พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. อนุรุทธสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  2 พ.ย. 2564
หมายเลข  39602
อ่าน  447

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 520

ปัณณาสก์

อุโปสถวรรคที่ ๕

๖. อนุรุทธสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 520

๖. อนุรุทธสูตร

[๑๓๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิ- ตารามใกล้พระนครโกสัมพี ก็สมัยนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะไปยัง วิหารที่พักกลางวัน หลีกเร้นอยู่ ลำดับนั้น มีเทวดาเหล่ามนาปกายิกา มากมายพากันเข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะถึงที่อยู่ ภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านพระอนุรุทธะผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายเป็นเทวดาชื่อมนาปกายิกา มี อิสระและอำนาจในฐานะ ๓ ประการ คือ ข้าพเจ้าทั้งหลายหวัง วรรณะเช่นใด ก็ได้ความสุขเช่นนั้นโดยพลัน ๑ ข้าแต่พระอนุรุทธะ ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายเป็นเทวดาชื่อว่านาปกานิกา มีอิสระและ อำนาจใน ๓ ประการนี้.

ลำดับนั้น ท่านพระอนุรุทธะดำริว่า โอหนอ ขอให้เทวดา ทั้งปวงนี้ พึงมีร่างเขียว นุ่งผ้าเขียว มีผิวพรรณเขียว มีเครื่อง ประดับเขียว.

ท่านพระอนุรุทธะจึงดำริต่อไปว่า โอหนอ ขอให้เทวดาทั้งปวง นี้ มีร่างเหลือง ฯลฯ มีร่างแดง ฯลฯ มีร่างขาว มีผิวพรรณขาว นุ่งผ้าขาว มีเครื่องประดับขาว.

เทวดาเหล่านั้นทราบความดำริของท่านพระอนุรุทธะแล้ว ล้วนมีร่างขาว มีผิวพรรณขาว นุ่งผ้าขาว มีเครื่องประดับขาว เทวดาเหล่านั้น ตนหนึ่งขับร้อง ตนหนึ่งฟ้อนรำ ตนหนึ่งปรบมือ เปรียบเหมือนดนตรีมีองค์ ๕ ที่เขาปรับดีแล้ว ตีดังไพเราะ ทั้ง

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 521

บรรเลงโดยนักดนตรีผู้เชี่ยวชาญ มีเสียงไพเราะ เร้าใจ ชวนให้ เคลิบเคลิ้ม ดูดดื่ม และน่ารื่นรมย์ ฉันใด เสียงแห่งเครื่องประดับ ของเทวดาเหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน. มีเสียงไพเราะ เร้าใจ ชวน ให้เคลิบเคลิ้ม ดูดดื่ม และน่ารื่นรมย์.

ลำดับนั้น ท่านพระอนุรุทธะทอดอินทรีย์ลง เทวดาเหล่านั้น ทราบว่า พระผู้เป็นเจ้าอนุรุทธะไม่ได้ยินดี จึงอันตรธานไป ณ ที่นั้น.

ครั้งนั้น เป็นเวลาเย็น ท่านพระอนุรุทธออกจากที่เร้น เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญขอประทานวโรกาส วันนี้ ข้าพระองค์ไปยังวิหาร ที่พักกลางวันหลีกเร้นอยู่ ครั้งนั้นแล เทวดาเหล่ามนาปกายิกา มากมายเข้ามาหาข้าพระองค์ถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วยืน ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วกล่าวกะข้าพระองค์ว่า ข้าแต่ท่านพระ อนุรุทธะผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายเป็นเทวดาชื่อว่ามนาปกายิกา มีอิสระและอำนาจในฐานะ ๓ ประการ คือ ข้าพเจ้าทั้งหลายหวัง วรรณะเช่นใด ก็ได้วรรณะเช่นนั้นโดยพลัน ๑ หวังเสียงเช่นใด ก็ได้เสียงเช่นนั้นโดยพลัน ๑ หวังความสุขเช่นใด ก็ได้ความสุข เช่นนั้นโดยพลัน ๑ ข้าแต่พระอนุรุทธะผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย เป็นเทวดาชื่อว่ามนาปายิกา มีอิสระและอำนาจในฐานะ ๓ ประการ นี้ ข้าแต่พระองค์เจริญ ข้าพระองค์มีความดำริอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอให้เทวดาทั้งปวงนี้พึงมีร่างเขียว มีผิวพรรณเขียว นุ่งผ้าเขียว มีเครื่องประดับเขียว เทวดาเหล่านั้นทราบความดำริของข้าพระองค์

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 522

แล้ว ล้วนมีร่างเขียว มีผิวพรรณเขียว นุ่งผ้าเขียว มีเครื่องประดับ เขียว แล้วข้าพระองค์จึงดำริต่อไปว่า โอหนอ ขอให้เทวดาทั้งปวง นี้ พึงมีร่างเหลือง ฯลฯ มีร่างแดง ฯลฯ มีร่างขาว มีผิวพรรณขาว นุ่งผ้าขาว มีเครื่องประดับขาว เทวดาเหล่านั้นก็ทราบความดำริ ของข้าพระองค์แล้วล้วนมีร่างขาว มีผิวพรรณขาว นุ่งผ้าขาว มีเครื่องประดับขาว เทวดาเหล่าอื่น ตนหนึ่งขับร้อง ตนหนึ่งฟ้อนรำ ตนหนึ่งปรบมือ เปรียบเหมือนดนตรีมีองค์ ๕ ที่เขาปรับดีแล้ว ตีดังไพเราะ ทั้งบรรเลงโดยนักดนตรีผู้เชี่ยวชาญ มีเสียไพเราะ เร้าใจ ชวนให้เคลิบเคลิ้ม ดูดดื่ม และน่ารื่นรมย์ ฉันใด เสียงแห่ง เครื่องประดับของเทวดาเหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีเสียงไพเราะ เร้าใจ ชวนให้เคลิบเคลิ้ม ดูดดื่ม และน่ารื่นรมย์ ข้าพระองค์จึง ทอดอินทรีย์ลง เทวดาเหล่านั้นทราบว่าข้าพระองค์ไม่ยินดี จึง อันตรธานไป ณ ที่นั้นเอง พระองค์ผู้เจริญ มาตุคามประกอบ ด้วยธรรมเท่าไร เมื่อตายไป จึงเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดา เหล่ามนาปกายิกา.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอนุรุทธะ มาตุคามประกอบ ด้วยธรรม ๘ ประการ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหาย ของเทวดาเหล่ามนาปกายิกา ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน ดูก่อน อนุรุทธะ มาตุคามในโลกนี้ ที่มารดาบิดาผู้มุ่งประโยชน์ แสวงหา ความเกื้อกูล อนุเคราะห์ เอื้อเอ็นดู ยอมยกให้แก่ชายใดผู้เป็นสามี สำหรับชายนั้น เธอต้องตื่นก่อน นอนภายหลัง คอยฟังรับใช้ ประพฤติ ให้ถูกใจ กล่าวถ้อยคำเป็นที่รัก ๑ ชนเหล่าใดเป็นที่เคารพของสามี

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 523

คือ มารดา บิดา หรือสมณพราหมณ์ เธอสักการะเคารพนับถือบูชา เหล่านั้น และต้อนรับท่านเหล่านั้นผู้มาถึงแล้วด้วยอาสนะและน้ำ ๑ การงานใดเป็นงานในบ้านของสามี คือ การทำผ้าขนสัตว์หรือผ้าฝ้าย เธอเป็นคนขยัน ไม่เกียจคร้านในการงานนั้น ประกอบด้วยปัญญา อันเป็นอุบายในการงานนั้น สามารถจัดทำ ๑ ชนเหล่าใดเป็นคน ภายในบ้านของสามี คือ ทาส คนใช้ หรือกรรมกร ย่อมรู้ว่าการงาน ที่เขาเหล่านั้นทำแล้วและยังไม่ได้ทำ ๑ ย่อมรู้อาการของคนภายใน ผู้เป็นไข้ว่า ดีขึ้นหรือทรุดลง ๑ ย่อมแบ่งปันของกินของบริโภค ให้แก่เขาตามควร ๑ สิ่งใดที่สามีหามาได้ จะเป็นทรัพย์ ข้าว เงิน หรือทอง ย่อมรักษาคุ้มครองสิ่งนั้นไว้ และไม่เป็นนักเลงการพนัน ไม่เป็นขโมย ไม่เป็นนักดื่ม ไม่ผลาญทรัพย์ให้พินาศ ๑ เป็นอุบาสิกา ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ เป็นผู้มีศีล งดเว้นจากปาณาติบาติ อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท และ การดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๑ เป็นผู้มีการบริจาค มีใจปราศจากมลทิน คือ ความตระหนี่ อยู่ เครื่องเรือน มีจาคะอันปล่อยแล้ว มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการจำแนกทาน ๑ ดูก่อนอนุรุทธะ มาตุคาม ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความ เป็นสหายของเทวดาเหล่ามนาปกายิกา.

สุภาพสตรีผู้มีปรีชา ย่อมไม่ดูหมิ่นสามี ผู้หมั่นเพียรขวนขวายอยู่เป็นนิตย์ เลี้ยงตนอยู่ทุก เมื่อ ให้ความปรารถนาทั้งปวง ไม่ยังสามีให้ขุ่น

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 524

เคือง ด้วยถ้อยคำ แสดงความหึงหวง และย่อม บูชาผู้ที่เคารพทั้งปวงของสามี เป็นผู้ขยันไม่เกียจ คร้าน สงเคราะห์คนข้างเคียงของสามี ประพฤติ เป็นที่พอใจของสามี รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ นารีใดย่อมประพฤติตามความพอใจของสามี อย่างนี้ นารีนั้นย่อมเข้าถึงความเป็นเทวดาเหล่า มนาปกายิกา.

จบ อนุรุทสูตรที่ ๖

อรรถกถาอนุรุทธสูตรที่ ๖

อนุรุทธสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า เยนายสฺมา อนุรุทธ ความว่า ได้ยินว่า เทวาดาเหล่านั้น ตรวจดูสมบัติของตนแล้วรำพึงว่า เราได้สมบัตินี้เพราะอาศัยอะไร หนอแล ดังนี้ เห็นพระเถระคิดว่า เราเป็นผู้ปรนนิบัติพระผู้เป็นเจ้า ของพวกเราผู้ครองสมบัติจักรพรรดิราชในชาติก่อน ได้สมบัตินี้ ก็เพราะตั้งอยู่ในโอวาทที่ท่านประทานไว้ จึงได้สมบัตินี้ พวกเรา ไปกันเถิดจะหาพระเถระมาเสวยสมบัตินี้ ดังนี้แล้ว ในเวลากลางวัน นั่นเอง จึงเข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะ

บทว่า ตีสุ าเนสุ ได้แก่ ในเหตุ ๓ อย่าง. บทว่า านโส ปฏิลภาม ได้แก่ ย่อมได้ทันทีนั่นเอง. บทว่า สทฺทํ ได้แก่ เสียงพูด เสียงเพลงขับ หรือเสียงเครื่องประดับ. จะกล่าวบทว่า ปีตา อสสุ เป็นต้น. พระอนุรุทธะคิดตรึก โดยนัยมีอาทิว่า ชั้นแรกเทวดาเป็น

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 525

ผู้มีสีเขียว ไม่สามารถจะเป็นผู้มีสีเหลืองได้ ดังนี้. เทวดาแม้เหล่านั้น รู้ว่า บัดนี้พระผู้เป็นเจ้าย่อมปรารถนาให้เรามีสีเหลือ บัดนี้ปรารถนา ให้เรามีสีแดง จึงได้เป็นเช่นนั้น. บทว่า อจฺฉริกํ วาเทสิ ความว่า ปรบฝ่ามือแล้ว.

บทว่า ปญฺจงฺติกสฺส ความว่า ดนดรีประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้ คือ อาตตะ ๑ วิตตะ ๑ อาตตะวิตตะ ๑ สุสิระ ๑ ฆน ๑ บรรดาเครื่องดนตรีเหล่านั้น ดนตรีที่หุ้มหนังหน้าเดียว ในจำพวก กลองเป็นต้นที่หุ้มหนัง. ชื่อว่า อาตตะ. ดนตรีที่หุ้มหนังสองด้าน ชื่อว่า วิตตะ. ดนตรีที่หุ้มหนังทั้งหมด ชื่อว่า อาตตะวิตตะ. ดนตรี มีปี่เป็นต้น ชื่อว่า สุสิระ. ดนตรีมีสัมมตาลทำด้วยไม้ตาลเป็นต้น ชื่อว่า ฆนะ บทว่า สุวินีตสฺส ได้แก่ ที่บรรเลงดีแล้ว เพื่อให้รู้ว่า ขึ้นพอดีแล้ว บทว่า กุสเลหิ สุสมนฺนาหตสฺส ได้แก่ ที่นักดนตรี ผู้ฉลาดเชี่ยวชาญบรรเลงแล้ว บทว่า วคฺคู ได้แก่ ไพเราะ คือเพราะดี บทว่า รชนีโย แปลว่า สามารถทำให้เกิดรัก. บทว่า กมนีโย แปลว่า ชวนให้น่าใคร่. ปาฐะว่า ขมนีโย ดังนี้ก็มี. อธิบายว่า เมื่อคนฟังตลอดวันก็ชอบใจ ไม่เบื่อ. บทว่า รมณีโย ได้แก่ ให้เกิด ความมัวเมาด้วยมานะและมัวเมาในบุรุษ.

บทว่า อินฺทฺริยานิ โอกิขิปี ความว่า พระเถระคิดว่า เทวดา เหล่านี้ทำสิ่งที่ไม่สมควร จึงทอดอินทรีย์ลงเบื้องต่ำ คือลืมตาไม่ มองดู. บทว่า น ขฺวยฺโย อนุรุทฺโธ สาทิยติ ความว่า เทวดาคิดว่า เราฟ้อนเราขับ แต่พระผู้เป็นเจ้าอนุรุทธะไม่ยินดีลืมตาไม่มองดู. เราจะฟ้อนจะขับกระทำไปทำไม ดังนี้แล้วจึงหายไปในที่นั้นเอง.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 526

บทว่า เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ ความว่า พระเถระครั้นเห็นอานุภาพ ของเทวดาเหล่านั้นแล้วเข้าไปถามความนี้ว่า ผู้หญิงประกอบธรรม เท่าไรหนอแล จึงมาบังเกิดในเทวโลกที่มีเรือนร่างน่าชอบใจ.

จบ อรรถกถานนุรุทธสูตรที่ ๖