ดีที่มาฟังธรรม ที่มูลนิธิ

 
Jaruwan
วันที่  10 มิ.ย. 2550
หมายเลข  3960
อ่าน  1,219

เมื่อก่อนชอบดูดวง ใครมาทักว่าจะเกิดเรื่องไม่ดี เราก็จะกลุ้มใจ แต่พอมาฟังธรรมแล้ว วันหนึ่งมีหมอดูเดินมาทักว่าอย่างนุ้นอย่างนี้ เราก็เคลิ้มไปพักนึง แล้วกลับมานึกได้ว่าทุกอย่าง ต้องเป็นไปตามกรรมที่เรามี ก็เลยไม่เชื่อหมอดูคนนั้น ไม่งั้นต้องโดนให้ไปสะเดาะเคราะห์แน่เลย


  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 10 มิ.ย. 2550

การฟังธรรมเป็นความดี ความประพฤติมักน้อยเป็นความดี การอยู่โดยไม่มีห่วงใย เป็นความดีทุกเมื่อ การถามสิ่งที่เป็นประโยชน์เป็นความดี การทำตามโอวาทโดยเคารพ เป็นความดี กิจมีการฟังเป็นต้นนี้ เป็นเครื่องสงบของผู้ไม่มีกังวล ดังนี้

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
แวะเข้ามา
วันที่ 10 มิ.ย. 2550

เชื่อกรรมและฟังธรรมดีที่สุด

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 10 มิ.ย. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ตราบใดที่ยังไม่เป็นพระโสดาบัน เมื่อมีเหตุปัจจัยพร้อมก็กลับไปเชื่อดวงได้ครับ แต่การฟังธรรมเข้าใจขั้นการฟัง ก็เป็นปัจจัยหนึ่งให้เรามั่นคงในเรื่องของกรรมมากขึ้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 373 ข้อความบางตอนจาก จัณฑาลสูตร ว่าด้วยธรรมสำหรับอุบาสกดีและอุบาสกชั่ว

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นอุบาสกแก้ว อุบาสกปทุม อุบาสกบุณฑริก ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน?
คือ อุบาสกย่อมเป็นผู้มีศรัทธา ๑ เป็นผู้มีศีล ๑ เป็นผู้ไม่ถือมงคลตื่นข่าวเชื่อกรรมไม่เชื่อมงคล ๑ ไม่แสวงหาเขตบุญภายนอกศาสนานี้ ๑ ทำการสนับสนุนในศาสนานี้ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นอุบาสกแก้ว อุบาสกปทุม อุบาสกบุณฑริก.

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
อิสระ
วันที่ 11 มิ.ย. 2550

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
caravanboy
วันที่ 11 มิ.ย. 2550

ขอเรียนถามคุณแล้วเจอกันครับ ว่าคำว่า อุบาสกแก้ว อบาสกปทุม อบาสกบุณฑริก คืออะไรครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
orawan.c
วันที่ 11 มิ.ย. 2550

กรรมไม่เคยบกพร่องในหน้าที่

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 11 มิ.ย. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

อุบาสกแก้ว อุบาสกปทุม อุบาสกบุณฑริก คืออะไรครับ

จากสูตรที่ยกมาข้างต้น แสดงถึงเรื่อง อุบาสกที่ไม่ดีและอุบาสกที่ดี ซึ่งผมได้ยกมาเฉพาะ คุณธรรมของอุบาสกที่ดีมีอะไรบ้าง ว่าเป็นผู้ประกอบด้วยคุณธรรมที่กล่าวมา ย่อมเป็นอุบาสกแก้ว อุบาสกปทุม อุบาสกบุณฑริก ซึ่งความหมายของอุบาสกแก้ว อุบาสกปทุม อุบาสกบุณฑริก ก็คือเป็นอุบาสกที่ดีนั่นเองครับ แต่แสดงด้วยบุคคลาธิษฐาน เปรียบเทียบ กับสิ่งที่ดี เช่น แก้วซึ่งตามศัพท์ใช้คำว่า รัตน (แก้ว) รัตนหรือแก้วก็เป็นสิ่งที่ดี แปลว่า สิ่งที่ทำให้ปลื้มใจ น่ายินดี ซึ่งก็ต้องเป็นสิ่งที่ดีแน่นอนครับ ถึงทำให้ปลื้มใจ น่ายินดี ดังเช่น ที่เคยได้ยิน ว่ามีจักรแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี นางแก้ว ... เป็นต้น ที่เป็นรัตน (แก้ว) ของพระเจ้าจักรพรรดิ์ ซึ่งก็ต้องเป็นสิ่งที่ดี ดังเช่น นำมาเปรียบเทียบกับ อุบาสกแก้วครับว่าเป็นอุบาสกที่ดี อุบาสกปทุมก็เช่นกัน ปทุม หรือบัว ก็เป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่กลิ่นหอม มักใช้ในสิ่งที่ดีในทางที่ดี เช่น พระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ที่ทรงได้นามนี้เพราะ เมื่อเสด็จพระดำเนินย่อมมีปทุมมารับที่พระบาทที่พระองค์เสด็จดำเนินครับ ดังนั้นสิ่งที่จะรับพระบาทพระองค์ก็เป็นสิ่งที่ดีแน่นอนครับ หรือนำไปเปรียบกับพระอริยบุคคลหรือกับพระพุทธเจ้าจึงนำมาเปรียบกับ อุบาสกปทุม ส่วนอุบาสกบุณฑริกก็เช่นกัน เป็นพันธ์ชนิดหนึ่งของบัว ครับ

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 11 มิ.ย. 2550

เรื่อง บัว

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 465

ชื่อว่า อุปฺปลินี ด้วยอรรถว่า เป็นที่มีดอกอุบล แม้ในสองบทที่เหลือก็นัยนี้แหละ. ก็ในเรื่องอุปมานี้ บรรดาอุบลขาวอุบลแดงและอุบลขาบ อุบลอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อุบลนั่นเอง ดอกบัวที่มีกลีบหย่อนร้อย ชื่อบุณฑริก ที่มีกลีบถึงร้อยชื่อปทุม อีกอย่างหนึ่ง เว้นบัวที่กำหนดกลีบเสีย บัวขาวชื่อปทุม บัวแดงชื่อบุณฑริก ในเรื่องบัวนี้มีวินิจฉัยเท่านี้แล.

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 11 มิ.ย. 2550

เรื่อง รัตน (แก้ว)

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 234

ชื่อว่า รัตนะเพราะนำพาให้เกิด เพิ่มพูนความยินดี. คำว่า รัตนะ นี้ เป็นชื่อของทุกสิ่งที่ทำให้งดงาม มีค่ามาก ชั่งไม่ได้ เห็นยาก และเป็นของบริโภคใช้สอยของสัตว์ผู้ไม่ต่ำทราม

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 11 มิ.ย. 2550

เรื่อง เปรียบพระพุทธเจ้า ดังบัวชนิดต่างๆ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 314

ข้อความบางตอนจาก ปุปผสูตร

[๒๔๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดอกอุบลก็ดี ดอกปทุมก็ดี ดอกบุณฑริกก็ดี เกิดขึ้นแล้วในน้ำ ขึ้นพ้นน้ำ ตั้งอยู่ แต่ไม่แปดเปื้อนด้วยน้ำ แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระตถาคต ก็เช่นนั้นเหมือนกันแล เกิดแล้วในโลก เจริญแล้วในโลก ครอบงำโลกอยู่ แต่โลกไม่แปดเปื้อนเราได้.

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 11 มิ.ย. 2550

เรื่อง เปรียบพระอริยบุคคล เป็นบัวชนิดต่างๆ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 252

ข้อความบางตอนจาก ปุตตสูตร

ว่าด้วยสมณะ ๔ จำพวก

[๘๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวก ฯลฯ คือ

สมณมจโล สมณะผู้ไม่หวั่นไหว

สมณปุณฺฑรีโก สมณะบุณฑริก

สมณปทุโม สมณะปทุม

สมเณสุ สมณสุขุมมาโล สมณะสุขุมาลในหมู่สมณะ

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
caravanboy
วันที่ 12 มิ.ย. 2550

อนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 13 ก.พ. 2567

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ