พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. ทุติยปฏิปทาสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  3 พ.ย. 2564
หมายเลข  39637
อ่าน  386

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 633

วรรคที่ไม่ได้สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

ยกมวรรคที่ ๓

๒. ทุติยปฏิปทาสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 633

๒. ทุติยปฏิปทาสูตร

[๑๖๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา แต่ไม่มีศีล อย่างนี้ เธอชื่อว่าเป็นผู้ยังไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น เธอพึงบำเพ็ญ องค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า อย่างไรหนอ เราพึงเป็นผู้มีศรัทธา และมีศีล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธาและ ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล แต่ไม่เป็นพหูสูต ฯลฯ เป็นพหูสูต แต่ไม่ เป็นธรรมกถึก ฯลฯ เป็นธรรมกถึก แต่ไม่เข้าสู่บริษัท ฯลฯ เข้าสู่ บริษัทได้ แต่ไม่แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท ฯลฯ แกล้วกล้า แสดงธรรมแก่บริษัท และถูกต้องวิโมกข์อันสงบ ไม่มีรูป เพราะ ล่วงรูปเสียได้ ด้วยนามกาย แต่ไม่กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วย ปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ อย่างนี้ เธอชื่อว่ายังเป็น ผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า อย่างไรหนอ เราพึงมีศรัทธา มีศีล เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก เข้าสู่บริษัทได้ แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท และพึงถูกต้อง วิโมกข์อันสงบ ไม่มีรูป เพราะล่วงรูปเสียได้ด้วยนามกาย พึงกระทำ ให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราอาสวะ ทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึกเข้าสู่บริษัทได้ แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 634

และถูกต้องวิโมกข์อันสงบ ไม่มีรูป เพราะล่วงรูปเสียได้ ด้วย นามกาย ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้า ถึงอยู่ เมื่อนั้น เธอชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล เป็นผู้ให้ก่อเกิด ความเลื่อมใสโดยรอบ และบริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง.

จบ ทุติยปฏิปทาสูตรที่ ๒

อรรถกถาทุติยปฏิปทาสูตรที่ ๒

ทุติยปฏิปทาสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-

บทว่า สนฺตา ความว่า ชื่อว่าสงบ เพราะสงบจากธรรม อันเป็นข้าศึก. บทว่า วิโมกฺขา ความว่า และชื่อว่าวิโมกข์ เพราะ หลุดพ้นจากธรรมอันเป็นข้าศึก.

จบ อรรถกถาทุติยปฏิปทาสูตรที่ ๒