พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. ทีฆชาณุสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  2 พ.ย. 2564
หมายเลข  39611
อ่าน  592

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 560

วรรคที่ไม่ได้สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

สันธานวรรคที่ ๑

๔. ทีฆชาณุสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 560

๔. ทีฆชาณุสูตร

[๑๔๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ นิคม แห่งชาวโกลิยะ ชื่อ กักกรปัตตะ ใกล้เมืองโกลิยะ ครั้งนั้นแล โกลิยบุตร ชื่อทีฆชาณุ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบ พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็น คฤหัสถ์ ยังบริโภคกาม อยู่ครั้งเรือน นอนเบียดบุตร ใช้จันทร์ ในแคว้นกาสี ยังทรงดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้ ยังยินดี เงินและทองอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า โปรดแสดงธรรมที่เหมาะแก่ข้าพระองค์ อันจะพึงเป็นไปเพื่อ ประโยชน์ เพื่อความสุขในปัจจุบัน เพื่อประโยชน์เพื่อความสุข ในภายหน้าเถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพยัคฆปัชชะ ธรรม ๔ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขในปัจจุบัน แก่กุลบุตร ๔ ประการเป็นไฉนคือ อุฏฐานสัมปทา ๑ อารักขา สัมปทา ๑ กัลยาณมิตตตา ๑ สมชีวิตา ๑.

ดูก่อนพยัคฆปัชชะ ก็อุฏฐานสัมปทาเป็นไฉน กุลบุตร ในโลกนี้ เลี้ยงชีพด้วยการหมั่นประกอบการงาน คือ กสิกรรม พาณิชยกรรม โครักขกรรม รับราชการฝ่ายทหาร รับราชการ ฝ่ายพลเรือ หรือศิลปอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้าน ในการงานนั้น ประกอบด้วยปัญญาเครื่องสอดส่องอันเป็นอุบาย

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 561

ในการงานนั้น สามารถจัดทำได้ ดูก่อนพยัคฆปัชชะ นี้เรียกว่า อุฏฐานสัมปทา.

ดูก่อนพยัคฆปัชชะ ก็อารักขสัมปทาเป็นไฉน กุลบุตร ในโลกนี้ โภคทรัพย์หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร สั่งสม ด้วยกำลังแขน เหงื่อโทรมตัว ชอบธรรม ได้มาโดยธรรม เขา รักษาคุ้มครองโภคทรัพย์เหล่านั้นไว พร้อมมูล ด้วยทำไว้ในใจว่า ไฉนหนอ พระราชาไม่พึงริบโภคทรัพย์เหล่านี้ของเรา โจรไม่ พึงลัก ไฟไม่พึงไหม้ น้ำไม่พึงพัดไม่ ทายาทผู้ไม่เป็นที่รักจะไม่ พึงลักไป ดูก่อนพยัคฆปัชชะ นี้เรียกว่าอารักขสัมปทา.

ดูก่อนพยัคฆปัชชะ ก็กัลยาณมิตตตาเป็นไฉน กุลบุตร ในโลกนี้ อยู่อาศัยในฐานหรือนิคมใด ย่อมดำรงตน หรือบุตร สนทนากับบุคคลในบ้านหรือนิคมนั้น ซึ่งเป็นคฤหบดี หรือบุตร คฤหบดี เป็นคนหนุ่มหรือคนแก่ ผู้มีสมาจารบริสุทธิ์ ผู้ถึงพร้อม ด้วยศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา ศึกษาศรัทธาสัมปทาตามผู้ถึง พร้อมด้วยจาคะ ศึกษาปัญญาสัมปทาตามผู้พึงพร้อมด้วยปัญญา ดูก่อนพยัคฆปัชชะ นี้เรียกว่ากัลยาณมิตตตา.

ดูก่อนพยัคฆปัชชะ ก็สมชีวิตาเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้ ทางเจริญแห่งทรัพย์และทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์ แล้วเลี้ยงชีพ พอเหมาะ ไม่ให้ฟูมฟายนัก ไม่ให้ฝืดเคืองนัก ด้วยคิดว่า รายได้ ของเราจักต้องเหนือรายจ่าย และรายจ่ายของเราจักต้องไม่เหนือ รายได้ ดูก่อนพยัคฆปัชชะ เปรียบเหมือนคนชั่งตราชั่งหรือลูกมือ คนชั่งตราชั่ง ยกตราชั่งขึ้นแล้ว ย่อมลดออกเท่านี้ หรือต้องเพิ่ม

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 562

เข้าเท่านี้ ฉันใด กุลบุตรก็ฉันนั้นเหมือนกัน รู้ทางเจริญและทาง เสื่อมแห่งโภคทรัพย์ แล้วเลี้ยงชีพพอเหมาะ. ไม่ให้ฟูมฟายนัก ไม่ให้ฝืดเคืองนัก ด้วยคิดว่า รายได้ของเราจักต้องเหนือรายจ่าย และรายจ่ายของเราจักต้องไม่เหนือรายได้ ดูก่อนพยัคฆปัชชะ ถ้ากุลบุตรผู้นี้มีรายได้น้อย แต่เลี้ยงชีวิตอย่างโอ่อ่า จะมีผู้ว่าเขา ว่า กุลบุตรผู้นี้ใช้โภคทรัพย์เหมือนคนเคี้ยวกินผลมะเดื่อฉะนั้น ก็ถ้ากุลบุตรผู้ที่มีรายได้มาก แต่เลี้ยงชีพอย่างฝืดเคือง จะมีผู้ว่าเขาว่า กุลบุตรผู้นี้จักตายอย่างอนาถา แต่เพราะกุลบุตรผู้นี้รู้ทางเจริญ และทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์ แล้วเลี้ยงชีพพอเหมาะ ไม่ให้ฟูมฟาย นัก ไม่ให้ฝืดเคืองนัก ด้วยคิดว่า รายได้ของเราจักต้องเหนือ รายจ่าย และรายจ่ายของเราจักต้องไม่เหนือรายได้ ดูก่อน พยัคฆปัชชะ นี้เรียกว่าสมชีวิตา.

ดูก่อนพยัคฆปัชชะ โภคทรัพย์ที่เกิดโดยชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมมีทางเสื่อม ๔ ประการ คือ เป็นนักเลงหญิง ๑ เป็นนักเลง สุรา ๑ เป็นนักเลงการพนัน ๑ มีมิตรชั่ว สหายชั่ว เพื่อนชั่ว ๑ ดูก่อนพยัคฆปัชชะ เปรียบเหมือนสระน้ำใหญ่ มีทางไหลเข้า ๔ ทาง ทางไหลออก ๔ ทาง บุรุษพึงปิดทางไหลเข้า เปิดทางไหลออก ของสระนั้น ฝนก็มิตกต้องตามฤดูกาล ด้วยประการฉะนี้ สระน้ำ ใหญ่นั้นพึงหวังความเสื่อมอย่างเดียว ไม่มีความเจริญเลย ฉันใด โภคทรัพย์ที่เกิดโดยชอบอย่างนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมมีทาง เสื่อม ๔ ประการ คือ เป็นนักเลงหญิง ๑ เป็นนักเลงสุรา ๑ เป็น นักเลงการพนัน ๑ มีมิตรชั่ว หลายชั่ว เพื่อนชั่ว ๑.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 563

ดูก่อนพยัคฆปัชชะ โภคทรัพย์ที่เกิดโดยชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมมีความเจริญ ๔ ประการ คือ ไม่เป็นนักเลงหญิง ๑ ไม่เป็น นักเลงสุรา ๑ ไม่เป็นนักเลงการพนั้น ๑ มีมิตรดี สหายดี เพื่อนดี ๑ ดูก่อนพยัคฆปัชชะ เปรียบเหมือนสระน้ำใหญ่ มีทางไหลเข้า ๔ ทาง ไหลออก ๔ ทาง บุรุษพึงเปิดทางไหลเข้า ปิดทางไหลออกของสระ นั้น ทั้งฝนก็ตกต้องตามฤดูกาล ด้วยประการฉะนี้ สระน้ำใหญ่นั้น พึงหวังความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อม ฉันใด โภคทรัพย์ที่เกิด โดยชอบอย่างนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมมีทางเจริญ ๔ ประการ คือ ไม่เป็นนักเลงหญิง ๑ ไม่เป็นนักเลงสุรา ๑ ไม่เป็นนักเลง การพนัน ๑ มีมิตรดี สหายดี เพื่อนดี ๑ ดูก่อนพยัคฆปัชชะ ธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อความสุข ในปัจจุบันแก่กุลบุตร.

ดูก่อนพยัคฆปัชชะ ธรรม ๔ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อ ประโยชน์ เพื่อความสุขในภายหน้าแก่กุลบุตร ธรรม ๔ ประการ เป็นไฉน คือ สัทธาสัมปทา ๑ สีลสัมปทา ๑ จาคสัมปทา ๑ ปัญญาสัมปทา ๑.

ดูก่อนพยัคฆปัชชะ ก็สัทธาสัมปทาเป็นไฉน กุลบุตรใน โลกนี้มีศรัทธาคือ เพื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้ เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้เบิกบาน แล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ดูก่อนพยัคฆปัชชะ นี้เรียกว่าสัทธาสัมปทา.

ดูก่อนภิกษุพยัคฆปัชชะ สีลสัมปทาเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้ เป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ เป็นผู้งดเว้นจาการดื่มน้ำเมา

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 564

คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ดูก่อนพยัคฆปัชชะ นี้เรียกว่าสีลสัมปทา.

ดูก่อนพยัคฆปัชชะ ก็จาคสัมปทาเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้ มีจิตปราศจากมลทินคือความตระหนี้ อยู่ครองเรือน มีจาคะอัน ปล่อยแล้ว มีฝ่ามือชุ่มยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการ จำแนกทาน ก่อนพยัคฆปัชชะ นี้เรียกว่าจาคสัมปทา.

ดูก่อนพยัคฆปัชชะ ก็ปัญญาสัมปทาเป็นไฉน กุลบุตรใน โลกนี้ เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาที่เห็นความเกิด และความดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ดูก่อนพยัคฆปัชชะ นี้เรียกว่าปัญญาสัมปทา ดูก่อนพยัคฆปัชชะ ธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อความสุข ในภายหน้าแก่กุลบุตร.

คนหมั่นในการทำงาน ไม่ประมาท จัด การงานเหมาะสม เลี้ยงชีพพอเหมาะ รักษาทรัพย์ ที่หามาได้ มีศรัทธา ถึงพร้อมด้วยศีล ถ้อยคำ ปราศจากความตระหนี้ ชำระทางสัมปรายิก ประโยชน์เป็นนิตย์ ธรรม ๘ ประการดังกล่าวนี้ ของผู้คอบเรือน ผู้มีศรัทธา อันพระพุทธเจ้าผู้มี พระนามอันแท้จริงตรัสว่า นำสุขมาให้ในโลกทั้ง สอง คือ ประโยชน์ในปัจจุบันนี้และความสุขใน

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 565

ภายหน้า บุญ คือ จาคะนี้ย่อมเจริญแก่คฤหัสถ์ ด้วยประการฉะนี้.

จบ ทีฆชาณุสูตรที่ ๔

อรรถกถาทีฆชาณุสูตรที่ ๔

ทีฆชาณุสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

คำว่า พฺยคฺฆปชฺช นี้ เป็นคำร้องเรียกโกลิยบุตรชื่อทีฆชาณุ นั้น ด้วยอำนาจประเพณีตั้งชื่อ. จริงอยู่ พรรพบุรุษของโกลิยบุตร ชื่อทีฆชาณุนั้นเกิดในทางเสือผ่าน เพราะฉะนั้น คนในตระกูลนั้น เขาจึงเรียกกันว่า พยัคฆปัชชะ บทว่า อิสฺสตฺเถน แปลว่า ด้วยงาน ของนักรบแม่นธนู. บทว่า ตตฺรุปายาย ความว่า อันเป็นอุบายใน การงานนั้น เพราะรู้ว่า เวลานี้ควรทำสิ่งนี้. บทว่า วุฑฺฒสีลิโน แปลว่า ผู้มีศีลอันสมบูรณ์ ผู้มีสมาจารอันหมดจด. บทว่า อายํ แปลว่า การมา. บทว่า นาจฺโจคาฬฺหํ แปลว่า ไม่เบียดกรอนัก บทว่า ปริยาทาย ได้แก่. รับมาแล้วใช้จ่ายไป ในข้อนั้น ผู้ใดมีรายได้ เพิ่มขึ้นกว่ารายจ่ายเป็น ๒ เท่า รายจ่ายของผู้นั้นไม่สามารถ ที่จะทำรายได้ให้หมดไป. (สมดังที่ตรัสไว้ในสิงคาลสูตรว่า)

จตุธา วิภเช โภเค ปณฺฑิโต ฆรมาวสํ เอเกน โภเค ภุญฺเชยฺย ทฺวีหิ กมฺมํ ปโยชเย จตุตฺถญฺจ นิธาเปยฺย อาปทาสุ ภวิสฺสติ

บัณฑิตบุคคลผู้ครองเรือน พึงแบ่งโภคทรัพย์ออกเป็น ๔ ส่วน คือ ส่วนหนึ่งใช้สอย

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 566

สองส่วนประกอบการงาน ส่วนที่ ๔ เก็บไว้ ใน เมื่อมีอันตราย.

ก็เมื่อบุคคลปฏิบัติอย่างนี้ รายจ่ายย่อมไม่อาจจะเหนือรายได้ ไปได้เลย. บทว่า อุทุมฺพรขาทิกํ ความว่า เมื่อบุคคลประสงค์จะกิน ผลมะเดื่อ เขย่าต้นมะเดื่อที่มีผลสุก ผลเป็นอันมากหล่นลงมาด้วย การเขย่าคราวเดียวเท่านั้น เขากินผลที่ควรจะกิน ทิ้งผลเป็นอันมาก นอกนี้ไปเสีย ฉันใด บุคคลใดสุรุ่ยสุร่าย กระทำรายจ่ายให้มากกว่า รายได้ บริโภคโภคะ บุคคลนั้นเขาเรียกว่า กินทิ้งกินขว้าง เหมือน กุลบุตรผู้กินผลมะเดื่อคนนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน. บทว่า อทฺธมาริกํ แปลว่า ตายน่าอนาถ. บทว่า สมชีวิกํ กปฺเปติ แปลว่า เลี้ยงชีพ อย่างพอดี. บทว่า สมชีวิตา ความว่า เป็นอยู่ด้วยความเป็นอยู่ อันพอดี. บทว่า อปายมุขานิ ได้แก่ ฐานที่ตั้งแห่งความพินาศ.

บทว่า อุฏฺาตา กมฺมเธยฺเยสุ ได้แก่ ผู้สมบูรณ์ด้วยความขยัน หมั่นเพียร ในฐานะที่กระทำการงาน. บทว่า วิธานวา แปลว่า ผู้จัดงานเป็น. บทว่า โสตฺถานํ สมฺปรายิกํ ได้แก่ ความสวัสดีอัน เป็นไปในภายภาคหน้า บทว่า สจฺจนาเมน ความว่า โดยพระนาม ที่แท้จริงอย่างนี้ว่า เป็นพุทธะ เพราะตรัสรู้นั่นเอง. บทว่า จาโค ปุญฺํ ปวฑฺฒติ ความว่า จาคะและบุญที่เหลือย่อมเจริญ. ในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสศรัทธาเป็นต้นคละกัน.

จบ อรรถกถาทีฆชาณุสูตรที่ ๔