๑๖. ปริสสูตร
[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 611
วรรคที่ไม่ได้สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์
จาลวรรคที่ ๒
๑๖. ปริสสูตร
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 611
๑๖. ปริสสูตร
[๑๖๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๘ จำพวกนี้ ๘ จำพวก เป็นไฉน คือ บริษัทกษัตริย์ ๑ บริษัทพราหมณ์ ๑ บริษัทคฤหบดี ๑ บริษัทสมณะ ๑ บริษัทเทวดาชั้นจาตุมมหาราช ๑ บริษัทเทวดา ชั้นดาวดึงส์ ๑ บริษัทมาร ๑ บริษัทพรหม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเข้าไปหาบริษัทกษัตริย์หลายร้อยบริษัท ย่อมรู้ดีว่า แม้ในบริษัท นั้นเราเคยนั่งประชุมด้วย เคยสนทนาปราศรัยด้วย เคยสนทนาธรรม ด้วย ในบริษัทกษัตริย์นั้น กษัตริย์เหล่านั้นมีวรรณเช่นใด เราก็มี วรรณเช่นนั้น กษัตริย์เหล่านั้นมีเพียงเช่นใด เราก็มีเสียงเช่นนั้น เราชี้แจงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหารร่าเริงด้วยธรรมีกถา และเมื่อเรากำลังพูดอยู่ บริษัทกษัตริย์เหล่านั้นย่อมไม่รู้ ใครหนอนี่ เป็นเทวดาหรือมนุษย์พูดอยู่ ครั้นเราชี้แจงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้วหายไป เมื่อเราหายไปแล้ว กษัตริย์เหล่านั้นก็ไม่รู้ว่า ใครหนอนี้ เป็นเทวดาหรือมนุษย์ หายไปแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเข้าไปหาบริษัทพราหมณ์ หลายร้อยบริษัท ฯลฯ บริษัทคฤหบดี ฯลฯ บริษัทสมณะ ฯลฯ บริษัทเทวดาชั้นจาตุมมหาราช ฯลฯ บริษัทเทวดาชั้นดาวดึงส์ ฯลฯ บริษัทมาร ฯลฯ บริษัทพรหมหลายร้อย บริษัท ย่อมรู้ดีว่า แม้ ในนริษัทพรหมนั้น เราเคยนั่งประชุมด้วย เคยสนทนาปราศรัย ด้วย เคยสนทนาธรรมด้วย ในบริษัทพรหมนั้น พรหมเหล่านั้น มีวรรณเช่นใด เราก็มีวรรณเช่นนั้น พรหมเหล่านั้นมีเสียงเช่นใด เราก็มีเพียงเช่นนั้น เราชี้แจงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 612
อาจหาญร่าเริงด้วยธรรมีกถา และเมื่อเรากำลังพูดอยู่ พรหมเหล่านั้น ก็ไม่รู้ว่า ใครหนอนี่ เป็นเทวดาหรือมนุษย์พูดอยู่ ครั้นเราชี้แจงให้ เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้วหายไป และเมื่อเราหายไปแล้ว พรหมเหล่านั้นก็ไม่รู้ว่า ใครหนอนี่ เป็น เทวดาหรือมนุษย์หายไปแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๘ จำพวก นี้แล.
จบ ปริสสูตรที่ ๑๖
อรรถกถาปริสาสูตรที่ ๙
ปริสาสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ขตฺติยปริสา ได้แก่ ชุมนุม คือสมาคมแห่งขัตติยบริษัท. ในบททั้งปวงก็นัยนี้. บทว่า อเนกสตํ ขตฺติยปริสํ ความว่า ขัตติยบริษัทเช่น สมาคมแห่งพระเจ้าพิมพิสาร สมาคมแห่งพระญาติ และ สมาคมแห่งเจ้าลิจฉวีเป็นต้น การที่พระศาสดาเสด็จเข้าหาขัตติยบริษัทเป็นต้น แม้ในจักรวาลอื่น ก็ย่อมมีได้เหมือนกัน. บทว่า สลฺลปิตปุพฺพํ ได้แก่ เคยทำการเจรจาปราศรัย. บทว่า สากจฺฉา ความว่า แม้ธรรมสากัจฉาเราก็เคยเข้าสนทนา.
บทว่า ยาทิโก เต วณฺโณ ความว่า กษัตริย์เหล่านั้น เป็น คนผิวขาวก็มี เป็นคนผิวดำก็มี เป็นคนผิวสองสีก็มี พระศาสดามี พระฉวีวรรณดังทองอย่างเดียว. แต่คำนั้นตรัสอาศัยทรวดทรง. อนึ่ง เขาย่อมรู้จักกันว่าเป็นกษัตริย์ พราหมณ์เป็นต้น ก็ตรงทรวด ทรงของชนเหล่านั้นอย่างเดียวเท่านั้น แต่พระผู้มีพระภาคเจ้ามิใช่
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 613
เป็นเช่นกับพวกมิลักขะ ทั้งไม่ได้ทรงสรวมใส่กุณฑลแก้วมณี ประทับนั่งด้วยเพศแห่งพระพุทธเจ้านั่นแหละ. แต่ชนแม้เหล่านั้น ย่อมเห็นทรวดทรงว่าเหมือนตนไปทั้งนั้น บทว่า ยาทิสโก เตสํ สโร ความว่า ชนเหล่านั้น เป็นผู้มีเสียงห้วนก็มี เป็นผู้มีเสียงเหมือน เสียงแมวก็มี เป็นผู้มีเสียงเหมือนเสียงกาก็ดี (แต่) พระศาสดามี พระสุรเสียงดังเสียงพรหมอย่างเดียว. ก็คำนี้ตรัสหมายเอาภาษา อื่น. ก็แม้ถ้าพระศาสดาจะประทับนั่งตรัสอยู่บนราชอาสน์ใน ขัตติยบริษัทนั้นไซร้ กษัตริย์เหล่านั้น ก็จะมีความคิดว่า วันนี้ พระราชาตรัสด้วยพระสุรเสียงอันไพเราะ. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วเสด็จหลีกไปแล้ว กษัตริย์เหล่านั้นเห็นพระราชา เสด็จมาอีก จึงเกิดพิจารณาทบทวนขึ้นว่า ผู้นี้เป็นใครหนอ. บรรดา บทเหล่านั้น บทว่า โก นุ โข อยํ ความว่า กษัตริย์เหล่านั้นแม้ พิจารณาทบทวนอยู่อย่างนี้ว่า พระราชาพระองค์นี้คือใครหนอ เมื่อตรัสๆ โดยอาการอันนุ่มนวล ด้วยภาษามคธ ภาษาสีหฬในที่นี้ ในบัดนี้แหละก็หายตัวไปเสียแล้ว พระราชาพระองค์นี้ เป็นเทวดา หรือมนุษย์ดังนี้ ก็ไม่รู้จัก. ถามว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง ธรรมแก่ผู้ไม่รู้จักอย่างนี้ เพื่อประโยชน์อะไร? แก้ว่า เพื่อต้องการ ให้เป็นวาสนา (อปรมบารมี). พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงโดย หวังผลอนาคตอย่างนี้ว่า ก็ธรรมที่เขาสดับแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็น ปัจจัยในอนาคตทีเดียว. พึงทราบกำเนิดแห่งคำมีอาทิว่า อเนกสตํ พฺราหฺมณปริสํ ดังนี้. ด้วยอำนาจสมาคมแห่งโสณทัณฑพราหมณ์ เป็นต้น และด้วยอำนาจจักรวาลอื่น.
จบ อรรถกถาปริสสูตรที่ ๙