พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. ทุติยสัปปุริสสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  2 พ.ย. 2564
หมายเลข  39594
อ่าน  342

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 490

ปัณณาสก์

ทานวรรคที่ ๔

๘. ทุติยสัปปุริสสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 490

๘. ทุติยสัปปุริสสูตร

[๑๒๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัปบุรุษเมื่อเกิดในตระกูล ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ชนเป็นอันมาก คือ ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่มารดาบิดา ๑ แก่บุตรภรรยา ๑ แก่หมู่คนผู้เป็นทาสกรรมกร ๑ แก่มิตรอำมาตย์ ๑ แก่ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว ๑ แก่พระราชา ๑ แก่เทวดาทั้งหลาย ๑ แก่สมณพราหมณ์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาเมฆเมื่อตกให้ข้าวกล้า เจริญงอกงาม ย่อมตกเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชน เป็นอันมาก ฉันใด สัปบุรุษก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเกิดในตระกูล ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ชนเป็นอันมา คือ ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่มารดา บิดา... แก่สมณพราหมณ์.

สัปบุรุษผู้มีปัญญาอยู่ครองเรือน เป็นผู้ ไม่เกียจคร้านทั้งกลางคืนกลางวัน บำเพ็ญตน เพื่อประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก ในชั้นต้นระลึก ถึงอุปการะที่ท่านทำไว้ก่อน ย่อมบูชามารดา บิดาโดยชอบธรรม สัปบุรุษผู้มีศรัทธาตั้งมั่น แล้ว มีศีลเป็นที่รัก ทราบธรรมเล้ว ย่อมบูชา บรรพชิตไม่ครองเรือน ไม่มีบาปประพฤติ พรหมจรรย์ สัปบุรุษนั้นเป็นผู้เกื้อกูลต่อพระราชา ต่อเทวดา ต่อญาติและสหายทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 491

ตั้งมั่นแล้วในสัทธรรม เป็นผู้เกื้อกูลแก่คนทั้งปวง สัปบุรุษนั้น กำจัดมลทินคือความตระหนี่ได้แล้ว ย่อมประสบโลกอันเกษม.

จบ สัปปุริสสูตรที่ ๘

อรรถกถาสัปปุริสสูตรที่ ๘

สัปปุริสสูตรที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อตฺถาย ได้แก่ เพื่อต้องการประโยชน์. บทว่า หิตา สุขาย ได้แก่ เพื่อต้องการเกื้อกูล เพื่อต้องการสุข. บทว่า ปุพฺพเปตานํ ได้แก่ พวกญาติผู้ไปสู่ปรโลก. ในพระสูตรนี้ เมื่อพระพุทธเจ้ายัง ไม่อุบัติ ย่อมได้แก่พระเจ้าจักรพรรดิ์ พระโพธิสัตว์ พระปัจเจกพุทธเจ้า ในครั้งพุทธกาล ย่อมได้แก่พระพุทธเจ้า และสาวกของ พระพุทธเจ้า. ก็ท่านเหล่านั้น ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่ญาติเหล่านั้นตามที่กล่าวแล้ว. บทว่า พหนุนํ วต อตฺถาย สปฺปฺ ฆรมาวสํ ได้แก่ บุคคลผู้มีปัญญา เมื่ออยู่ครองเรือน ย่อมอยู่เพื่อประโยชน์แก่ชนหมู่มากเท่านั้น. บทว่า ปุพฺเพ แปลว่า ก่อนทีเดียว. บทว่า ปุพฺเพกตมนุสฺสรํ ได้แก่ เมื่อหวลระลึกถึง อุปการคุณที่กระทำไว้ก่อนของบิดามารดา. บทว่า สหธมฺเมน ความว่า บูชาด้วยการบูชาด้วยปัจจัยพร้อมทั้งเหตุ. บทว่า อปาเป พฺรหฺมจาริโน ความว่า นอบน้อม คือถึงความประพฤติอ่อนน้อม แก่ท่านเหล่านั้น. บทว่า เปสโล แปลว่า ผู้มีศีลเป็นที่รัก.

จบ อรรถกถาปัปปุริสสูตรที่ ๘