๑๙. อารัพภวัตถุสูตร
[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 665
วรรคที่ไม่ได้สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์
ยกมวรรคที่ ๓
๑๙. อารัพภวัตถุสูตร
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 665
๑๙. อารัพภวัตถุสูตร
[๑๘๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อารัพภวัตถุ ๘ ประการนี้ ๘ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องทำการงาน เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจักต้องทำการงานแล ก็เมื่อเราทำการงานอยู่ ไม่พึงทำมนสิการคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ทั้งหลายได้ง่าย ผิฉะนั้น เราจะรีบปรารภความเพียรเสียก่อน เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้ง ธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง เธอปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นอารัพภวัตถุประการที่ ๑.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุทำการงานแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราได้ทำการงานแล้ว ก็เมื่อเราทำการงานอยู่ ไม่สามารถมนสิการ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ ผิฉะนั้น เราจะปรารภความ เพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อ ทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง เธอปรารภความเพียร เพื่อถึง ธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรม ที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นอารัพภวัตถุประการที่ ๒.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุต้องเดินทาง เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจักต้องเดินทาง ก็เมื่อเราเดินทางอยู่ ไม่พึงกระทำมนสิการ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ง่าย ผิฉะนั้น เราจะปรารภ ความเพียร ฯลฯ นี้เป็นอารัพภวัตถุประการที่ ๓.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 666
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเดินทางแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราได้เดินทางแล้ว ก็เมื่อเราเดินทางอยู่ ไม่สามารถมนสิการ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ ผิฉะนั้น เราจะปรารภความ เพียร ฯลฯ นี้เป็นอารัพภวัตถุประการที่ ๔.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามบ้านหรือนิคม ไม่ได้โภชนะเศร้าหมองหรือประณีต พอแก่ความต้องการ เธอมี ความคิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยวบิณฑบาตตามบ้านหรือนิคม ไม่ได้ โภชนะเศร้าหมองหรือประณีต พอแก่ความต้องการ กายของเรา นั้นเบาควรแก่การงาน ผิฉะนั้น เราจะปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นอารัพภวัตถุประการที่ ๖.
อีกประการหนึ่ง อาพาธเล็กน้อยเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เธอมีความ คิดอย่างนี้ว่า อาพาธเล็กน้อยนี้เกิดขึ้นแก่เรา การที่อาพาธของเรา จะพึงกลับกำเริบนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ผิฉะนั้น เราจะปรารภ ความเพียร ฯลฯ นี้เป็นอารัพภวัตถุประการที่ ๗.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุหายจากอาพาธแล้ว แต่ยังหายไม่นาน เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราหายจากอาพาธแล้ว แต่ยังหายไม่นาน การที่อาการของเราจะพึงกลับกำเริบนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ผิฉะนั้น จะรีบปรารภความเพียรเสียก่อน เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุ ธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อกระทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง เธอปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 667
ยังไม่บรรลุ. เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นอารัพภวัตถุ ประการที่ ๘ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอารัพภวัตถุ ประการนี้แล.
จบ อารัพภวัตถุสูตรที่ ๑๙
อรรถกถากุสีตารพภวัถุสูตรที่ ๑๐
กุสีตารัพภวัตถุสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-
บทว่า กุสีตวตฺถูนิ ได้แก่ วัตถุคือที่ตั้งแห่งคนเกียจคร้าน คือ คนขี้เกียจ อธิบายว่า เหตุแห่งความเกียจคร้าน. บทว่า กมฺมํ กตฺตพฺพํ โหติ ได้แก่ จำต้องทำงานมีการกะจีวรเป็นต้น. บทว่า น วีริยํ อารภติ ได้แก่ ไม่ปรารภความเพียรทั้ง ๒ อย่าง. บทว่า อปฺปตฺตสฺส ได้แก่ เพื่อถึงธรรม คือ ฌาน วิปัสสนา มรรค และผล ที่ยังไม่ถึง. บทว่า อนธิคตสฺส ได้แก่ เพื่อบรรลุธรรม คือฌาน เป็นต้น นั้นนั่นแหละที่ยังไม่บรรลุ. บทว่า อสจฺฉิกตสฺส ได้แก่ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรม คือฌานเป็นต้นนั้นนั่นแหละ ที่ยังไม่ได้ทำ ให้แจ้ง บทว่า อิทํ ปนํ ความว่า การท้อถอยอย่างนี้ว่า เอาเถิด เราจะนอน นี้เป็นกุสีตวัตถุเหตุแห่งความเกียจคร้านข้อที่ ๑. พึง ทราบความในทุกบทโดยนัยนี้. ก็ในบทว่า มาสาจิตํ มญฺเ นี้มี วินิจฉัยต่อไปนี้. ชื่อว่าจิตที่หลง เปรียบเหมือนถั่วราชมาสที่ชุ่มน้ำ อธิบายว่า ถั่วราชมาสที่ชุ่มน้ำเป็นของหนักฉันใด ภิกษุก็เป็น ผู้หนักฉันนั้น. บทว่า คิลานา วฏฺิโต โหติ ความว่า ภิกษุเป็นไข้ ภายหลังหายไข้แล้ว.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 668
บทว่า อารพฺภวตฺภูนิ ได้แก่ เหตุแห่งความเพียร. พึงทราบ ความแห่งเหตุของความเพียรแม้นั้นโดยนัยนี้. คำที่เหลือในทุกบท ง่ายทั้งนั้นแล.
จบ อรรถกถากุสีตวัตถุสูตรที่ ๑๘ อารัพภวัตถุสูตรที่ ๑๙
จบ อรรถกถากุสีตารัพภวตถุสูตรที่ ๑๐
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปฏิปทาสูตร ๖ สูตร ๒. อิจฉาสูตร ๓. ลัจฉาสูตร ๘ สูตร ๔. ปริหานสูตร ๕. อปริหานสูตร ๖. กุสีตวตถุสูตร ๗. อารัพภวัตถุสูตร และอรรถกถา
จบ ยมวรรคที่ ๘