พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. ทุติยอัฏฐปุคคลสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  2 พ.ย. 2564
หมายเลข  39617
อ่าน  365

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 576

วรรคที่ไม่ได้สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

สันธานวรรคที่ ๑

๑๐. ทุติยอัฏฐปุคคลสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 576

๑๐. ทุติยอัฏฐปุคคลสูตร

[๑๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๘ จำพวกนี้ เป็นผู้ควร ของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ๘ จำพวก เป็นไฉน คือ พระโสดาบัน ๑ ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่ง โสดาปัตติผล ๑ พระสกทาคามี ๑ ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่ง สกทาคามิผล ๑ พระอนาคามี ๑ ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่ง อนาคามิผล ๑ พระอรหันต์ ๑ ท่านผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัตตผล ๑ บุคคล ๘ จำพวกนี้แล เป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มี นาบุญอื่นยิ่งกว่า.

ผู้ปฏิบัติ ๔ จำพวก ผู้ตั้งอยู่ในผล ๔ จำพวก สงฆ์นี้คือ บุคคล ๘ จำพวก เป็นผู้สูงสุด กว่าสัตว์ทั้งหลาย ย่อมกระทำบุญของมนุษย์ผู้ เพ่งบุญบูชาอยู่ให้มีผลมาก ทานที่ให้ในสงฆ์นี้ ย่อมมีผลมาก.

จบ อังฏฐปุคคลสูตรที่ ๑๐

อรรถกถาทุติยอัฏฐปุคคลสูตร

ทุติยอัฏฐปุคคลสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สมุกฺกฏฺโ แปลว่า อุตกฤษฏ์ คือสูงสุด. บทว่า สตฺตานํ ได้แก่ แห่งสัตว์ทั้งปวง. คำที่เหลือในพระสูตรนี้ง่าย ทั้งนั้นแล.

จบ อรรถกถาทุติยอัฏฐกปุคคลสูตรที่ ๑๐

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 577

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. โคตมีสูตร ๒. โอวาทสูตร ๓. สังขิตตสูตร ๔. ทีฆชาณุ- สูตร ๕. อุชชยสูตร ๖. ภยสูตร ๗. ปฐมอาหุเยยสูตร ๘. ทุติยอาหุเนยยสูตร ๙. ปฐมอัฏฐปุคคลสูตร ๑๐. ทุติอัฏฐปุคคลสูตร.

จบ สันธานวรรคที่ ๑