อุบาสกแก้ว อุบาสกปทุม อุบาสกบุณฑริก [จัณฑาลสูตร]

 
webdh
วันที่  10 มิ.ย. 2550
หมายเลข  3964
อ่าน  2,240

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 373 ข้อความบางตอนจาก จัณฑาลสูตร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นอุบาสกแก้ว อุบาสกปทุม อุบาสกบุณฑริก ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน? คือ อุบาสกย่อมเป็นผู้มีศรัทธา ๑ เป็นผู้มีศีล ๑ เป็นผู้ไม่ถือมงคลตื่นข่าวเชื่อกรรมไม่เชื่อมงคล ๑ ไม่แสวงหาเขตบุญภายนอกศาสนานี้ ๑ ทำการสนับสนุนในศาสนานี้ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นอุบาสกแก้ว อุบาสกปทุม อุบาสกบุณฑริก.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 11 มิ.ย. 2550
ขออนุโมทนา
 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 11 มิ.ย. 2550

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 80 ๙. หานิสูตร

[๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่อุบาสก ๗ ประการเป็นไฉน คือ อุบาสกขาดการเยี่ยมเยียนภิกษุ ๑ ละเลยการฟังธรรม ๑ ไม่ศึกษาในอธิศีล ๑ ไม่มากด้วยความเลื่อมใสในภิกษุทั้งที่เป็นเถระ ทั้งเป็นผู้ใหม่ทั้งปานกลาง ๑ ตั้งจิตติเตียนคอยเพ่งโทษฟังธรรม ๑ แสวงหาเขตบุญภายนอกศาสนานี้ ๑ ทำสักการะก่อนในเขตบุญภายนอกศาสนานี้ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่อุบาสก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่อุบาสก ๗ ประการเป็นไฉน คือ อุบาสกไม่ขาดการเยี่ยมเยียนภิกษุ ๑ ไม่ละเลยการฟังธรรม ๑ ศึกษาในอธิศีล ๑ มากด้วยความเลื่อมใสในภิกษุทั้งที่เป็นเถระทั้งเป็นผู้ใหม่ ทั้งปานกลาง ๑ ไม่ตั้งจิตติเตียน ไม่คอยเพ่งโทษฟังธรรม ๑ ไม่แสวงหาเขตบุญภายนอก ๑ กระทำสักการะก่อนในเขตบุญในศาสนานี้ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่อุบาสก.

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
พุทธรักษา
วันที่ 13 มิ.ย. 2550
กรุณาขยายความ การเยี่ยมเยียนภิกษุ และถ้าภิกษุประพฤติไม่เหมาะสม (คุยโทรศัพท์มือถือขณะกำลังจะสวด) ควรพิจารนาอย่างไร
 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
study
วันที่ 13 มิ.ย. 2550

การเยี่ยมเยียนภิกษุ หมายถึง ในสมัยครั้งพุทธกาลพระภิกษุผู้ทรงคุณธรรม สมบูรณ์ด้วยศีล เป็นพหูสูตร ได้สดับพระธรรมมามาก มีปัญญา ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม การเข้าไปหาพระภิกษุที่มีคุณธรรมดังกล่าวย่อมได้ฟังพระสัทธรรม ทำให้จิตสงบจากกิเลส

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
udomjit
วันที่ 18 มิ.ย. 2550

เชื่อกรรมนั้นเข้าใจค่ะ แต่ไม่ให้เชื่อมงคลหมายความว่าอย่างไรค่ะ แล้วมงคลสูตรล่ะค่ะ สับสนค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
study
วันที่ 19 มิ.ย. 2550
ข้อความเต็มคือ เป็นผู้ไม่ถือมงคลตื่นข่าวเชื่อกรรมไม่เชื่อมงคล ฉะนั้นคำว่าไม่เชื่อมงคลในที่นี้หมายถึง ไม่เชื่อมงคลตื่นข่าว ที่ปุถุชนผู้เขลา สมมติกันว่าเป็นมงคล เช่นเชื่อว่า การเห็นสิ่งดีๆ เป็นมงคล เชื่อว่ามีชื่อดีเป็นมงคล เป็นต้น
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
udomjit
วันที่ 20 มิ.ย. 2550

ขอบคุณค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ