๗. ปฐมสัปปุริสสูตร
[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 488
ปัณณาสก์
ทานวรรคที่ ๔
๗. ปฐมสัปปุริสสูตร
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 488
๗. ปฐมสัปปุริสสูตร
[๑๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัปปุริสทาน ๘ ประการนี้ ๘ ประการเป็นไฉน คือ ให้ของสะอาด ๑ ให้ของประณีต ๑ ให้ ตามกาล ๑ ให้ของสมควร ๑ เลือกให้ ๑ ให้เนืองนิตย์ ๑ เมื่อให้ จิตผ่องใส ๑ ให้แล้วดีใจ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัปปุริสทาน ๘ ประการนี้แล.
สัปบุรุษย่อมให้ทาน คือ ข้าวและน้ำที่ สะอาด ประณีตตามกาล สมควร เนืองนิตย์ ใน ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ผู้เป็นเขตดี บริจาคของ มากแล้วก็ไม่รู้สึกเสียดาย ทานผู้มีปัญญาเห็นแจ้ง ย่อมสรรเสริญทานที่สัปบุรุษให้แล้วอย่างนี้ เมธาวีบัณฑิตผู้มีศรัทธา มีใจอันสละแล้ว บริจาค ทานอย่างนี้แล้ว ย่อมเข้าถึงโลกอันไม่มีความ เบียดเบียนเป็นสุข.
จบ สัปปุริสสูตรที่ ๗
อรรถกถาสัปปุริสทานสูตรที่ ๗
สัปปุริสทานสูตรนี้ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สุจึ ได้แก่ ให้ของที่สะอาดคือที่บริสุทธิ์สดใส บทว่า ปณีตํ ได้แก่ สมบูรณ์ดี. บทว่า กาเลน ได้แก่ สมควรแก่การประกอบ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 489
ขวนขวาย. บทว่า กปฺปิยํ ได้แก่ ให้แต่ของที่เป็นกัปปิยะ. บทว่า วิเจยฺย เทติ ความว่า เลือกปฏิคคาหก หรือทานโดยตั้งใจให้อย่างนี้ว่า ทานที่ให้แล้วแก่ผู้นี้ จักมีผลมาก ที่ให้แก่ผู้นี้ไม่มีผลมาก ดังนี้แล้วให้.
จบ อรรถกถาปฐมสัปปุริสทานสูตรที่ ๗