ปรวชฺชานุปสฺสิสฺส นิจฺจํ อุชฺฌานสญฺญิโน อาสวา ตสฺส วฑฺฒนฺติ อารา โส อาสวกฺขยา. "อาสวะทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลนั้น ผู้คอยดูโทษของบุคคลอื่น ผู้มีความมุ่งหมายในอันยกโทษ เป็นนิตย์, บุคคลนั้น เป็นผู้ไกลจากความสิ้นไปแห่งอาสวะ."

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
study
วันที่ 11 มิ.ย. 2550

ขอเชิญคลิกอ่านที่นี่

สิ่งที่ควรกล่าวและไม่ควรกล่าว

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
แวะเข้ามา
วันที่ 11 มิ.ย. 2550

ขออนุโมทนา

" สติ จำปรารถนาในที่ทั้งปวง "

ผู้ที่ประพฤติเช่นนั้นได้ ต้องเป็นผู้ที่สมบูรณ์ด้วยสติ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 11 มิ.ย. 2550

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐกนวกนิบาต-หน้าที่ 299

อนึ่ง เธอเข้าประชุมสงฆ์ ไม่พูดเรื่องต่างๆ ไม่พูดเรื่องไม่เป็นประโยชน์ ย่อมแสดงธรรมเองบ้าง ย่อมเชื้อเชิญผู้อื่นให้แสด บ้าง ย่อมไม่ดูหมิ่นการนิ่งอย่างพระอริยเจ้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ ๗ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ฯลฯ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว.

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 11 มิ.ย. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

เราไม่จะควรพูดเรื่องคนอื่น โดยเฉพาะเรื่อง วิจารณ์ใช่ไหมคะ เพราะเห็นอาจารย์ชอบพูดว่าไม่ต้องพูดถึงเรื่องของคนอื่นแค่ดูตัวเราก็พอสิ่งใดที่เป็นไปทางอกุศลย่อมไม่ควรครับ แต่ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ถ้าปัญญายังน้อย อกุศลก็เกิดมากทำให้หลงลืมสติ ที่จะพูดถึงคนอื่นในทางที่ไม่ดีในทางอกุศล การจะพูดถึงคนอื่น แม้ในเรื่องที่ไม่ดีของเขา ไม่จำเป็นต้องเป็นอกุศลเสมอไป ด้วยจิตที่เป็นกุศลก็ได้ หรือพูดเรื่องคนอื่นในความดีของเขา ก็ไม่จำเป็นจะต้องเป็นกุศล เป็นอกุศลก็ได้ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องของสภาพจิตที่เกิดขึ้น ที่สำคํญ เมื่อมีเหตุที่จะพูดเรื่องคนอื่น ด้วยจิตที่เป็นอกุศล ก็ต้องรู้จักตัวเองตามความเป็นจริง ว่าอกุศลก็คืออกุศล ห้ามให้เกิดไม่ได้แต่รู้ลักษณะของเขาว่า เป็นธรรมเพื่อละความยึดถือว่า เป็นเราที่เป็นอกุศล ซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะรู้ได้อย่างนี้ แต่เป็นหนทางเดียวที่จะดับกิเลสได้ ที่สำคัญ อบรมให้ถึงจุดนั้นได้ด้วยการฟังเรื่องสภาพธัมมที่มีจริงในขณะนี้ อดทนที่จะฟัง เพราะปัญญาเป็นสิ่งที่เกิดยากครับ แต่อบรมได้ส่วนการขัดเกลากิเลสในชีวิตประจำวัน แทนที่จะเป็นอกุศลกับคนอื่น เปลี่ยนเป็นกุศลมากขึ้นก็ด้วยการฟังพระธรรมของพระพุทธเจ้าในเรื่องนั้น ดังจะขอยกข้อความที่เกี่ยวกับเรื่อง การพูดครับ ลองอ่านดูนะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 11 มิ.ย. 2550
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 11 มิ.ย. 2550

เรื่อง ลักษณะการพูดของคนพาล

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 228

ข้อความบางตอนจาก สัปปุริสสูตร

[๗๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ

พึงทราบว่าเป็นอสัตบุรุษ ธรรม ๔ ประการคืออะไร คือ

อสัตบุรุษในโลกนี้ เรื่องใดเป็นข้อเสียหายของผู้อื่น แม้ไม่มีใครถาม

ก็เผยเรื่องนั้น จะกล่าวอะไรถึงถูกถาม มีใครซักถามเข้าก็เล่าเรื่องอันเป็นข้อ

เสียหายของผู้อื่นเสียอย่างพิสดารเต็มที่ ไม่ให้บกพร่อง ไม่หน่วงเหนี่ยวทีเดียว

นี่พึงทราบเถิดว่า ผู้นี้เป็นอสัตบุรุษ

อีกประการหนึ่ง อสัตบุรุษ เรื่องใดเป็นเกียรติคุณของผู้อื่น แม้

ถูกถาม ก็ไม่เผยเรื่องนั้น จะกล่าวอะไรถึงไม่ถูกถาม ถูกซักถามจังหน้าเช้า

(ไม่มีทางหลีก) ก็เล่าเกียรติคุณของผู้อื่นอย่างอ้อมแอ้มไม่เต็มปาก อ้อมค้อม

หน่วงเหนี่ยว นี่พึงทราบเถิดว่า ผู้นี้เป็นอสัตบุรุษ

อีกประการหนึ่ง อสัตบุรุษ เรื่องใดเป็นข้อเสียหายของตน แม้ถูกถาม

ก็ไม่เผยเรื่องนั้น จะกล่าวอะไรถึงไม่ถูกถาม ถูกซักถามจังหน้าเข้า ก็เล่าข้อ

เสียหายของตน อย่างอ้อมแอ้มไม่เต็มปาก อ้อมค้อม หน่วงเหนี่ยว นี่พึงทราบ

เถิดว่า ผู้นี้เป็นอสัตบุรุษ

อีกประการหนึ่ง อสัตบุรุษ เรื่องใดเป็นเกียรติคุณของตน แม้ไม่มี

ใครถามก็เผยเรื่องนั้นขึ้นเอง จะกล่าวอะไรถึงมีคนถาม มีใครซักถามเข้าก็เล่า

เรื่องที่เป็นเกียรติคุณของตนอย่างพิสดารเต็มที่ไม่ให้บกพร่อง ไม่หน่วงเหนี่ยว

ทีเดียว นี่พึงทราบเถิดว่า ผู้นี้เป็นอสัตบุรุษ บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็นอสัตบุรุษ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 11 มิ.ย. 2550

ขอเชิญคลิกอ่านที่นี่

เรื่อง ลักษณะการพูดของบัณฑิต

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
saowanee.n
วันที่ 11 มิ.ย. 2550

เรื่องของการประทุษร้ายทางวาจาเป็นสิ่งที่น่ากลัวมาก เพราะเป็นสิ่งที่กระทำได้

ง่ายกว่าทางกาย ไม่ต้องมีการตระเตรียมศัสตราอาวุธ หรือแม้กระทั่งเคลื่อน

ไหวร่างกายเพียงแต่เปล่งวาจาออกมาเท่านั้น คำพูดเพียงไม่กี่คำ สามารถที่

จะเสียดแทงจิตใจคนฟังได้ ให้ถึงกับกินไม่ได้นอนไม่หลับ เรื่องของวาจา

จึงไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
Salapao
วันที่ 11 มิ.ย. 2550

อนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
Koy
วันที่ 11 ม.ค. 2551

จริงๆ ทั้งนั้นค่ะ อนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ