พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. ทุติยอิธโลกสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  2 พ.ย. 2564
หมายเลข  39606
อ่าน  420

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 536

ปัณณาสก์

อุโปสถวรรคที่ ๕

๑๐. ทุติยอิธโลกสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 536

๑๐. ทุติยอิธโลกสูตร

[๑๔๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อชัยชนะในโลกนี้ ชื่อว่าปรารภ โลกนี้แล้ว ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุคาม ในโลกนี้ เป็นจัดการงานดี. สงเคราะห์คนข้างเคียงของสามีดี ๑ ประพฤติเป็นที่พอใจสามี. รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ ๑ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย มาตุคามเป็นผู้จัดการงานดีอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุคามในโลกนี้ เป็นคนขยัน ไม่เกียจคร้านในการงานภายในบ้าน ของสามี ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุคามเป็นผู้จัดการงานดี อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุคามเป็นผู้สงเคราะห์คนข้างเคียง ของสามีดีอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุคามในโลกนี้ ย่อมรู้ การงานที่อันโตชนภายในบ้านของสามี ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุคามเป็นผู้สงเคราะห์คนข้างเคียงของสามีดีอย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุคามประพฤติเป็นที่พอใจของสามี อย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุคามในโลกนี้ ไม่ละเมิดสิ่งอันเป็น ที่ไม่พอใจของสามีเพราะเหตุแห่งชีวิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุคาม ประพฤติเป็นที่พอใจของสามีอย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มามุคามรักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ อย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุคามในโลกนี้ จัดการทรัพย์ คือ ข้าวเปลือก เงินหรือทอง ที่สามีหามาได้ให้คงอยู่ ฯลฯ ดูก่อนภิกษุ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 537

ทั้งหลาย มาตุคามรักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้อย่างนี้แล ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ชื่อว่า ปฏิบัติเพื่อชัยชนะในโลกนี้ ชื่อว่าปรารภโลกนี้แล้ว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อชัยชนะในโลกหน้า ชื่อว่าปรารภโลกหน้าแล้ว ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุคามในโลกนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ๑ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ๑ เป็นผู้ถึง พร้อมด้วยจาคะ ๑ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุคามเป็นถึงพร้อมด้วยศรัทธา อย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุตามในโลกนี้ เป็นผู้มีศรัทธา ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุคามเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธาอย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุคามเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุคามในโลกนี้ เป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ และจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความ ประมาท ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุคามเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุคามเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ อย่างไร ดุก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุคามในโลกนี้ มีจิตปราศจาก มลทิน คือ ความตระหนี่ อยู่ครองเรือน ฯลฯ มาตุคามเป็นผู้ถึง พร้อมด้วยจาคะอย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุคามเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา อย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุคามในโลกนี้ มีปัญญา ฯลฯ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 538

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุคามเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาอย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อชัยชนะในโลกหน้า ชื่อว่าปรารภโลกหน้าแล้ว.

มาตุคามผู้จัดการงานดี สงเคราะห์คนข้าง เคียงของสามีดี ประพฤติเป็นที่พอใจของสามี รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ มาตุคามนั้นเป็นผู้ถึง พร้อมด้วยศรัทธาและศีล ปราศจากความตระหนี่ รู้ความประสงค์ ชำระทางสัมปรายิกัตถประโยชน์ อยู่เป็นนิตย์ นารีใดมีธรรม ๘ ประการนี้ ดังกล่าว มานี้ ปราชญ์ทั้งหลายเรียกนารีแม้นั้นว่า เป็นผู้ มีศีล ตั้งอยู่ในธรรม พูดคำสัตย์ อุบาสิกาผู้มีศีล เช่นนั้น ถึงพร้อมด้วยอาการ ๑๖ อย่าง ประกอบ ด้วยองค์คุณ ๘ ประการ ย่อมเข้าถึงเทวดาโลก ประเภทมนาปกายิกา.

จบ ทุติยอิธโลกสูตรที่ ๑๐

จบ อุโปสถวรรคที่ ๕

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 539

อรรถกถาทุติยอิธโลกสูตรที่ ๑๐

ทุติยอิธโลก สูตรที่ ๑๐ ตรัสแก่ภิกษุสงฆ์

ก็คำที่ไม่ได้ตรัสไว้ในพระสูตรทุกสูตร มีอรรถง่ายทั้งนั้น เพราะมีนัยที่มาในหนหลังแล้ว.

จบ อรรถกถาทุติยอิธโลกสูตรที่ ๑๐

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สังขิตตสูตร ๒. วิตถตสูตร ๓. วิสาขาสูตร ๔. วาเสฏฐกสูตร ๕. โพชฌาสูตร ๖. อนุรุทธสูตร ๗. วิสาขสูตร ๘. นกุลสูตร ๙. อิธโลกสูตรที่ ๑ ๑๐. อิธโลกสูตรที่ ๒. และอรรถกถา

จบ อุโปสถวรรคที่ ๕

รวมวรรคในปัณณาสก์นี้ คือ

๑. เมตตาวรรค ๒. มหาวรรค ๓. คหปติวรรค ๔. ทานวรรค ๕. อุโปสถวรรค

จบ ปฐมปัณณาสก์