พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. - ๖. ปัญจม - ฉัฏฐปฏิปทาสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  3 พ.ย. 2564
หมายเลข  39640
อ่าน  347

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 644

วรรคที่ไม่ได้สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

ยกมวรรคที่ ๓

๕. ปัญจมปฏิปทาสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 644

๕. ปัญจมปฏิปทาสูตร

[๑๗๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๘ ประการนี้ ๘ ประการเป็นไฉน คือ อุฏฐานสัมปทา ๑ อารักขสัมปทา ๑ กัลยาณมิตตตา ๑ สมชีวิตา ๑ สัทธาสัมปทา ๑ ศีลสัมปทา ๑ จาคสัมปทา ๑ ปัญญาสัมปทา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๘ ประการนี้แล.

คนหมั่นในการทำงาน ไม่ประมาท จัด การงานเหมะสม เลี้ยงชีพพอเหมาะ รักษาทรัพย์ ที่หามาได้ มีศรัทธา ถึงพร้อมด้วยศีล รู้ถ้อยคำ ปราศจากความตระหนี่ ชำระทางสัมปรายิกัตถประโยชน์เป็นนิตย์ ธรรม ๘ ประการดังกล่าวนี้ ของผู้ครองเรือน ผู้มีศรัทธา อันพระพุทธเจ้า ผู้มีพระนามอันแท้จริง ตรัสว่านำสุขมาให้ใน โลกทั้งสอง คือ ประโยชน์ในปัจจุบันนี้และความ สุขในภายหน้า บุญ คือ จาคะนี้ ย่อมเจริญแก่ คฤหัสถ์ ด้วยประการฉะนี้.

จบ ปฏิปทาสูตรที่ ๕

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 645

๖. ฉัฏฐปฏิปทาสูตร

[๑๗๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๘ ประการนี้ ๘ ประการเป็นไฉน คือ อุฏฐานสัปทา ๑ อารักขสัมปทา ๑ กัลยาณมิตตตา ๑ สมชีวิตา ๑ สัทธาสัมปทา ๑ สีลสัมปทา ๑ จาคสัมปทา ๑ ปัญญาสัมปทา ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อุฏฐานสัมปทาเป็นไฉน กุลบุตรในโลก นี้ เลี้ยงชีพด้วยความหมั่นประกอบการงาน คือ กสิกรรม พาณิชยกรรม โครักขกรรม รับราชการฝ่ายทหาร รับราชการฝ่ายพลเรือน หรือศิลปอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้านในการงานนั้น ประกอบด้วยปัญญาเครื่องสอดส่อง อันเป็นอุบายในการงานนั้น สามารถจัดทำได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอุฏฐานสัมปทา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อารักขสัมปทาเป็นไฉน กุลบุตรในโลก นี้ มีโภคะที่หามาได้ด้วยความเพียร สั่งสมด้วยกำลังแขน มี เหงื่อไหลโทรมตัว ชอบธรรม ได้มาโดยธรรม เขารักษาคุ้มครอง โภคทรัพย์เหล่านั้นไว้ได้พร้อมมูล ด้วยทำไว้ในใจว่า ไฉนหนอ พระราชาไม่พึงริบโภคทรัพย์เหล่านี้ของเรา โจรไม่พึงลัก ไฟไม่ พึงไหม้ น้ำไม่พึงพัดไป ทายาทผู้ไม่เป็นที่รักไม่พึงลักไป ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอารักขสัมปทา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กัลยาณมิตตตาเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย กุลบุตรในโลกนี้ อยู่อาศัยในบ้านหรือนิคมใด ย่อมดำรง ตนเจรจาสั่งสนทนากับบุคคลในบ้านหรือนิคมนั้น ซึ่งเป็นคฤหบดี

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 646

หรือบุตรคฤหบดี เป็นคนหนุ่มหรือคนแก่ ผู้มีสมาจารบริสุทธิ์ ผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา ศึกษาสัทธาสัมปทา ตามผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ศึกษาศีลสัมปทาตามผู้ถึงพร้อมด้วย ศีล ศึกษาจาคสัมปทาตามผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ ศึกษาปัญญาสัมปทา ตามผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า กัลยาณมิตตตา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมชีวิตาเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรในโลกนี้ รู้ทางเจริญแห่งโภคะ และรู้ทางเสื่อมแห่งโภคะ แล้วเลี้ยงชีพพอเหมาะ ไม่ให้ฟูมฟายนัก ไม่ให้ฝืดเคืองนักด้วยคิดว่า รายได้ของเราจักต้องเหนือรายจ่าย และรายจ่ายของเราจักต้อง ไม่เหนือรายได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนคนชั่งตาชั่ง หรือลูกมือชั่งตาชั่ง ยกตาชั่งขึ้นแล้วย่อมรู้ว่า ต้องลดออกเท่านี้ หรือต้องเพิ่มเข้าเท่านี้ ฉันใด กุลบุตรก็ฉันนั้นเหมือนกัน รู้ทางเจริญ แห่งโภคะ และรู้ทางเสื่อมแห่งโภคะแล้ว เลี้ยงชีพพอเหมาะ ไม่ให้ ฟูมฟายนัก ไม่ให้ฝืดเคืองนัก ด้วยคิดว่า รายได้ของเราจักต้อง เหนือรายจ่าย และรายจ่ายของเราจักต้องไม่เหนือรายได้ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ถ้ากุลบุตรผู้มีรายได้น้อย แต่เลี้ยงชีวิตอย่างโอ่โถง จะมีผู้มีว่าเขาได้ว่า กุลบุตรผู้นี้ ใช้โภคะเหมือนคนเคี้ยวกินผลมะเดื่อ ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้ากุลบุตรผู้มีรายได้มาก แต่เลี้ยงชีพ อย่างฝืดเคือง จะมีผู้ว่าเขาว่ากุลบุตรผู้นี้จักตายอย่างอนาถา แต่ เพราะกุลบุตรผู้นี้รู้ทางเจริญแห่งโภคะ และรู้ทางเสื่อมแห่งโภคะ แล้ว เลี้ยงชีพพอเหมาะ ไม่ให้ฟูมฟายนัก ไม่ให้ฝืดเคืองนัก ด้วยคิดว่า

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 647

รายได้ของเราจักต้องเหนือรายจ่าย และรายจ่ายของเราจักต้อง ไม่เหนือรายได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าสมชีวิตา. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัทธาสัมปทาเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้ มีศรัทธาคือ เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะ เหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็น ผู้จำแนกธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าสัทธาสัมปทา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ศีลสัมปทาเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้ เป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาติ ฯลฯ เป็นผู้งดเว้นจาการดื่มนำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นฐานะแห่งความประมาท ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าศีลสัมปทา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็จาคสัมปทาเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้ มีจิตปราศจากมลทิน คือ ความตระหนี่ อยู่ครองเรือน ฯลฯ ควรแก่ การขอ ยินดีในการจำแนกทาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า จาคสัมปทา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ปัญญาสัมปทาเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้ เป็นผู้มีปัญญา ฯลฯ ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าปัญญาสัมปทา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๘ ประการ นี้แล.

คนหมั่นในการทำงาน ไม่ประมาท จัด การงานเหมาะสม เลี้ยงชีพพอเหมาะ ตามรักษา ทรัพย์ที่หามาได้ มีศรัทธา ถึงพร้อมด้วยศีล รู้ ถ้อยคำ ปราศจากความตระหนี่ ชำระทางสัม-

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 648

ปรายิกัตถประโยชน์เป็นนิตย์ ธรรม ๘ ประการ ดังกล่าวนี้ ของผู้ครองเรือน ผู้มีศรัทธา อันพระพุทธเจ้าผู้มีพระนามอันแท้จริง ตรัสว่านำสุขมา ให้ในโลกทั้งสอง คือ ประโยชน์ในปัจจุบันนี้และ ความสุขในภายหน้า บุญ คือ จาคะนี้ ย่อมเจริญ แก่คฤหัสถ์ด้วยประการฉะนี้.

จบ ฉัฏฐปฏิปทาสูตรที่ ๖

อรรถกถาปฏิปทาสูตรที่ ๔ - ๖

จตุตถปฏิปทาสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-

บทว่า ปฏิหิตาย ได้แก่ เมื่อราตรีดำเนินไป บทว่า โส มมสฺสนฺตาโย ความว่า อันตรายแห่งชีวิตนั้นพึงมีแก่เรา คือ ทั้ง อันตรายต่อสวรรค์ ทั้งอันตรายต่อมรรค พึงมีแก่เราผู้ทำกาลกิริยา เยี่ยงปุถุชน. บทว่า สตฺถกา วา เม วาตา ความว่า ลมชื่อว่า มีพิษ ดังศาตรา เพราะตัดอวัยวะน้อยใหญ่เหมือนศาตรา. สูตรที่ ๕ เป็นต้น มีนัยดังกล่าวแล้วแล.

จบ อรรถกถาปฏิปทาสูตรที่ ๔ - ๕ - ๖