พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. ทานูปปัตติสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  2 พ.ย. 2564
หมายเลข  39591
อ่าน  459

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 481

ปัณณาสก์

ทานวรรคที่ ๔

๕. ทานูปปัตติสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 481

๕. ทานูปปัตติสูตร

[๑๒๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุเกิดขึ้นแห่งทาน ๘ ประการ นี้ ๘ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาให้สิ่งใด ย่อมหวั่งสิ่งนั้น เขาเห็นกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือ คฤหบดีมหาศาล ผู้เอิบอิ่มพรั่งพร้อมบำเรออยู่ด้วยกามคุณ ๕ เขามีความปรารถนาอย่างนี้ว่า โอหนอ เมื่อตายไป ขอเราพึงเข้าถึง ความเป็นสหายของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล เขาตั้งจิตอธิษฐาน นึกภาวนาอยู่ จิตของเขานึก น้อมไปในทางเลว ไม่เจริญยิ่งขึ้น เมื่อตายไป เข้าย่อมเข้าถึงความ เป็นสหายของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล แต่ข้อนั้นเรากล่าวว่าเป็นของมีศีล ไม่ใช่ของผู้ทุศีล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความปรารถนาแห่งใจของบุคคลผู้มีศีล ย่อม สำเร็จได้เพราะจิตบริสุทธิ์

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมให้ทาน คือ ข้าว น้ำ... เครื่องประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาให้ส่งใด ย่อมหวังสิ่งนั้น เขาได้สดับมาว่า เทวดาชั้นจาตุมมหาราชมีอายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก เขาจึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า โอหนอ เมื่อตายไป ขอเราพึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้น จาตุมมหาราช เขาตั้งจิตอธิษฐาน นึกภาวนาอยู่ จิตของเขานึก

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 482

น้อมไปในทางที่เลว ไม่เจริญยิ่งขึ้น เมื่อตายไป เขาเข้าถึงความ เป็นสหายแห่งเทวดาชั้นจาตุมมหาราช แต่ข้อนั้นเรากล่าวว่าเป็น ของมีศีล ไม่ใช่ของทุศีล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความปรารถนา แห่งใจของบุคคลผู้มีศีล ย่อมสำเร็จได้เพราะจิตบริสุทธิ์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมให้ทาน คือ ข้าว น้ำ... เครื่องประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาให้สิ่งใด ย่อมหวังสิ่งนั้น เขาได้สดับมาว่า เทวดาชั้นดาวดึงส์... ชั้นยามา... ชั้นดุสิต... ชั้นนิมนานรดี... ชั้นปรนิมมิตววัตตี มีอายุยืน มี ผิวพรรณงาม มีความสุขมาก เขาจึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า โอหนอ เมื่อตายไป ขอเราพึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้น ปรนิมมิตวสวัตตี เขาตั้งจิตอธิษฐาน นึกภาวนาอยู่ จิตของเขา นึกน้อมไปในทางเลว ไม่เจริญยิ่งขึ้น เมื่อตายไป เขาเข้าถึงความ เป็นสหายแห่งเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตี แต่ข้อนั้นเรากล่าวว่าเป็น ของผู้มีศีล ไม่ใช่ของผู้ทุศีล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความปรารถนา แห่งใจของคนผู้มีศีล ย่อมสำเร็จได้เพราะจิตบริสุทธิ์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ... เครื่องประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาให้สิ่งใด ย่อมหวังสิ่งนั้น เขาได้สดับมาว่า เทวดาชั้นพรหม มีอายุยืน มี ผิวพรรณงาม มีสุขมาก เขาจึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า โอหนอ เมื่อตายไป ขอเราพึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งพรหม เขาตั้งจิต อธิษฐาน นึกภาวนาอยู่ จิตของเขานึกน้อมไปในทางที่เลว ไม่เจริญ ยิ่งขึ้น เมื่อตายไป เขาเข้าถึงความเป็นสหายแห่งพรหม แต่ข้อนั้น

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 483

เรากล่าวว่า เป็นของผู้มีศีล มิใช่ของผู้ทุศีล ของผู้ปราศจากราคะ ไม่ใช่ของผู้มีราคะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความปรารถนาแห่งใจ ของบุคคลผู้ศีล ย่อมสำเร็จได้เพราะจิตปราศจากราคะ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เหตุเกิดขึ้นแห่งทาน ๘ ประการนี้แล.

จบ ทานูปปัตติสูตรที่ ๕

อรรถกถาทานูปปัตติสูตรที่ ๕

ทานูปปัตติสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ทานูปปฺติโย ได้แก่ อุปบัติมีทานเป็นปัจจัย. บทว่า ปทหติ แปลว่า ตั้งไว้. บทว่า อธิฏฺาติ เป็นไวพจน์ของคำว่า ปทหติ นั่นเอง. บทว่า ภาเวติ แปลว่า ให้เจริญ. บทว่า หีเนธิมุตฺตํ ได้แก่ น้อมไปในฝ่ายต่ำคือกามคุณ ๕. บทว่า อุตฺตรึ อภาวิตํ ได้แก่ มิได้อบรมเพื่อประโยชน์แก่มรรคและผลชั้นสูงกว่านั้น. บทว่า ตตฺถูปปตฺติยา สํวตฺตติ ความว่า ย่อมเป็นไปเพื่อต้องการบังเกิด ในฐานะที่ตนปรารถนาแล้วทำกุศล. บทว่า วีตราคสฺส ได้แก่ ผู้ถอนราคะด้วยมรรค หรือผู้ข่ม ราคะด้วยสมาบัติ. จริงอยู่ เพียงทานเท่านั้นไม่สามารถจะบังเกิด ในพรหมโลกได้ แต่ทานย่อมเป็นเครื่องประดับแวดล้อมของจิต ประกอบด้วยสมาธิและวิปัสสนา แต่นั้นบุคคลผู้มีจิตอ่อนด้วย การให้ทาน เจริญพรหมวิหารบังเกิดในพรหมโลก ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า วีตราคสฺส โน สราคสฺส ดังนี้.

จบ อรรถกถาทานูปปัตติสูตรที่ ๕