พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. ปฐมอัฏฐปุคคลสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  2 พ.ย. 2564
หมายเลข  39616
อ่าน  324

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 574

วรรคที่ไม่ได้สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

สันธานวรรคที่ ๑

๙. ปฐมอัฏฐปุคคลสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 574

๙. ปฐมอัฏฐปุคคลสูตร

[๑๔๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๘ จำพวกนี้ เป็นผู้ ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ๘ จำพวกเป็นไฉน คือ พระโสดาบัน ๑ ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำ ให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ๑ พระสกทาคามี ๑ ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อ กระทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล ๑ พระอนาคามี ๑ ท่านผู้ปฏิบัติ เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล ๑ พระอรหันต์ ๑ ท่านผู้ปฏิบัติ เพื่ออรหัตตผล ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๘ จำพวกนี้แล เป็น ผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

บุคคลผู้ปฏิบัติ ๔ จำพวก ผู้ตั้งอยู่ในผล ๔ จำพวกนี้เป็นสงฆ์ ผู้ปฏิบัติตรง มีปัญญา มีศีล และจิตมั่นคง ย่อมกระทำบุญของมนุษย์ผู้เพ่งบุญ บูชาอยู่ให้มีผลมาก ท่านที่ให้ในสงฆ์ ย่อมมี ผลมาก.

จบ อัฏฐปุคคลสูตรที่ ๙

อรรถกถาปฐมอัฏฐปุคคลสูตรที่ ๙

ปฐมอัฏฐปุคคลสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อุชุภูโต ความว่า ชื่อว่าตรง เพราะไม่มีการคด ทางกายเป็นต้น. บทว่า ปญฺาสีลสมาหิโต ได้แก่ ผู้ประกอบด้วย

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 575

ปัญญาและศีล. บทว่า ยชมานานํ ได้แก่ ผู้ให้ทาน. บทว่า ปุเปกฺขานํ ได้แก่ ตรวจดู คือแสวงหาบุญ. บทว่า โอปธิกํ ได้แก่ มีอุปธิเป็นวิบากอันยิ่งหรือหาประมาณมิได้.

จบอรรถกถาปฐมอัฏฐปุคคลสูตรที่ ๙