พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๔. ปฐม - ทุติยโวหารสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  2 พ.ย. 2564
หมายเลข  39631
อ่าน  338

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 609

วรรคที่ไม่ได้สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

จาลวรรคที่ ๒

๑๔. ปฐมโวหารสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 609

๑๔. ปฐมโวหารสูตร

[๑๖๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนริยโวหาร ๘ ประการนี้ ๘ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้พูดในสิ่งไม่ได้เห็นว่าได้เห็น ๑ ในสิ่งที่ไม่ได้ฟังว่าได้ฟัง ๑ ในสิ่งที่ไม่ได้ทราบว่าได้ทราบ ๑ ในสิ่ง ที่ไม่ได้รู้ว่าได้รู้ ๑ ในสิ่งที่ได้เห็นว่าไม่ได้เห็น ๑ ในสิ่งที่ได้ฟังว่า ไม่ได้ฟัง ๑ ในสิ่งที่ได้ทราบว่าไม่ได้ทราบ ๑ ในสิ่งที่ได้รู้ว่าไม่ได้ รู้ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนริยโวหาร ๘ ประการนี้แล.

จบโวหารสูตรที่ ๑๔

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 610

๑๕. ทุติยโวหารสูตร

[๑๖๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยโวหาร ๘ ประการนี้ ๘ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้พูดในสิ่งที่ไม่ได้เห็นว่าไม่ได้เห็น ๑ ในสิ่งที่ไม่ได้ฟังว่าไม่ได้ฟัง ๑ ในสิ่งที่ไม่ได้ทราบว่าไม่ได้ทราบ ๑ ในสิ่งที่ไม่ได้รู้ว่าไม่ได้รู้ ๑ ในสิ่งที่ได้เห็นว่าได้เห็น ๑ ในสิ่งที่ได้ฟัง ว่าได้ฟัง ๑ ในสิ่งที่ได้ทราบว่าได้ทราบ ๑ ในสิ่งที่ได้รู้ว่าได้รู้ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยโวหาร ๘ ประการนี้แล.

จบ โวหารสูตรที่ ๑๕

อรรถกถาโวหารสูตรที่ ๗ - ๘

วิหารสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อนริยโวหารา ได้แก่ ถ้อยคำที่ไม่ใช่ของพระอริยะ คือ ถ้อยคำที่มีโทษ. บุคคละย่อมกล่าวโวหารถ้อยคำเหล่านั้น ด้วยเจตนา เหล่าใด คำว่า อนริยโวหารา นั้น เป็นชื่อของเจตนาเหล่านั้น.

สูตรที่ ๘ พึงทราบความโดยนัยตรงกันข้ามกับคำที่กล่าวแล้ว

จบ อรรถกาโวหารสูตรที่ ๗ - ๘