พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. วิสาขสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  2 พ.ย. 2564
หมายเลข  39603
อ่าน  369

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 527

ปัณณาสก์

อุโปสถวรรคที่ ๕

๗. วิสาขสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 527

๗. วิสาขสูตร

[๑๓๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ บุพพาราม ปราสาทของมิคารมารดา ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล นางวิสาขามิคารมารดาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนวิสาขา มาตุคามประกอบด้วย ธรรม ๘ ประการนี้ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่ง เทวดาเหล่ามนาปกายิกา ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน ดูก่อนวิสาขา มาตุคามในโลกนี้ ที่มารดาบิดาผู้มุ่งประโยชน์ แสวงหาความ เกื้อกูล อนุเคราะห์ เอื้อเอ็นดู ยอมยกให้แก่ชายใดผู้เป็นสามี สำหรับชายนั้น เธอต้องตื่นก่อน นอนภายหลัง คอยฟังรับใช้ ประพฤติให้ถูกใจ กล่าวถ้อยคำเป็นที่รัก ฯลฯ เป็นผู้มีการบริจาค มีใจปราศจากมลทิน คือ ความตระหนี่ อยู่ครองเรือน มีจาคะอัน ปล่อยแล้ว มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดี ในการจำแนกทาน ดูก่อนวิสาขา มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดา เหล่ามนาปกายิกา.

สุภาพสตรีผู้มีปรีชา ย่อมไม่ดูหมิ่นสามี ผู้หมั่นเพียรขวนขวายอยู่เป็นนิตย์ เลี้ยงตนอยู่ทุก เมื่อ ให้ความปรารถนาทั้งปวง ไม่ยังสามีให้ขุ่น เคือง ด้วยถ้อยคำแสดงความหึงหวง และย่อม

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 528

บูชาผู้ที่เคารพทั้งปวงของสามี เป็นผู้ขยันไม่เกียจ คร้าน สงเคราะห์คนข้างเคียงของสามี ประพฤติ เป็นที่พอใจของสามี รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ นารีใดย่อมประพฤติตามความชอบใจของสามี อย่างนี้ นารีนั้นย่อมเข้าถึงความเป็นเทวดา เหล่ามนาปกายิกา.

จบ วิสาขสูตรที่ ๗