พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. สังขิตตสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  2 พ.ย. 2564
หมายเลข  39627
อ่าน  597

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 591

วรรคที่ไม่ได้สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

จาลวรรคที่ ๒

๑๐. สังขิตตสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 591

๑๐ สังขิตตสูตร๑

[๑๖๐] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ ที่ข้าพระองค์ ได้ฟังแล้ว พึงเป็นผู้หลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มี ความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่เถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า โมฆบุรุษบางพวกในโลกนี้ ย่อมเชื้อเชิญเราโดยหาเหตุมิได้ เมื่อเรากล่าวธรรมแล้ว ย่อมสำคัญ เราว่าควรติดตาม ด้วยคิดว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้- มีพระภาคเจ้าโปรดแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ ขอพระสุคต โปรดแสดงธรรมโดยย่อ ไฉนหนอเราพึงรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิต ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ไฉนหนอเราพึงเป็นทายาทแห่งภาษิต ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะฉะนั้นแหละภิกษุ เธอพึงศึกษา อย่างนี้ว่า จิตของเราจักตั้งมั่น ดำรงอยู่ด้วยดีในภายใน และธรรม อันเป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วจักไม่ครอบงำจิตได้ ดูก่อนภิกษุ เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุ เมื่อใด จิตของเธอเป็นจิตตั้งมั่น ดำรงอยู่ด้วยดีแล้วในภายใน และธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้น


๑. อรรถกถาเป็นสูตรที่ ๓

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 592

แล้วไม่ครอบงำจิตได้ เมื่อนั้น เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเจริญ กระทำให้มากซึ่งเมตตาเจโตวิมุติ ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้มั่นคง สั่งสม ปรารภดีแล้ว ดูก่อนภิกษุ เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุ เมื่อใด เธอเจริญกระทำให้มากซึ่งสมาธินี้อย่างนี้แล้ว เมื่อนั้น เธอพึงเจริญสมาธินี้แม้มีวิตกวิจาร พึงเจริญสมาธินี้แม้มี ปีติ พึงเจริญสมาธินี้แม้ไม่มีปีติ พึงเจริญสมาธินี้แม้สหรคตด้วย ความสำราญ พึงเจริญสมาธินี้แม้สหรคตด้วยอุเบกขา ดูก่อนภิกษุ เมื่อใด เธอเจริญสมาธินี้อย่างนี้ เจริญดีแล้ว เมื่อนั้น เธอพึงศึกษา อย่างนี้ว่า เราจักเจริญ กระทำให้มากซึ่งกรุณาเจโตวิมุติ ฯลฯ มุทิตาเจโตวิมุติ ฯลฯ เราจักเจริญกระทำให้มาซึ่งอุเบกขาเจโตวิมุติ ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้มั่นคง สั่งสม ปรารภ ดีแล้ว ดูก่อนภิกษุ เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุ เมื่อใด เธอเจริญกระทำให้มากซึ่งสมาธินี้อย่างนี้แล้ว เมื่อนั้น เธอพึง เจริญสมาธินี้แม้มีวิตก มีวิจาร... พึงเจริญสมาธินี้แม้สหรคตด้วย อุเบกขา ดูก่อนภิกษุ เมื่อใด เธอเจริญสมาธินี้อย่างนี้ เจริญดีแล้ว เมื่อนั้น เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักพิจารณากายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก เสีย ดูก่อนภิกษุ เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุ เมื่อใด เธอ เจริญกระทำให้มากซึ่งสมาธินี้อย่างนี้แล้ว เมื่อนั้น เธอพึงเจริญ สมาธินี้แม้มีวิตก มีวิจาร... เธอพึงเจริญสมาธินี้แม้สหรคตด้วย อุเบกขา ดูก่อนภิกษุ เมื่อใด เธอเจริญสมาธินี้อย่างนี้เจริญดีแล้ว เมื่อนั้น เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักพิจารณาเวทนาในเวทนา

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 593

ทั้งหลายอยู่ ฯลฯ พิจารณาจิตในจิต ฯลฯ พิจารณาธรรมในธรรม ทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกเสีย ดูก่อนภิกษุ เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุ เมื่อใด เธอเจริญกระทำให้มากซึ่งสมาธินี้อย่างนี้แล้ว เมื่อนั้น เธอ พึงเจริญสมาธินี้แม้มีวิตก ไม่มีวิจาร พึงเจริญสมาธินี้แม้มีปีติ พึงเจริญสมาธินี้แม้ไม่มีปีติ พึงเจริญสมาธินี้แม้สหรคตด้วยความ สำราญ พึงเจริญสมาธินี้แม้สหรคตด้วยอุเบกขา ดูก่อนภิกษุ เมื่อใด เธอเจริญสมาธินี้อย่างนี้ เจริญดีแล้ว เมื่อนั้น เธอจักเดินไปทางใดๆ ก็จักเดินเป็นสุขในทางนั้นๆ ยืนอยู่ในที่ใดๆ ก็จักยืนเป็นสุขในที่นั้นๆ นั่งอยู่ในที่ใดๆ ก็จักนั่งอยู่เป็นสุขในที่นั้นๆ นอนอยู่ในที่ใดๆ ก็จักนอนเป็นสุขในที่นั้นๆ.

ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปนั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสอนด้วย พระโอวาทนี้แล้ว ลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีระภาคเจ้า กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป ภิกษุนั้นหลีกจากหมู่อยู่ผู้เดียว ไม่ ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ไม่นานนัก ก็กระทำให้แจ้ง ซึ่งที่สุด แห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรออกบวชเป็น บรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้า ถึงอยู่ รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ละภิกษุรูปนั้น ได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย.

จบ สังขิตตสูตรที่ ๑๐

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 594

อรรถกถาสังขิตตสูตรที่ ๓

สังขิตตสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า เอวเมว ได้แก่ โดยไม่มีเหตุเลย. อีกอย่างหนึ่ง โดย ประการที่ภิกษุนี้อ้อนวอนนั่นแหละ. บทว่า โมฆปริสา ได้แก่ บุรุษผู้หลง บุรุษเปล่า. บทว่า อชฺเฌสนฺติ แปลว่า ย่อมอ้อนวอน บทว่า อนุพนฺธิตพฺพํ ได้แก่ พึงติดตามด้วยการติดตาม อิริยาบถ. บทว่า มญฺนฺติ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงขู่ เพื่อให้เกิด ความเอื้อเฟื้อ จึงตรัสอย่างนั้น.

ได้ยินว่า ภิกษุนั้น แม้เมื่อประทานโอวาทให้แล้ว ก็ประกอบ เนื่องๆ แต่ความประมาทเท่านั้น ฟังธรรมแล้วก็อยู่ในที่นั้นนั่นแหละ ไม่ปรารถนาจะบำเพ็ญสมณธรรม เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงขู่เธออย่างนี้แล้ว แต่เพราะเหตุที่เธอสมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย แห่งพระอรหัต ฉะนั้น เมื่อจะทรงโอวาทเธออีก จึงตรัสคำมีอาทิว่า เพราะเหตุนั้นแหละ. ภิกษุ เธอพึงศึกษาอย่างนี้ ดังนี้. ในคำนั้น ตรัสมูลสมาธิอันพอที่จิตเป็นเอกัคคตา ด้วยอำนาจจิตที่เป็นไป ในภายในแก่เธอด้วยพระโอวาทนี้ก่อนว่า จิตของเราตั้งมั่นแล้ว ในภายใน จักเป็นจิตตั้งมั่นด้วยดี และอกุศลบาปธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตตั้งอยู่ แต่นั้น เพื่อจะทรงแสดงว่า เธอยังไม่ควร พอใจด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พึงเจริญสมาธินั้นอย่างนี้ จึงให้ภิกษุนั้น เจริญภาวนาด้วยอำนาจเมตตาอย่างนี้ว่า เมื่อใดแลภิกษุ จิตของเธอ ตั้งมั่นแล้วในภายใน เป็นจิตดำรงมั่นด้วยดีแล้ว และอกุศลบาปธรรม

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 595

ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ครอบงำจิตตั้งอยู่ เมื่อนั้นภิกษุ เธอพึงศึกษา อย่างนี้ว่า เมตตาเจโตวิมุติจักเป็นอันเราอบรมแล้ว ฯลฯ ปรารภดีแล้ว ดังนี้ตัวจึงตรัสอีกเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุ เมื่อใดสมาธินี้เป็นอันเธอ อบรมแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุ เมื่อใด เธอพึงเจริญ สมาธินี้ ทั้งที่มีวิตก ทั้งที่มีวิจาร. พึงทราบความแห่งคำนั้นดังต่อไป นี้:- ดูก่อนภิกษุ เมื่อใดมูลสมาธินี้เป็นอันเธออบรมแล้วด้วยอำนาจ เมตตาอย่างนี้ เมื่อนั้น เธอเมื่อไม่ยินดีแม้ด้วยเหตุมีประมาณเท่านั้น เมื่อจะทำมูลสมาธินั้นให้ถึงฌานหมวด ๔ ฌานหมวด ๕ ในอารมณ์ แม้เหล่าอื่น พึงเจริญโดยนัยมีอาทิว่า สวิตกฺก์ สวิจารํ ดังนี้.

ก็แลครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงแม้พรหมวิหาร ที่เหลือเป็นเบื้องหน้าแก่เธอว่า เธอพึงกระทำการอบรมฌานหมวด ๔ หมวด ๕ ในอารมณ์เหล่าอื่น จึงตรัสคำมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุ เมื่อใดแล สมาธินี้เป็นอันเธออบรมแล้ว อบรมดีแล้วอย่างนี้ ก่อน ภิกษุ เมื่อนั้น เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า กรุณาเจโตวิมุติจักเป็นอันเรา เจริญแล้ว. ครั้นแล้วทรงแสดงการเจริญฌานหมวด ๔ หมวด ๕ ซึ่งมี เมตตาเป็นต้น เป็นหัวหน้าอย่างนี้แล้ว เพื่อจะทรงแสดงกายานุปัสสนา เป็นต้นเป็นตัวนำอีก จึงตรัสคำมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุ เนื้อใดแล สมาธินี้เป็นอันเธออบรมแล้ว อบรมดีแล้วอย่างนี้ ดูก่อนเมื่อนั้นภิกษุ เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราพิจารณาเนืองๆ เห็นกายในกายอยู่ดังนี้แล้ว จึงตรัสคำมีอาทิว่า เมื่อใดแลภิกษุ สมาธินี้เป็นอันเธออบรมแล้ว อบรมดีแล้วอย่างนี้ ภิกษุเมื่อนั้น เธอจักเดินไปโดยอิริยาบถใดๆ เธอก็จักเดินไปอย่างผาสุก โดยอิริยาบถนั้นๆ นั่นแล. บรรดาบท

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 596

เหล่านั้น บทว่า ตคฺฆสิ แปลว่า จักไป. ด้วยบทว่า ผาสุเยว นี้ทรง แสดงพระอรหัต. จริงอยู่ ท่านผู้บรรลุพระอรหัต ชื่อว่าย่อมอยู่ผาสุก ในทุกอิริยาบถ.

จบ อรรถกถาสังขิตตสูตรที่ ๓ (๑)


๑.นับอิจฉาสูตรเป็น ๑ นับอลังสูตรทั้งหมดเป็น ๒ จึงนับสังขิตตสูตรเป็นที่ ๓ นี้โดยอรรถกถานัย ส่วนปาลินัย นับเรียงลำดับ สังขิตตสูตรจึงเป็นที่ ๑๐.