พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. - ๙. ปฐม - ทุติย - ตติย - จตุตถ - ปัญจม - ฉัฏฐ - สัตตม - อัฏฐมอลังสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  2 พ.ย. 2564
หมายเลข  39619
อ่าน  388

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 582

วรรคที่ไม่ได้สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

จาลวรรคที่ ๒

๒. ปฐมอลังสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 582

๒. ปฐมอลังสูตร

[๑๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ทั้งตน และผู้อื่น ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความเข้าใจได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ๑ เป็นผู้ทรงจำธรรมที่ได้ฟังแล้ว ๑ พิจารณาเนื้อความแห่งธรรม ที่ทรงจำแล้ว ๑ รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑ เป็นผู้มีวาจางาม กล่าวถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาของ ชาวเมืองอันสละสลวย ไม่มีโทษ ให้รู้ประโยชน์ ๑ เป็นผู้ชี้แจ้ง สพรหมจารีให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญร่าเริง ๑ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้ สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ทั้งตนเองและผู้อื่น. จบ ปฐมอลังสูตรที่ ๒

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 583

๓. ทุติยอลังสูตร

[๑๕๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ทั้งตน และผู้อื่น ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่มีความเข้าใจได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย แต่เป็นผู้ทรงจำธรรมที่ได้ฟังแล้ว ๑ พิจารณาเนื้อความแห่งธรรม ที่ทรงจำแล้ว ๑ รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑ เป็นผู้มีวาจางาม กล่าวถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาของ ชาวเมืองอันสละสลวย ไม่มีโทษ ให้รู้ประโยชน์ ๑ เป็นผู้ชีแจง สพรหมจารีให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญร่าเริง ๑ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้ สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ทั้งตนเองและผู้อื่น.

จบ ทุติยอลังสูตรที่ ๓

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 584

๔. ตติยอลังสูาตร

[๑๕๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน แต่ไม่สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็น ผู้มีความเข้าใจได้เร็วในอกุลศลธรรมทั้งหลาย ๑ เป็นผู้ทรงจำธรรม ที่ฟังแล้ว ๑ พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ได้ทรงจำแล้ว ๑ รู้อรรถ รู้ธรรมตัวปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑ หาเป็นผู้มีวาจางาม กล่าวถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาของชาวเมืองอันสละสลวย ไม่มีโทษ ให้รู้ประโยชน์ไม่ หาชี้แจงสพรหมจารีให้เห็นแจ้ง ให้ สมาทาน ให้อาจหาญร่าเริงไม่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบ ด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์ เกื้อกูลแก่ตน แต่ไม่เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูล แก่ผู้อื่น.

จบ อลังสูตรที่ ๔

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 585

๕. จตุตถอลังสูตร

[๑๕๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นผู้สมารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น แต่ไม่เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็น ผู้มีความเข้าใจได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ๑ เป็นผู้ทรงจำธรรม ที่ได้ฟังแล้ว ๑ แต่ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ได้ฟังแล้ว และหารู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่ เป็นผู้ มีวาจางาม กล่าวถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาของชาวเมือง อันสละสลวย ไม่มีโทษ ให้รู้ประโยชน์ ๑ เป็นผู้ชี้แจงสพรหมจารี ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญร่าเริง ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นผู้สมารถในอัน ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น แต่ไม่เป็นผู้สามารถในอัน ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน.

จบ จตุตถอลังสูตรที่ ๕

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 586

๖. ปัญจมอลังสูตร

[๑๕๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน แต่ไม่เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัย นี้ ไม่เป็นผู้มีความเข้าใจได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย แต่เป็นผู้ ทรงจำธรรมที่ได้ฟังแล้ว ๑ พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำ แล้ว ๑ รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑ หาเป็น ผู้มีวาจางาม กล่าวถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาของชาวเมือง อันสละสลวย ไม่มีโทษ ให้รู้ประโยชน์ไม่ และหาชี้แจงสพรหมจารี ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญร่าเริง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล เป็นผู้สมารถในอัน ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน แต่ไม่เป็นผู้สมารถในอันปฏิบัติ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น.

จบ ปัญจมอลังสูตรที่ ๖

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 587

๗. ฉัฏฐอลังสูตร

[๑๕๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ เป็นผู้สมารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น แต่ไม่เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่เป็นผู้มีความเข้าใจได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย แต่เป็นผู้ทรงจำ ธรรมที่ได้ฟังแล้ว ๑ ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำแล้ว หารู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่ เป็นผู้มีวาจา งาม กล่าวถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาของชาวเมืองอัน สละสลวย ไม่มีโทษ ให้รู้ประโยชน์ ๑ ชี้แจงสพรหมจารีให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญร่าเริง ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล เป็นผู้สมารถในอันปฏิบัติ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น แต่ไม่เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน.

จบ ฉักกอลังสูตรที่ ๗

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 588

๘. สัตตมอลังสูตร

[๑๕๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน แต่ไม่เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น ธรรม ๒ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรม วินัยนี้ ไม่เป็นผู้มีความเข้าใจได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่เป็น ผู้ทรงจำธรรมที่ได้ฟังแล้ว แต่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ได้ทรง จำแล้ว ๑ รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑ หาเป็นผู้มีวาจางาม กล่าวถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาของ ชาวเมืองอันสละสลวย ไม่มีโทษ ให้รู้ประโยชน์ไม่ ไม่ชี้แจง สพรหมจารีให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญร่าเริง ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล เป็น ผู้สมารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน แต่ไม่สามารถ ในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น.

จบ สัตตกอลังสูตรที่ ๘

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 589

๙. อัฏฐมอลังสูตร

[๑๕๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น แต่ไม่เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน ธรรม ๒ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่เป็นผู้มีความเข้าใจได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ทรงจำ ธรรมที่ได้ฟังแล้ว ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ได้ทรงจำแล้ว หารู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่ แต่เป็นผู้มี วาจางาม กล่าวถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาของชาวเมืองอัน สละสลวย ไม่มีโทษ ให้รู้ประโยชน์ ๑ ชี้แจงสพรหมจารีให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญร่าเริง ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบ ด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์ เกื้อกูลแก่ผู้อื่น แต่ไม่เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์ เกื้อกูลแก่ตน.

จบ อัฏฐมอลังสูตรที่ ๙

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 590

อรรถกถาอลังสูตรที่ ๒

อลังคสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อลํ อตฺตโน อลํ ปเรสํ ความว่า ภิกษุเป็นผู้สามารถ คืออาจ ได้แก่ ผู้สมควรในการปฏิบัติประโยชน์เกื้อกูลทั้งแก่ตน และแก่คนอื่น. บทว่า ขิปฺปนิสนฺติ ความว่า ภิกษุย่อมทรงจำได้เร็ว อธิบายว่า เมื่อเขากล่าวถึงขันธ์ ธาตุ และอายตนะเป็นต้น ย่อมรู้ ธรรมเหล่านั้นได้ฉับพลัน. ในพระสูตรนี้ตรัสสมถะและวิปัสสนา. แต่คำนี้ตรัสตั้งแต่เบื้องสูงลงมาเบื้องต่ำ ด้วยอัธยาศัยของบุคคล และด้วยความงดงามแห่งเทศนาแล.

จบ อรรถกถาอลังสูตรที่ ๒