พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. - ๑๕. ปฐม - ทุติย - ตติย - จตุตถ - ปํญจม - ฉัฏฐ - สัตตม - อัฏฐมลัจฉาสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  3 พ.ย. 2564
หมายเลข  39643
อ่าน  352

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 652

วรรคที่ไม่ได้สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

ยกมวรรคที่ ๓

๘. - ๑๕. ปฐม - ทุติย - ตติย - จตุตถ - ปํญจม - ฉัฏฐ - สัตตม - อัฏฐมลัจฉาสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 652

๘. ปฐมลัจฉาสูตร

[๑๗๕] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลาย ฯลฯดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตนและผู้อื่น ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในธรรม วินัยนี้ เป็นผู้มีความเข้าใจเร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ๑ เป็นผู้ทรง จำธรรมที่ได้ฟังแล้ว ๑ พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำแล้ว รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑ เป็นผู้มีวาจางาม กล่าวถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาของชาวเมืองอันสละสลวย ไม่มีโทษ ให้รู้ประโยชน์ ๑ เป็นผู้ชีแจงพรหมจารีให้เห็นแจ้งแล้ว ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ร่าเริง ๑ ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุ ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตนและผู้อื่น.

จบ ลัจฉาสูตรที่ ๘

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 653

๙. ทุติยลัจฉาสูตร

[๑๗๖] ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน และผู้อื่น ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่มีความเข้าใจได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นผู้ทรงจำธรรมที่ได้ฟังแล้ว ๑ พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ได้ ทรงจำแล้ว ๑ รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑ เป็นผู้มีวาจางาม กล่าวถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาของ ชาวเมืองอันสละสลวย ไม่มีโทษ ให้รูปประโยชน์ ๑ เป็นผู้ชี้แจง สพรหมจารีให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ร่าเริง ๒ ดูก่อน อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็น ผู้สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตนและผู้อื่น.

จบ ลัจฉาสูตรที่ ๙

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 654

๑๐. ตติยลัจฉาสูตร

[๑๗๗] ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน แต่ไม่สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็น ผู้มีความเข้าใจได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ๑ เป็นผู้ทรงจำธรรม ที่ได้ฟังแล้ว ๑ พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ได้ทรงจำแล้ว ๑ รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑ หาเป็นผู้มีวาจา งามกล่าวถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาของชาวเมืองอันสละสลวย ไม่มีโทษ ให้รู้ประโยชน์ไม่ หาชี้แจงสพรหมจารีให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ร่าเริงไม่ ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุ ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน แต่ไม่สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์ เกื้อกูลแก่ผู้อื่น.

จบ ตติยลัจฉาสูตรที่ ๑๐

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 655

๑๑. จตุตถลัจฉาสูตร

[๑๗๘] ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น แต่ไม่สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็น ผู้มีความเข้าใจเร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ๑ เป็นผู้ทรงจำธรรมที่ ได้ฟังแล้ว ๑ แต่ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ได้ทรงจำไว้ หารู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่ เป็นผู้มีวาจา งามกล่าวถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาของชาวเมืองอัน สละสลวย ไม่มีโทษ ให้รู้ประโยชน์ ๑ เป็นผู้ชี้แจงสพรหมจารี ให้เห็นแจ้ง ให้สมทาน ให้อาจหาญ ร่าเริง ๑ ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นผู้สามารถในอัน ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น แต่ไม่สามารถในอันปฏิบัติ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน.

จบ จตุตถลลัจฉาสูตรที่ ๑๑

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 656

๑๒. ปัญจมลัจฉาสูตร

[๑๗๙] ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน แต่ไม่สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่เป็น ผู้มีความเข้าใจได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นผู้ทรงจำธรรม ที่ได้ฟังแล้ว ๑ พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ได้ทรงจำไว้แล้ว ๑ รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑ หาเป็นผู้มีวาจา งาม กล่าวถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาของชาวเมืองอัน สละสลวย ไม่มีโทษ ให้รู้ประโยชน์ไม่ และหาชี้แจงสพรหมจารี ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ร่าเริงไม่ ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๑ ประการนี้แล เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน แต่ไม่สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์ เกื้อกูลแก่ผู้อื่น.

จบ ปัญจมลัจฉาสูตรที่ ๑๒

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 657

๑๓. ฉัฏฐลัจฉาสูตร

[๑๘๐] ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น แต่ไม่สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ เป็นผู้มีความเข้าใจเร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นผู้ทรงจำธรรม ที่ได้ฟังแล้ว ๑ ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ได้ทรงจำไว้แล้ว หารู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่ เป็นผู้มีวาจา งามกล่าวถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาของชาวเมืองอัน สละสลวย ไม่มีโทษ ให้รู้ประโยชน์ ๑ ชี้แจงสพรหมจารีให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ร่าเริง ๑ ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุ ผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น แต่ไม่สามารถในอันปฏิบัติเพื่อ ประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน.

จบ ฉัฏฐลัจฉาสูตรที่ ๑๓

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 658

๑๔. สัตตมลัจฉาสูตร

[๑๘๑] ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน แต่ไม่สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น ธรรม ๒ ประการเป็นไฉน ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ เป็นผู้มีความเข้าใจได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่เป็นผู้ทรงจำ ธรรมที่ได้ฟังแล้ว แต่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ได้ทรงจำแล้ว รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑ ไม่เป็นผู้มี วาจางาม กล่าวถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาของชาวเมืองอัน สละสลวย ไม่มีโทษ ให้รู้ประโยชน์ ไม่ชี้แจงสพรหมจารีให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ร่าเริง ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุประกอบ ด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์ เกื้อกูลแก่ตน แต่ไม่สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูล แก่ผู้อื่น.

จบ สัตตมลัจฉาสูตรที่ ๑๔

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 659

๑๕. อัฏฐมลัจฉาสูตร

[๑๘๒] ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติเธอประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น แต่ไม่สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน ธรรม ๒ ประการเป็นไฉน ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ เป็นผู้มีความเข้าใจได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่เป็นผู้ทรงจำ ธรรมที่ได้ฟังแล้ว ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ได้ทรงจำไว้แล้ว หารู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่ เป็นผู้มีวาจา งาม กล่าวถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาของชาวเมืองอัน สละสลวย ไม่มีโทษ ให้รู้ประโยชน์ ๑ ชี้แจงสพรหมจารีให้เห็น แจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ร่าเริง ๑ ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล เป็นผู้สามารถในอัน ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น แต่ไม่สามารถในอันปฏิบัติ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน.

จบ อัฏฐมลัจฉาสูตรที่ ๑๕