๒. โอวาทสูตร
[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 555
วรรคที่ไม่ได้สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์
สันธานวรรคที่ ๑
๒. โอวาทสูตร
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 555
๒. โอวาทสูตร
[๑๔๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน ใกล้พระนครเวสาลี ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวาย บังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มี พระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุประกอบด้วยธรรม เท่าไรหนอแล สงฆ์สมมติให้เป็นผู้สอนนางภิกษุณี.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ภิกษุประกอบ ด้วยธรรม ๘ ประการ สงฆ์พึงสมมติให้ทูลถามพระผู้มีธรรม ๘ ประการเป็นไฉน ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ๑ เป็น พหูสูต ฯลฯ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ ๑ จำปาติโมกข์ทั้ง ๒ ได้โดย พิสดาร จำแนกแจกแจงวินิจฉัยได้ถูกต้อง ทั้งโดยสูตรและโดย พยัญชนะ ๑ เป็นผู้มีวาจางามกล่าวถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วย วาจาของชาวเมืองอันสละสลวย ไม่มีโทษ ให้รู้ประโยชน์ ๑ เป็น ผู้สามารถเพื่อชี้แจงภิกษุณีสงฆ์ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทานให้อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมมีกถา ๑ เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของภิกษุณีทั้งหลาย โดยมาก ๑ ไม่เคยต้องอาบัติหนัก กับนางภิกษุณีผู้บวชอุทิศเฉพาะ พระผู้มีพระภาคเจ้านุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ๑ เป็นผู้มีพรรษา ๒๐ หรือเกินกว่า ๑ ดูก่อนอานนท์ ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ นี้แล สงฆ์พึงสมมติให้เป็นผู้สอนนางภิกษุณี.
จบ โอวาทสูตรที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 556
อรรถกถาโอวาทสูตรที่ ๒
โอวาทสูตรที่ ๒ มีวิจฉัยดังต่อไปนี้.
ในบทว่า พหุสฺสุโต นี้ พึงทราบความที่ภิกษุเป็นพหูสูต ด้วยอำนาจพุทธพจน์แม้ทั้งหมด บทว่า ครุธมฺมํ ได้ กายสังสัคคะ การจับต้องกาย. ความสังเขปในสูตรนี้มีเพียงเท่านี้ ส่วนวินิจฉัย ถึงภิกษุผู้โอวาทนางภิกษุณี พึงทราบโดยนัยดังกล่าวในอรรถกถา วินัยชื่อว่า สมันตปาสาทิกานั่นแล.
จบอรรถกถาโอวาทสูตรที่ ๒