พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. เวเสฏฐสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  2 พ.ย. 2564
หมายเลข  39600
อ่าน  559

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 513

ปัณณาสก์

อุโปสถวรรคที่ ๕

๔. เวเสฏฐสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 513

๔. เวเสฏฐสูตร

[๑๓๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน ใกล้พระนครเวสาลี ครั้งนั้นแล วาเสฏฐอุบาสก เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนวาเสฏฐะ อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ บุคคลเข้าอยู่แล้ว ย่อมมี ผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก มีความแพร่หลายมาก ฯลฯ ไม่มีใครติเตียน ย่อมเข้าถึงสวรรค์.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างแล้ว วาเสฏฐะอุบาสก ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ญาติสายโลหิตเป็นที่รักของข้าพระองค์ พึงเข้าอยู่อุโบสถอันประกอบด้วย องค์ ๘ ประการ การเข้าอยู่อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ประการ นั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขตลอดกาลนาน แม้แก่ญาติและสายโลหิตผู้เป็นที่รักของข้าพระองค์ ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ถ้าแม้กษัตริย์ ทั้งปวงพึงเข้าอยู่อุโบสถ อันประกอบด้วย องค์ ๘ ประการ การเข้าอยู่อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ นั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขตลอดกาลนาน แม้แก่กษัตริย์ทั้งปวง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าแม้พราหมณ์ทั้งปวง ฯลฯ แพศย์ทั้งปวง ฯลฯ ศูทรทั้งปวง พึงเข้าอยู่อุโบสถอันประกอบ ด้วยองค์ ๘ ประการ การเข้าอยู่อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 514

ประการนั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขตลอดกาล แม้แก่ศูทรทั้งปวง.

พ. ดูก่อนวาเสฏฐะ ถ้าแม้กษัตริย์ทั้งปวงพึงเข้าอยู่อุโบสถ อันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ การเข้าอยู่อุโบสถอันประกอบด้วย องค์ ๘ ประการ พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ตลอดกาล แม้แก่กษัตริย์ทั้งปวง ถ้าแม้พราหมณ์ทั้งปวง ฯลฯ แพศย์ทั้งปวง ฯลฯ ศูทรทั้งปวง พึงเข้าอยู่อุโบสถอันประกอบด้วย องค์ ๘ ประการ การเข้าอยู่อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ นั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขตลอดกาลนาน แม้แก่ศูทรทั้งปวง ดูก่อนวาเสฏฐะ ถ้าแม้โลก พร้อมด้วยเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและ มนุษย์ พึงเข้าอยู่อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขตลอดกาลนาน แม้ แก่โลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก แก่หมู่สัตว์ พร้อม ทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ถ้าแม่ท่านผู้มหาศาลเหล่านี้ พึงเข้าอยู่อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ การเข้าอยู่ อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เกื้อกูล เพื่อความสุขตลอดกาลนาน แม้แก่ท่านผู้มหาศาลเหล่านี้ ถ้าหากว่าตั้งใจ จะป่วยกล่าวไปไยถึงมนุษย์เล่า.

จบ วารเสฏฐสูตรที่ ๔

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 515

อุโบสถวรรคที่ ๕

อรรถกถาวาเสฏฐสูตรที่ ๔

วรรคที่ ๕ วาเสฏฐสูตรที่ ๔๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ด้วยบทว่า อิเม เจปิ วาเสฏฺฐ มหาสาลา ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงต้นสาละ ๒ ต้นที่ยืนอยู่ตรงพระพักตร์ จึงตรัสเปรียบเทียบโดยปริกัป ท่านอธิบายไว้ดังนี้ว่า ก่อนอื่น ต้นมหาสาละเหล่านี้ไม่มีใจ ถ้าต้นไม้เหล่านี้มีใจพึงเข้าจำอุโบสถ ที่ประกอบด้วยองค์ ๘ ได้ไซร้ การเข้าจำอุโบสถนั้นของต้นมหาสาละแม้เหล่านั้น ก็พึงมี เพื่อประโยชน์เพื่อความสุขตลอด กาลนาน ก็ในหมู่มนุษย์ ก็ไม่จำต้องกล่าว.

จบ อรรถกถาเวสาฏฐสูตรที่ ๔


๑. ในอัฏฐนิปาตวณฺณนา ว่า "ปญฺจมสฺส ปฐเม....วรรคที่ ๕ สูตรที่ ๑....แต่ในที่นี้ต้องแปลว่า ....สูตรที่ ๔ เพราะเก็บความในสูตรที่ ๔ มาแก้ทั้งนั้นฯ.