พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. วิตถตสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  2 พ.ย. 2564
หมายเลข  39598
อ่าน  435

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 503

ปัณณาสก์

อุโปสถวรรคที่ ๕

๒. วิตถตสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 503

๒. วิตถตสูตร

[๑๓๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ บุคคลเข้าอยู่แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความ รุ่งเรืองมาก มีความแพร่หลายมาก และอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการบุคคลเข้าอยู่แล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความแพร่หลายมาก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรม. วินัยนี้ ตระหนักชัดดังนี้ว่า พระอรหันต์ทั้งหลายละปาณาติบาต งดเว้นจากปาณาติบาต วางท่อนไม้ วางศาตรา มีความละอาย เอื้อเอ็นดู อนุเคราะห์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่ตลอดชีวิต ในวันนี้ แม้เราก็ละปาณาติบาต งดเว้นจากปาณาติบาต วางท่อนไม้ วาง ศาตรา มีความละอาย เอื้อเอ็นดู อนุเคราะห์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์ ตลอดคืนและวันนี้ เราชื่อว่ากระทำตามพระอรหันต์ทั้งหลายแม้ ด้วยองค์นี้ และอุโบสถจักชื่อว่าเป็นอันเราเข้าอยู่แล้ว อุโบสถ ประกอบด้วยองค์ที่ ๑ นี้ ฯลฯ

อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมตระหนักชัดดังนี้ว่า พระอรหันต์ ทั้งหลาย ละการนั่งการนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ งดเว้น จากการนั่งการนอนนั้นที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ สำเร็จการนั่งการ นอนบนที่นั่งที่นอนต่ำ คือ บนเตียงหรือเครื่องลาด้วยหญ้า ตลอด ชีวิต ในวันนี้ แม้เราก็ละการนั่งการนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ สำเร็จการนั่งการนอนบนที่นั่งที่นอนต่ำ คือ บนเตียงหรือเครื่องลาด ด้วยหญ้า ตลอดคืนและวันนี้ เราชื่อว่ากระทำตามพระอรหันต์

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 504

ทั้งหลายแม้ด้วยองค์นี้ และอุโบสถจักชื่อว่าเป็นอันเราเข้าอยู่แล้ว อุโบสถประกอบด้วยองค์ที่ ๘ นี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุโบสถ ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ บุคคลเข้าอยู่อย่างนี้แล จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก มีความแพร่หลายมาก.

อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ บุคคลเข้าอยู่แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก มีความแพร่หลายมาก เพียงไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนพระราชาเสวยราชย์ ดำรงอิสรภาพและอธิปไตยในชนบทใหญ่ๆ ๑๖ รัฐ มีรัตนะ ๗ ประการมากมาย เหล่านี้ คือ อังคะ มคธะ กาสี โกสละ วัชชี มัลละ เจดีย์ วังสะ กุรุ ปัญจาละ มัจฉะ สุรเสนะ อัสสกะ อวันตี คันธาระ กัมโพชะ การเสวยราชย์ดำรงอิสรภาพและ อธิปไตยของพระราชานั้น ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งอุโบสถที่ ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะราชสมบัติ มนุษย์เป็นเหมือนของตนกำพร้า เมื่อเทียบสุขอันเป็นทิพย์ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ๕๐ ปีมนุษย์ เป็นคืนหนึ่งวันหนึ่งของเทวดาชั้น จาตุมมหาราช ๓๐ ราตรีโดยราตรีนั้นเป็นเดือนหนึ่ง ๑๒ เดือน โดยเดือนนั้นเป็นปีหนึ่ง ๕๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นประมาณอายุ ของเทวดาชั้นจาตุมมหาราช ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคล บางคนในโลกนี้จะเป็นหญิงหรือชายก็ตาม เข้าอยู่อุโบสถอันประกอบ ด้วยองค์ ๘ ประการแล้ว เมื่อตายไป พึงเข้าถึงความเป็นสหาย แห่งเทวดาชั้นจาตุมมหาราช นี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 505

ทั้งหลาย เราหมายเอาข้อนี้จึงกล่าวว่า ราชสมบัติมนุษย์เป็นเหมือน ของคนกำพร้า เมื่อเทียบกับสุขอันเป็นทิพย์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๑๐๐ ปี มนุษย์เป็นคืนหนึ่งของเทวดา ชั้นดาวดึงส์ ๓๐ ราตรีโดยราตรีนั้นเป็นเดือนหนึ่ง ๑๒ เดือนโดย เดือนนั้นเป็นหนึ่ง พันปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นประมาณอายุของ เทวดาชั้นดาวดึงส์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลบางคนในโลกนี้ จะเป็นหญิงหรือชายก็ตาม เข้าอยู่อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการแล้ว เมื่อตายไป พึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดา ชั้นดาวดึงส์นี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราหมายเอา ข้อนี้จึงกล่าวว่า ราชสมบัติมนุษย์เป็นเหมือนของคนกำพร้า เมื่อ เทียบกับสุขอันเป็นทิพย์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๒๐๐ มนุษย์เป็นคืนหนึ่งวันหนึ่ง ของเทวดาชั้นยามา ๓๐ ราตรีโดยราตรีนั้นเป็นเดือนหนึ่ง ๑๒ เดือน โดยเดือนนั้นเป็นปีหนึ่ง ๒,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นประมาณ ของอายุเทวดาชั้นยามา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลบางคน ในโลกนี้ จะเป็นหญิงหรือชายก็ตาม เข้าอยู่อุโบสถอันประกอบ ด้วยองค์ ๘ ประการแล้ว เมื่อตายไป พึงเข้าถึงความเป็นสหาย แห่งเทวดาชั้นยามานี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา หมายเอาข้อนี้จึงกล่าวว่า ราชสมบัติมนุษย์เป็นเหมือนของคน กำพร้า เมื่อเทียบกับสุขอันเป็นทิพย์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๔๐๐ มนุษย์เป็นคืนหนึ่งวันหนึ่งของ เทวดาชั้นดุสิต ๓๐ ราตรีโดยราตรีนั้นเป็นเดือนหนึ่ง ๑๒ เดือน

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 506

โดยเดือนนั้นเป็นปีหนึ่ง ๔,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นประมาณ อายุของเทวดาชั้นดุสิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลบางคน ในโลกนี้จะเป็นหญิงหรือชายก็ตาม เข้าอยู่อุโบสถอันประกอบ ด้วยองค์ ๘ ประการแล้ว เมื่อตายไป พึงเข้าถึงความเป็นสหาย แห่งเทวดาชั้นดุสิตนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา หมายเอาข้อนี้จึงกล่าวว่า ราชสมบัติมนุษย์เป็นเหมือนของคน กำพร้า เมื่อเทียบกับสุขอันเป็นทิพย์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๘๐๐ มนุษย์เป็นคืนหนึ่งวันหนึ่ง ของเทวดาชั้นนิมมานรดี ๓๐ ราตรีโดยราตรีนั้นเป็นเดือนหนึ่ง ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้นเป็นปีหนึ่ง ๘,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็น ประมาณอายุของเทวดาชันนิมมานรดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นหญิงหรือชายก็ตาม เข้าอยู่อุโบสถ อันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการแล้ว เมื่อตายไป พึงเข้าถึงความ เป็นสหายแห่งเทวดาชั้นนิมมานรดี นี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เราหมายเอาข้อนี้จึงกล่าวว่า ราชสมบัติมนุษย์ เป็นเหมือนของคนกำพร้า เมื่อเทียบกับสุขอันเป็นทิพย์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๑,๖๐๐ มนุษย์เป็นคืนหนึ่งวันหนึ่ง ของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ๓๐ ราตรีโดยราตรีอันเป็นเดือน หนึ่ง ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้นเป็นปีหนึ่ง ๑๖,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลบางคนในโลกนี้ จะเป็นหญิงหรือชายก็ตาม เข้าอยู่อุโบสถ อันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการแล้ว เมื่อตายไป พึงเข้าถึงความ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 507

เป็นสหายแห่งเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตี นี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราหมายเอาข้อนี้จึงกล่าวว่า ราชสมบัติ มนุษย์เป็นเหมือนของคนกำพร้า เมื่อเทียบกับสุขอันเป็นทิพย์.

บุคคลไม่พึงฆ่าสตว์ ไม่พึงถือเอาสิ่งของ ที่เจ้าของไม่ให้ พึงเว้นจากเมถุนธรรม อันมิใช่ ความประพฤติของพรหม ไม่พึงพูดเท็จ ไม่พึง ดื่มน้ำเมา ไม่พึงบริโภคอาหารในเวลาวิกาล ใน ราตรี ไม่พึงทัดทรงดอกไม้และของหอม พึงนอน บนเตียง บนแผ่นดิน หรือบนเครื่องลาดด้วยหญ้า บัณฑิตทั้งหลายกล่าวอุโบสถ ๘ ประการนี้แล ที่พระพุทธเจ้าผู้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ทรงประกาศ แล้ว พระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งสองส่องสว่าง ไสว ย่อมโคจรไปตามวิถีเพียงไร พระจันทร์และ พระอาทิตย์นั้นก็ขจัดมืดได้เพียงนั้น ลอยอยู่บน อากาศ ส่องแสงสว่างทั่วทุกทิศในท้องฟ้า ทรัพย์ ใดอันมีอยู่ในระหว่างนี้ คือ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ อย่างดี หรือทองมีสีสุกใส ที่เรียก กันว่า หตกะ พระจันทร์ พระอาทิตย์และทรัพย์ นั้นๆ ก็ยังไม่ได้แม้เสี้ยวที่ ๑๖ แห่งอุโบสถอัน ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ เปรียบเหมือนรัศมี พระจันทร์ ข่มหมู่ดวงดาวทั้งหมด ฉะนั้น เพราะ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 508

ฉะนั้นแหละ หญิงหรือชายผู้มีศีล เข้าอยู่ในอุโบสถ อันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการแล้ว กระทำบุญ ทั้งหลายอันมีสุขเป็นกำไร ไม่มีใครติเตียน ย่อม เข้าถึงสวรรค์.

จบ วิตถตสูตรที่ ๒