พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๑. คยาสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  2 พ.ย. 2564
หมายเลข  39628
อ่าน  356

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 597

วรรคที่ไม่ได้สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

จาลวรรคที่ ๒

๑๑. คยาสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 597

๑๑. คยาสูตร

[๑๖๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ คยาสีสประเทศ ใกล้ฝั่งแม่น้ำคยา ณ ที่นั้นแลพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียก ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก่อนแต่ตรัสรู้ ยังมิได้ตรัสรู้ ยังเป็น พระโพธิสัตว์อยู่ เราจำได้แม้ซึ่งโอภาส แต่ไม่เห็นรูปทั้งหลาย เรา จึงมีความคิดดังนี้ว่า ถ้าเราพึงจำได้แม้ซึ่งโอภาส และพึงเห็นรูป ทั้งหลายด้วยอาการนี้ว่า ญาณทัสสนะนี้ของเราก็จะพึงบริสุทธิ์ กว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยต่อมา เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท มี ความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ย่อมจำได้ซึ่งโอภาส และเห็นรูปทั้งหลาย แต่เราไม่ได้ยืนเจรจาปราศรัยกับเทวดาเหล่านั้น เราจึงมีความคิด ดังนี้ว่า ถ้าเราจำโอภาสได้ เห็นรูปทั้งหลาย และยืนเจรจาปราศรัย กับเทวดาเหล่านั้น ด้วยอาการอย่างนี้ ญาณทัสสนะนี้ ของเราก็ จะพึงบริสุทธิ์ดีกว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยต่อมา เรานั้นเป็นผู้ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ ย่อมจำได้ซึ่งโอภาส เห็นรูปทั้งหลาย และได้ยืนเจรจาปราศรัยกับเทวดาเหล่านั้น แต่ ไม่รู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า เทวดาเหล่านี้มาจากเทพนิกายชั้นโน้น หรือชั้นโน้น เรานั้นจึงคิดเห็นต่อไปว่า หากเราพึงจำโอภาส เห็นรูป ทั้งหลาย ยืนเจรจาปราศรัยกับเทวดาเหล่านั้น และรู้จักเทวดา เหล่านั้นว่า เทวดาเหล่านี้มาจากเทพนิกายชั้นโน้นหรือชั้นโน้น ด้วยอาการอย่างนี้ ญาณทัสสนะนี้ของเราก็จะพึงบริสุทธิ์ว่า

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 598

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยต่อมา เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ ย่อมจำได้ซึ่งโอภาส เห็นรูปทั้งหลายยืนเจรจา ปราศรัยกับเทวดาเหล่านั้น และรู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า เทวดา เหล่านั้นมาจากเทพนิกายชั้นโน้นหรือชั้นโน้น แต่ก็ยังไม่รู้เทวดา เหล่านั้นว่า ด้วยวิบากแห่งกรรมนี้ เทวดาเหล่านี้เคลื่อนจากชั้นนี้แล้ว ไปเกิดในชั้นนั้น ถึงจะรู้เทวดาเหล่านั้นว่า ด้วยวิบากแห่งกรรมนี้ เทวดาเหล่านี้เคลื่อนจากชั้นนี้แล้วไปเกิดในชั้นนั้น แต่ก็ไม่รู้เทวดา เหล่านั้นว่า ด้วยวิบากแห่งกรรมนี้ เทวดาเหล่านี้มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนี้ ถึงจะรู้เทวดาเหล่านั้นว่า เทวดาเหล่านั้น มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนี้ ตั้งอยู่นานอย่างนี้ แต่ก็ ว่า เทวดาเหล่านี้มีอายุยืนอย่างนี้ ตั้งอยู่นานอย่างนี้ ถึงจะรู้เทวดา เหล่านั้นว่า เทวดาเหล่านี้มีอายุยืนอย่างนี้ ตั้งอยู่นานอย่างนี้ แต่ว่า ไม่รู้เทวดาเหล่านั้นว่า เราเคยอยู่ร่วมหรือไม่เคยอยู่ร่วมกับเทวดา เหล่านี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรานั้นจึงคิดเห็นดังนี้ว่า หากเราพึงจำ โอภาส เห็นรูปทั้งหลาย ยืนเจรจาปราศรัยกับเทวดาเหล่านั้น พึงรู้จัก เทวดาเหล่านั้นว่า เทวดาเหล่านี้มาจากเทพนิกาชั้นโน้นหรือชั้นโน้น พึงรู้เทวดาเหล่านั้นว่า ด้วยวิบากแห่งกรรมนี้ เทวดาเหล่านี้เคลื่อน จากชั้นนี้แล้วไปเกิดในชั้นนั้น พึงรู้เทวดาเหล่านั้นว่า เทวดาเหล่านี้ มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนี้ พึงรู้เทวดาเหล่านั้นว่า เทวดาเหล่านี้มีอายุยืนอย่างนี้ ตั้งอยู่นานอย่างนี้ และพึงรู้เทวดา เหล่านั้นว่า เราเคยอยู่ร่วมหรือไม่เคยอยู่ร่วมกับเทวดาเหล่านี้ ด้วยอาการอย่างนี้ ญาณทัสสนะนี้ของเรา พึงบริสุทธิ์ดีกว่า ดูก่อน

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 599

ภิกษุทั้งหลาย สมัยต่อมา เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว. ย่อมจำโอภาสได้ เห็นรูปทั้งหลายยืนเจรจาปราศรัย กับเทวดาเหล่านั้น รู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า เทวดาเหล่านี้มาจาก เทพนิกายชั้นโน้นหรือชั้นโน้น รู้เทวดาเหล่านั้นว่าด้วยวิบากแห่ง กรรมนี้ เทวดาเหล่านี้เคลื่อนจากชั้นนี้แล้วไปเกิดในชั้นนั้น รู้เทวดา เหล่านั้นว่า เทวดาเหล่านี้มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนี้ รู้เทวดาเหล่านั้นว่า เทวดาเหล่านี้มีอายุยืนอย่างนี้ ตั้งอยู่นานอย่างนี้ และรู้เทวดาเหล่านั้นว่า เราเคยอยู่ร่วมหรือไม่เคยอยู่ร่วมกับเทวดา เหล่านั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ญาณทัสสนะอันประเสริฐยิ่ง เวียน ๘ รอบอย่างนี้ของเรายังไม่บริสุทธิ์ เพียงใด เราก็ยังไม่ปฏิญาณว่า ได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้ง สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น แต่เมื่อใด ญาณทัสสนะอันประเสริฐยิ่ง เวียน ๘ รอบ อย่างนี้ขจองเราบริสุทธิ์ดีแล้ว เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณว่า ได้ตรัสรู้ อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้ง สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ก็แลญาณทัสสนะได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เจโตวิมุติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้มี ในที่สุด บัดนี้ภพใหม่ต่อไปไม่มี.

จบ คยาสูตรที่ ๑๑

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 600

อรรถกถาคยาสูตรที่ ๔

คยาสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า เอตทโวจ ความว่า เพื่อจะตรัสบอกวิตกที่เกิดขึ้น ณ ที่ทำความเพียรของตนแก่ภิกษุสงฆ์ จึงตรัสคำมีอาทิว่า ปุพฺพาหํ ภิกฺขเว. บทว่า โอกาสํ ได้แก่ แสงสว่างแหงทิพยจักขุญาณ. บทว่า ญาณทสฺสนํ ได้แก่ ทัสสนะกล่าวคือ ญาณอันเป็นทิพยจักษุ. บทว่า สนฺนิวุฏฺปุพฺพํ แปลว่า เคยอยู่ร่วมกัน. แต่ในพระสูตรนี้ ญาณ ๘ นี้เท่านั้นมาเฉพาะในพระบาลีก่อน คือ ทิพยจักขุญาณ อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณ ปัจจุปปันนังสญาณ อตีตังสญาณ ปุพเพนิวาสญาณ. แต่ตรัสรวม ญาณ ๘ นั้น ย่อมเป็นอันชื่อว่าตรัสพระสูตรนี้ ด้วยประการฉะนี้.

จบ อรรถกถาคยาสีสสูตรที่ ๔