พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. ปฐมปฏิปทาสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  2 พ.ย. 2564
หมายเลข  39635
อ่าน  356

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 630

วรรคที่ไม่ได้สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

ยกมวรรคที่ ๓

๑. ปฐมปฏิปทาสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 630

ยกมวรรคที่ ๓

๑. ปฐมปฏิปทาสูตร

[๑๖๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา ไม่มีศีล อย่างนี้ เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น เธอพึงบำเพ็ญองค์ นั้นให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า อย่างไรหนอ เราพึงเป็นผู้มีศรัทธาและ มีศีล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธาและมีศีล เมื่อนั้น เธอชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น ก็ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล แต่ไม่เป็นพหูสูต อย่างนี้ เธอชื้อว่าเป็น ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า อย่างไรหนอ เราพึงเป็นผู้มีศรัทธา มีศีลและเป็นพหูสูต เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา มีศีลและเป็นพหูสูต เมื่อนั้น เธอชื่อว่าเป็น ผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา มีศีลและเป็นพหูสูต แต่ไม่เป็นธรรมกถึก ฯลฯ และเป็นธรรมกถึก แต่ไม่เข้าสู่บริษัท ฯลฯ และเข้าสู่บริษัทได้ แต่ไม่แกล้วกล้าแสดง ธรรมแก่บริษัท ฯลฯ และแกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท แต่ไม่ได้ ตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีใน จิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ฯลฯ เป็นผู้ได้ตามความ ปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็น เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน แต่ไม่ได้ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติอันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญา อันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ อย่างนี้ เธอชื่อว่าเป็นผู้ยังไม่บริบูรณ์

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 631

ด้วยองค์นั้น เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า อย่างไรหนอ เราพึงเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก เข้าสู่บริษัท ได้ แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท เป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่ เป็นสุขในปัจจุบัน พึงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหา อาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองใน ปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุเป็นผู้มี ศรัทธา มีศีล เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก เข้าสู่บริษัทได้ แกล้วกล้า แสดงธรรมแก่บริษัท เป็นผู้ได้ตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะ ทั้งหลานสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ เมื่อนั้น เธอชื่อว่า เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ก่อให้เกิดความ เลื่อมใสโดยรอบ และเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง.

จบ ปฐมปฏิปทาสูตรที่ ๑

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 632

ยมกวรรควรรณนาที่ ๓

อรรถกถาปฐมปฏิปทาสูตรที่ ๑

วรรคที่ ๘ ปฏิปทาสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-

บทว่า โน จ สีลวา ได้แก่ ผู้ไม่ทำให้บริบูรณ์ในศีล. บทว่า สมนฺตปาสาทิโก แปลว่า ให้เกิดความเลื่อมใสรอบด้าน. บทว่า สพฺพาการปริปูโร ได้แก่ บริบูรณ์ด้วยอาการของสมณะ คือด้วย ส่วนแห่งสมณธรรมทุกอย่าง.

จบ อรรถกถาปฐมปฏิปทาสูตรที่ ๑